แนวทางในการพัฒนาตนสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต


แนวทางในการพัฒนาตนสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต               

          การพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นการสร้างรากฐานของระดับการดำรงชีวิตของคนให้ดีขึ้น โดยการให้ความรู้ การฝึกด้านคุณธรรม การส่งเสริมสุขภาพอนามัยการประกอบอาชีพ  รวมกันอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ในประเทศไทยได้มีการสร้างเกณฑ์มาตรฐานของคุณภาพชีวิต                

          เป้าหมายหลักในการ พัฒนาคุณภาพชีวิต  คือการให้มีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง  จุดเริ่มต้นของการพัฒนาคุณภาพชีวิต คือเริ่มจากการพัฒนาตนเองซึ่งเป็นหน่วยย่อยของสังคม 

          การพัฒนาตนตามแนวพุทธศาสนา ได้มีการวิเคราะห์พฤติกรรม (การกระทำของคน) ไว้ในสองลักษณะ   คือ         

          ลักษณะที่ 1  พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดทุกข์ เกิดจากการไม่รู้หรืออวิชาตัณหา เช่น ความโลภอยากได้ของคนอื่นเกิดการลักขโมย   เป็นพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดทุกข์         

          ลักษณะที่  2 พฤติกรรมสลายทุกข์ (การแก้ปัญหา) เมื่อคนเราเกิดความทุกข์จะก่อให้เกิดพฤติกรรมในการแก้ปัญหาคือสร้างปัญญา  และฉันทะ เพื่อให้เกิดการศึกษา รู้วิธีการในการแก้ปัญหาจากพฤติกรรมดังกล่าว          

          แนวพุทธศาสนาจึงได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาตนไว้ดังนี้                       

          ขั้นที่ 1 นำสู่สิกขา คือ ขั้นของการฝึกฝนตนเองในการศึกษา การฝึกฝนให้เกิดสัมมาทิฏฐิ  ซึ่งเป็นรากฐานของการฝึกและพัฒนาตนเอง ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย 2 อย่าง คือ

               1.      ปัจจัยภายนอก (ปรโตโฆษะ) คือ การกลั่นกรองรับเอาคำอบรมสั่งสอนจากพ่อ แม่ พี่ น้อง สื่อมวลชนต่าง ๆ
ซึ่งเป็นพื้นฐานในการรับเอาความรู้ สังคม และวัฒนธรรมที่ดีในการพัฒนาตนเองต่อไป

               2.      ปัจจัยภายใน (โยนิโสมนสิการ) คือ การรู้จักเลือกปฏิบัติ เลือกหากัลยาณมิตร ซึ่งคนมองเห็นประโยชน์และสามารถตีคุณค่าได้ ซึ่งจะต้องมีการฝึกฝน ตามองค์ประกอบด้านการมีสติพื้นฐานเป็นผู้มีศีล มีระเบียบ วินัย เป็นผู้มีแรงจูงใจใฝ่สร้างสรรค์ เป็นผู้มีความเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ เป็นผู้มีความเชื่อในหลักเหตุผล มีความกระตือรือร้นและการเป็นผู้มีวิจารณญาณหาเหตุผล รู้จักพิจารณาอย่างรอบคอบ         

          ขั้นที่  2 ไตรสิกขา เป็นขั้นการพัฒนาคนอย่างสมบูรณ์แบบ และในขั้นนี้ต้องมีการศึกษาเรื่องศักยภาพของมนุษย์   หลักสำคัญในการพัฒนามนุษย์ในขั้นนี้คือ     

               1) ศีล เป็นการฝึกพฤติกรรม โดยมีวินัยเป็นเครื่องมือในการฝึก     

               2) สมาธิ เป็นการฝึกด้านจิต ฝึกด้านคุณธรรม ความมีจิตเมตตา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่     

               3) ปัญญา เป็นการฝึกในด้านการรู้ การพิจารณา การไตร่ตรองหาเหตุผลข.)กา

          ในขณะที่สังคมโลกกำลังมีการเปลี่ยนแปลงสังคมของชุมชน กำลังได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสมัยใหม่ การที่จะพัฒนาตนเอง ให้เกิดความสมดุล สามารถปรับตนเองให้มีชีวิตเป็นสุขนั้น ควรจะเริ่มสร้างค่านิยมที่เหมาะสมดังนี้

          1.      การพึ่งตนเองการขยันหมั่นเพียรและมีความรับผิดชอบ เป็นการฝึกตนเองในความรับผิดชอบ การใช้จ่ายของตนเองและครอบครัว การหารายได้ที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการพึ่งผู้อื่น

          2.      การประหยัดและอดออม เป็นการฝึกฝนตนเองเรื่องการใช้จ่ายที่เหมาะสมกับฐานะ

          3.      การมีระเบียบวินัย และการเคารพกฎหมาย เป็นการฝึกฝนตนเองในการเคารพกฎ และกติกา ไม่ละเว้นปฏิบัติตามกฎระเบียบเพื่อให้ตนเองสบาย

          4.      การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา หลักศาสนามุ่งให้ทุกคนทำความดี มีความเมตตากรุณาในแก่นแท้ของศาสนา คือการให้ทุกคนรู้จักวิเคราะห์วิจารณญาณ เพื่อให้เข้าใจวิถีและธรรมชาติของชีวิต  

          5.      ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ชาติหมายถึง กลุ่มชนที่มีเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมเดียวกันมาอยู่รวมกัน ชาติจึงเป็นสมบัติส่วนรวมที่ทุกคนต้องรักและหวงแหนการรวมกันเป็นชาติ การเลือกนับถือศาสนา

          การพัฒนาในระดับที่กว้างไปจากการพัฒนาตนเอง   คือ การพัฒนาครอบครัว   ครอบครัวเป็นศูนย์รวมแห่งความรัก ความอบอุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครอบครัวไทยที่เป็นครอบครัวพื้นฐานสมาชิกในครอบครัว พ่อ แม่ ลูก จะมีความรู้สึกว่า ครอบครัวเป็นศูนย์รวมของความรัก ความอบอุ่น และความ มั่นคงพฤติกรรมของสมาชิกของครอบครัว   หน้าที่ของครอบครัว หน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว เป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการเป็นประชาธิปไตย สมาชิก ในครอบครัวรู้จักบทบาทหน้าที่และการปฏิบัติต่อกัน การแบ่งความรับผิดชอบเป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งจะปลูกฝัง วัฒนธรรมของประชาธิปไตย ที่เริ่มต้นที่ครอบครัว   

           การพัฒนาความสัมพันธ์เริ่มจากจุดเล็ก คือตนเอง จากตนเองไปสู่ความสัมพันธ์ในครอบครัวกว้างออกไปอีก คือสังคม ชุมชน สังคมโลก พฤติกรรมการสร้างความสัมพันธ์เป็นธรรมชาติของมนุษย์

....................

เป็นบทความที่นำมาจาก http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/soc5/so31-5-2.htm

ไม่ได้มีการระบุชื่อผู้เขียนไว้นะคะ  อ่านแล้วเพลินดีเลยนำมาฝากค่ะ

คนึงนิจ อนุโรจน์

คำสำคัญ (Tags): #quality of life
หมายเลขบันทึก: 148813เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2007 09:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2013 09:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านแล้ว รู้สึกเป็นแนวเดียวกับความคิดของตน รู้สึกว่าลำดับของการพัฒนานั้น ควรจะต้องเริ่มที่ตนเองก่อน แล้วก็ขยายผลไปสู่หน่วยอื่นของสังคม

ขอบคุณมากค่ะ

ใช่ค่ะ กลับมาอ่านอีกทียังใช่เลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท