รายงานเบื้องต้นผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิต่อทรัพยากรและการประมงทะเลทางฝั่งทะเลอันดามัน


ผลการศึกษาพบทรัพยากรสัตว์ทะเลลดลงประมาณ 1 เท่าในบริเวณฝั่งตะวันตกของจังหวัดพังงาและภูเก็ตหลังเกิดเหตุสึนามิ (ก่อน 72.69 กก./ชม., หลัง 34.92 กก./ช.ม.) และบริเวณอ่าวพังงาและฝั่งตะวันตกของจังหวัดระนองมีอัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ยลดลงเช่นกัน ส่วนบริเวณฝั่งตะวันตกของจังหวัดตรังและสตูลพบมีความชุกชุมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยพบสัดส่วนของลูกสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นหลังเหตุสึนามิตลอดแนวชายฝั่ง ซึ่งข้อมูลที่ได้สอดคล้องกับผลการสำรวจลูกสัตว์น้ำวัยอ่อน ปลาแป้นเป็นครอบครัวสัตว์น้ำที่พบชุกชุมมากทางฝั่งทะเลอันดามัน

     การศึกษาผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิในวนที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ที่มีผลต่อทรัพยากรและการประมงทะเลทางฝั่งทะเลอันดามันในช่วงก่อนและหลังเกิดสึนามิใน พ.ศ. 2547 และ 2548 โดยแบ่งพื้นที่ในการศึกษาผลกระทบออกเป็น 4 เขต และได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจสัตว์น้ำโดยเครื่องมืออวนลากปลามาตรฐานในเวลากลางวันอวนลากกุ้งในเวลากลางคืน และลูกสัตว์น้ำวัยอ่อนด้วยการลากถุงแพลงก์ตอนโดยเรือสำรวจประมง 4 รวมทั้งสำรวจการประมงพาณิชย์และการประมงพื้นบ้านจากเครื่องมืออวนลากคู่ อวนลากเดี่ยว อวนลากแคระ อวนล้อมจับ อวนลอยกุ้ง 3 ชั้นอวนลอยปลาทู อวนลากปลาเห็ดโคน อวนจมปู ลอบปู และโป๊ะ ทำการศึกษาเปรียบเทียบจำนวนเรือ อัตราการจับ (กก./การลงแรงประมง) ปริมาณการจับ (ตัน) องค์ประกอบชนิด ในระยะเวลาก่อนและหลังการเกิดสึนามิ ในแต่ละเขต
     ผลการศึกษาพบทรัพยากรสัตว์ทะเลลดลงประมาณ 1 เท่าในบริเวณฝั่งตะวันตกของจังหวัดพังงาและภูเก็ตหลังเกิดเหตุสึนามิ (ก่อน 72.69 กก./ชม., หลัง 34.92 กก./ช.ม.) และบริเวณอ่าวพังงาและฝั่งตะวันตกของจังหวัดระนองมีอัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ยลดลงเช่นกัน ส่วนบริเวณฝั่งตะวันตกของจังหวัดตรังและสตูลพบมีความชุกชุมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยพบสัดส่วนของลูกสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นหลังเหตุสึนามิตลอดแนวชายฝั่ง ซึ่งข้อมูลที่ได้สอดคล้องกับผลการสำรวจลูกสัตว์น้ำวัยอ่อน ปลาแป้นเป็นครอบครัวสัตว์น้ำที่พบชุกชุมมากทางฝั่งทะเลอันดามัน
     การประมงอวนล้อมจับได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดเนื่องจากเครื่องมือและเรือจอดอยู่ที่แพปลาในช่วงเวลาเกิดเหตุจึงถูกลำลายจากแรงคลื่นโดยเฉพาะบริเวณบ้านน้ำเค็ม จังหวัดพังงา ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ลดลงแต่อัตราการจับเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ยกเว้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 มีอัตราการจับเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2 ถึง 3 เท่าในบริเวณจังหวัดภูเก็ตและกระบี่ ส่วนในพื้นที่จังหวัดระนอง ตรัง และสูตล มีอัตราการจับเฉลี่ยเพิ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 เช่นกันโดยพบปลาวัวกระดาษ (Aluterus monoceros) ชุกชุมในช่วงก่อนเกิดสินามิ บริเวณฝั่งตะวันตกของจังหวัดพังงาและภูเก็ต ส่วนการประมงอวนลากมิได้รับผลกระทบมากนักจากเหตุสินามิและมีอัตราการจับเพิ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม พ.ศ. 2548 รวมทั้งพบสัดส่วนของลูกสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจจากเครื่องมืออวนลากปลามาตรฐานโดยเรือสำรวจประมง
     การประมงพื้นบ้านชาวประมงหยุดทำการประมงหลังจากเกิดสึนามิเนื่องจากเครื่องมือประมงสูญหายและชำรุด รวมทั้งชาวประมงยังคงกลัวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่กล้าเสี่ยงออกไปทำการประมงโดยเริ่มออกไปทำการประมงอีกครั้งในกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 พบเฉพาะเครื่องมืออวนจมปูในบริเวณอ่าวพังงาที่มีอัตราการจับเพิ่มขึ้นหลังจากเกิดสึนามิ
     ปัจจัยอื่นที่ได้รับผลกระทบจากเหตุสึนามิพบราคาสัตว์น้ำลดลง ส่วนคุณภาพน้ำตลอดชายฝั่งอันดามัน มีคุณภาพดีขึ้นมาก

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14940เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2006 21:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 00:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ไม่น่าเกิดขึ้นเลย น่าสงสาร

ขอให้ผู้ที่เสียชีวิตอยู่เป็นสุข

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท