อีกครั้ง ที่กฎหมายนโยบายไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตจริงของประชาชน


แต่ด้วยกฎหมายการทำงานของคนต่างด้าวปัจจุบัน ทำให้การทำงานต่างๆ แม้การรับจ้างทำงานเกษตรในท้องถิ่น เป็นเรื่องผิดกฎหมาย

เมื่อวานได้ไปร่วมประชุมหนึ่งที่เชียงใหม่ เลยมีโอกาสพูดคุยกับผู้นำชาวบ้านคนเก่ง แห่งคลีนิคกฎหมายแม่อาย

เธอได้เล่าให้ฟังถึงปัญหาที่ชาวบ้านในพื้นที่ของเธอกำลังประสบ จนไม่กล้าทำมาหากิน

ด้วยวิถีชีวิตของเกษตรกรช่วงนี้ เป็นช่วงเกี่ยวข้าว ซึ่งโดยปกติชาวบ้านที่เกี่ยวข้าวของตนเสร็จหรือที่ไม่มีนาข้าวของตน ก็มักไปรับจ้างเกี่ยวข้าวที่ไร่นาของคนอื่น

แต่ด้วยชาวบ้านจำนวนไม่น้อยในพื้นที่แห่งนี้ ยังไม่มีสัญชาติไทย หลายส่วนถือบัตรสี (บัตรประจำตัวชนกลุ่มน้อย) มานับสิบปี เพื่อรอพิสูจน์สัญชาติไทย หลายส่วนก็เพิ่งเข้ามาภายหลัง แต่ได้รับการยอมรับให้อยู่อาศัยได้ชั่วคราวในประเทศไทย มีการจัดทำบัตรประจำตัวให้เช่นกัน โดยผ่อนผันให้อาศัยอยู่ได้ในเขตพื้นที่ที่ทำบัตรประจำตัวนั้น

แต่ด้วยกฎหมายการทำงานของคนต่างด้าวปัจจุบัน ทำให้การทำงานต่างๆ แม้การรับจ้างทำงานเกษตรในท้องถิ่น เป็นเรื่องผิดกฎหมาย ทำให้ช่วงเวลาที่ผ่านมา ตำรวจจึงพากันจับกุมประชาชนเหล่านี้ที่ทำมาหากินในชุมชนของตนเองหรือใกล้เคียง แม้ไม่ออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมการอยู่อาศัย จนชาวบ้านไม่กล้าออกไปทำงานรับจ้างที่ไหนเหมือนทุกปีที่ผ่านมา

เห็นท่านประธานสถาบันยุทธศาสตร์สันติวิธี  สภาความมั่นคงแห่งชาติ นั่งฟังเรื่องราวอย่างสนอกสนใจ และมีคำแนะนำหลายประการ คงเห็นเป็นเรื่องที่กระทบถึงความมั่นคงแห่งชาติในมิติความมั่นคงของมนุษย์

เพราะหากประชาชนไม่มีความมั่นคงในการดำเนินชีวิตพื้นฐาน แม้เพียงแค่ประกอบสัมมาอาชีพเลี้ยงครอบครัวได้อย่างนี้ คงน่าเป็นห่วงถึงปัญหาอื่นๆ ที่จะเชื่อมโยงตามมาอีกมาก

ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ พรบ.การทำงานของคนต่างด้าว น่าจะคิดถึงคนต่างด้าวที่เป็นคนเล็กคนน้อย ชายขอบด้วย มากกว่าจะคิดถึงแต่คนต่างด้าวที่มาทำธุรกิจหลายพันล้าน เช่นที่เป็นอยู่เท่านั้น !!!!

 

 

หมายเลขบันทึก: 148806เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2007 08:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 11:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ

น่าเห็นใจชาวบ้านมากค่ะ

การออกกฎหมายที่มีผล "ถ้วนหน้า" ย่อมไม่เหมาะกับสังคมที่มีความหลากหลาย   แต่ทางการก็คงมีมุมมองในบางเรื่องที่ต้องดูแลเหมือนกัน

 ทางที่ดีที่สุด คือ ทำอย่างไรจะให้ทั้งสองฝ่ายได้รับรู้ข้อมูลและข้อจำกัดของกันและกัน   เพื่อหาทางออกที่ดีกว่า     

อย่างน้อยชาวบ้านก็ต้องการพื้นที่สำหรับสื่อสารปัญหาต่างๆให้สังคมได้รับรู้

blog ของคุณ pilgrim  ทำหน้าที่นี้ได้อย่างดีค่ะ

 

อ.ปัท คะ

ถ้าการสื่อสารปัญหาให้สังคมได้รับรู้เป็นไปฝ่ายเดียว คนสื่อก็อาจไม่เห็นว่าเจ้าของปัญหาจะได้ประโยชน์อะไร ไม่แน่ใจว่ามีใครรับรู้จริงหรือไม่ และอาจหมดกำลังสื่อไปในที่สุด

แต่ยังดี ที่สังคมที่ว่า ยังมีคนอย่าง อ.ปัท และอีกหลายท่าน ที่คอยสะท้อน ทั้งแง่คิด ความรู้ คำแนะนำ หรือแม้เพียงกำลังใจ ทางช่องทางเล็กๆ อย่าง blog นี้ ทำให้พอมีกำลังใจในการทำหน้าที่นี้ต่อไปค่ะ

ขอบคุณ อ.ปัท มากๆ ค่ะ

ประการแรก ต้องเรียนเจ้าขอวบล็อกและ อ.ปัทว่า

เรื่องสิทธิทำงานของชาวเขาที่เกิดในไทยนั้นคงจะดีขึ้นภายใต้กฎหมายที่กำลังแก้ไขใน สนช.

แต่สำหรับชาวเขาที่อพยพเข้ามาทำงานจากพม่า ก็คือ แรงงานต่างด้าวนั้นจะให้ทำได้ตามใจชอบ ก็คงมีผลกระทบทางลบบ้างเช่นกัน การขออนุญาตทำงานคงจำเป็น ซึ่งจะต้องปรับเรื่องค่าขอใบอนุญาต และในยุคหลัง การจ่ายค่าธรรมเนียมต่างๆ ก็อาจมีบวกค่าซื้อสวัสดิการอีกด้วย แต่เรื่องชาวเขาแรงงานต่างด้าวนี้ ภาควิชาการไม่ค่อยมีตามีปากกับเรื่องนี้ มีแต่เอนจีโอและภาคราชการถกเถียงกัน และดูเหมือนวิ่งกันไปคนละทิศ

ประการที่สอง ตอบแม่เจ้าของบล็อกโดยเฉพาะค่ะ

การที่เราทำอะไรได้ภาคการเมืองและภาคราชการรู้ปัญหาชาวบ้านได้ แต่พิโยกพิเกนมากไป ก็เป็นบาปจ๊ะ ไปล้างบาปเสียนะ รอคนรู้มากมาทำน่ะ มันไม่มาสักที ชาวบ้านก็ทุกข์ไปเรื่อยๆ ไหนว่าเอาชาวบ้านเป็นตัวตั้งไงล่ะ ไม่คิดให้มันดีเสียก่อนหรือ ปัญหาสุขภาพมันไม่สำคัญสำหรับมนุษย์หรือไร

ลองถาม อ.ปัท ดูซิคะ การเป็นปากเป็นเสียงให้ชาวบ้านน่ะ มันควรจะทำไหม ?

แน่ะ เริ่มหาพวกแล้วซิคะ อ.แหวว

เอ.. ว่าแต่ อ.ปัท จะเข้าข้างใครดีคะเนี่ย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท