หน้าที่ของครูคือการเรียนรู้ตลอดชีวิต


คนเราต้องหมั่นลับความคิดให้เฉียบคมเสมอ

" เก็บอะไรใส่ชีวิตหนอคนกล้า
เก็บความเหว่ว้าเดียวดายกลางสายฝน
เก็บความหวังความฝันมาใส่ตน
เก็บมาเติมความเข้มให้เต็มคน"

  (ดัดแปลงจากกลอนที่เพื่อนคนหนึ่งบอกให้ฟังว่าเป็นกลอนของพี่จุ้ย ศุ บุญเลี้ยง)  ใครรู้มาเขียมกลอนที่ถูกให้ฟังด้วยนะครับ

วันนี้มีเรื่องประทับใจมากมาเล่าสู่กันฟัง ขณะที่ผมกำลังพักจากการออกข้อสอบไปซื้อกาแฟร้านโปรด(กาแฟลุงแจ่ม)มาดื่มที่ใต้ถุน(สวนใหม่)คณะนิติศาสตร์นั้น ผมก็พบกับอาจารย์ใหม่รุ่นน้องท่านหนึ่ง คือท่านอาจารย์ยอดพลกำลังคุยกับนิสิตอยู่ เรื่องการเรียนการสอน ผมก็เลยไปร่วมวงด้วย อาจารย์ยอดเล่าให้ฟังว่า วิธีการสอนของอาจารย์นั้นท่านใช้วิธีให้งานนิสิตมาฝึกหัดเขียนทุกคาบเรียน โดยเฉพาะนิสิตนอกคณะทั้งนี้เพื่อฝึกทักษะให้นิสิตเขียนเป็นและ จะได้ไม่เสียอารมณ์เวลาตรวจข้อสอบเพราะนิสิตได้ 0 ตลอดจนนิสิตมีทักษะในการเขียนติดตัวไปใช้ในวิชาอื่นด้วย ... อืม นับถือ นับถือ   
จากการฟังที่ท่านเล่าแล้ว ผมคิดว่าท่านเป็นอาจารย์ที่ดูแลลูกศิษย์ดีมาก

อีกอย่างหนึ่งท่านเล่าให้ฟังว่าท่านสอนรายวิชาความรู้เบื้องต้นกฎหมายทั่วไปให้กับนิสิตจิตตวิทยา ก่อนสอนท่านก็ไปเอาเอกสารประกอบคำสอนของนิสิตมาอ่านก่อน  แล้วก็โยงเรื่องแนวคิดทางจิตตวิทยาโดยเฉพาะ เรื่อง INSTINCTของซิกมัน ฟรอยด์ มาผูกกับเรื่องแนวคิดกฎหมายธรรมชาติที่ว่า กฎหมายนั้นคือเหตุผลที่ถูกต้อง ซึ่งแนวคิดหนึ่งของกฎหมายธรรมชาติก็เชื่อว่า เหตุผลที่ถูกต้องนี้มาจากจิตใจที่เป็น มโนธรรม (Super EGO)ของเรานี่อง  ไอ้ตรงที่ขีดเส้นนี้ผมได้จากการคุยกับอาจารย์รุ่นน้องอีกท่าน คือท่านอาจารย์สุดา  หวังสู่วัฒนา  อืม....  ล้ำลึก ล้ำลึก

โดยส่วนตัวผมเป็นคนที่ชอบคุยกับคนอื่นอยู่แล้วโดยเฉพาะผู้รู้คนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม  แต่เหตุการณ์นี้ช่วยเตือนให้ผมทราบว่า
1. ถ้าเราพยายามละอัตตาในตนแล้ว  ฟังคนทุกคนไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ เราก็จะมีความรู้เพิ่มมากขึ้น และได้เห็นมุมมองอะไรที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนด้วย  คนเรายิ่งโตเป็นผู้ใหญ่ ยิ่งไม่มีใครเตือนต้องอาศัยเราเตือนตัวเราอง และดูแนวปฏิบัติคนอื่นๆ มาปรับปรุงตัวเรา 
2. สมองคนนั้นต้องได้รับการดูแลใส่ข้อมูลดีๆ เข้าไปเสมอจะช่วยให้เราเกิดความคิดดีๆ  เคยมีพี่ๆ ที่นับถือกันส่งPower Point มาให้เป็นเรื่องเกี่ยวกับชายตัดฟืน เนื้อความมีคร่าวๆว่า
    ชายตัดฟืนเดินไปสมัครทำงานกับเจ้าของร้านขายฟืน เจ้าของร้านก็รับไว้ และชายตัดฟืนก็ทำงานอย่างขยันขันแข็ง วันแรกชายตัดฟืนตัดไม้(ทำลายสภาพแวดล้อม 555)  ได้ 10 ต้นใหญ่ และได้รับคำชมเชยจากเจ้าของร้านมาก  อาทิตย์ถัดมาชายตัดฟืนก็ยังทำงานอย่างขยันขันแข็งเช่นเดิม  แต่กลับปรากฏว่า เขาตัดต้นไม้ได้เพียง 9 ต้นต่อวัน  ชายตัดฟืนงงมาก พร้อมสัญญากับตนเองว่าอาทิตย์ถัดไปจะเริ่มงานให้เช้าขึ้นเพื่อให้ได้ต้นไม้มากเท่าเดิม...  แต่
อาทิตย์ ต่อมาปรากฏว่า เค้าตัดต้นไม้ได้ 7ต้นต่อวัน ...
เค้ายังคงพยายามต่อไป และต่อไป อาทิตย์แล้วอาทิตย์เล่าจนเวลาล่วงเลยไปอีก 1 เดือน  ปรากฏว่าเค้าตัดต้นไม้ได้เพียง 3 ต้นต่อวัน...

ชายตัดฟืนหมดแรงใจพร้อมแบกขวานไปคืนเจ้าของร้านพร้อมลาออก

เจ้าของร้านถามเหตุผล ซึ่งชายตัดฟืนก็เล่าให้ฟัง...
เจ้าของร้านถามอีกว่า เธอรู้ไหมทำไมเธอทำงานได้ผลน้อยลงทั้งที่เธอได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว

ชายตัดฟืนส่ายหน้า...

เจ้าของร้านยิ้มพร้อมแนะให้ชายตัดฟืนหันไปมองขวานของตน...

ชายตัดฟืนพึ่งทราบความจริงนี้เอง

ขวนของชายตัดฟืนไม่เหลือคมเลย นี่เองเป็นสาเหตุหลักให้ตัดไม้ไม่เข้า

เธอลับขวานของเธอครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?....

 

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า คนเราต้องเรียนรู้อยู่เสมอ นอกจากทำงานแล้วต้งมีเวลาที่จะพักหาสิ่งดีรอบตัวเรา ความรู้มาลับสมอง พัฒนาตนเองให้คมอยู่เสมอ มิฉะนั้นแม้ทำงานไปก็ไม่ได้ผลอย่างเต็มที่  อย่างที่หวัง
 
คุณลับขวานของคุณครั้งสุดท้ายเมื่อไหร์  !?!

 

หมายเลขบันทึก: 149831เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2007 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เห็นด้วยค่ะ เปรียบขวานเหมือนกับสมอง  ถ้าไม่หัดคิดและฝึกฝน สมองเราก็เหมือนขวานที่ขึ้นสนิมและบิ่น

การเรียนรู้ของทุกคนสามารถทำได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ เพียงแต่เรากล้า ที่จะเปิดใจพร้อมรับสิ่งใหม่ๆ ไม่ว่าจะจากตัวบุคคล ธรรมชาติ สภาพแวดล้อมฯลฯ บางครั้งรู้สึกเลยว่าเมื่อเวลาที่เป็นทุกข์ ไม่สบายใจ พอเราได้เรียนรู้อะไรมากขึ้นจากสิ่งต่างๆ มันทำให้เราเข้าใจมากขึ้น ว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ ทำให้เราเปลี่ยนมุมที่ใช้มองเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้น และเก็บเอาไว้ใช้เตือนใจตนแล้วรู้จักเลือกที่จะนำมาปฏิบัติให้เหมาะกับตนเอง แต่การที่เรารู้มากๆแล้วนั้นจำเป็นอย่างที่สุดที่จะต้องเตือนตัวเองไม่ให้ติดยึดในอัตตา ว่ารู้ เพราะบางครั้งสิ่งที่เราคิดก็อาจแตกต่างจากคนอื่น คนเราทุกคนมีความคิดเห็นแตกต่างกันเป็นเรื่องธรรมดา ที่คนอื่นคิดต่างจากเราก็เพราะปัจจัยหลายอย่าง ดังนั้น ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติของบุคคล เราก็ลดอคติได้ง่ายขึ้น สำคัญคือการทำความเห็นของแต่ละฝ่ายให้ถูกต้อง ต่างฝ่ายต่างต้องให้และต้องรับ เป็นความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างที่อาจารย์บอกงัยคะว่าการทำสิ่งต่างๆให้สอดคล้องกับธรรมชาติเพราะธรรมชาติต่างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน การเรียนรู้ก็เช่นเดียวกับความสอดคล้องกับธรรมชาติค่ะ

จิงครับอาจารย์ แต่สิ่งที่อยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้คือ ทำไมนักกฎหมายหรือบรรดาอาจารย์ส่วนใหญ่ไม่คอดแบบอาจารญืละครับ

ทุกคน(นักกฎหมายรวมถึงอาจารย์ต่างๆ) คิดว่าตัวเองเก่งมากๆๆๆ

ไม่ใคร่ที่จะรับความเห็นของคนอื่น

ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆในการปฏิบัติงาน

อันเกิดจากการทำหน้าที่การงานของคนๆนั้น

 ผมเองก็มีแค่ปริญญาตรีใบเดียวไม่มีอะไรนอกจากความรู้ที่อาจารย์(ตั้งแต่เด็กจนโต)และจากประสบการณืของตัวเอง หล่อหลอมให้มาเป็นผม

คำถามของผมที่เกิดขึ้นเมื่ออ่านบล็อกของอาจารย์แล้วจึงรู้สึกชื่นชมและยินดีมากที่ยังมีครู(คะ-รุ)อันแปลว่าผู้รู้

ที่ใจกว้าง ลอความเป็นอัตตาของตนมา

ลดความรู้สึกว่าตัวเก่งเหนือคนอื่น มารับฟังความเห็นคนอื่นแล้วนำมาใช้กับตนเอง

นับว่าประเสริฐแท้แห่งวงการนักกฎหมายไทยยย

ที่ส่วนใหญ่เท่าที่ผมเจอมาจะ

มีทิฏฐิสูง ทะนงตัวว่าตัวเหนือกว่าคนอื่นๆ

สุดยอดครับอาจารย์ จารย์คิดได้ใจกว้างๆๆมากก นับถืออาจารย์ครับ 

 

เรียกว่าได้บังเอิญมาอ่านจริงๆเลยค่ะ

อืม...ได้เรียนกฎหมายมา 2 ตัว

ตัวแรกได้ 51 เต็ม 100 คือคาบเส้นพอดี เพราะไม่เข้าใจ ภาษาฟังยากมาก ๆ

พอมาเรียนอีกตัวนึงล่าสุดนี่ มีการบูรณาการเข้ากับสิ่งที่หนุเข้าใจ กับสิ่งที่หนูถนัด คือวิชาทางสาขาจิตวิทยาอ่ะค่ะ เลยรู้สึกสนุกและมีความสุขมาก ๆ

หนุจึงเห็นด้วยกับคำว่า ไหน้าที่ครู คือการเรียนรู้ตลอดชีวิต"

คงเหมือนกันที่อาจารย์ทางหาวิธีการทำให้วิชากฏหมายเข้าใจง่ายโดยวิธีการของอาจารย์

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท