การเรียนแบบนี้น่าสนใจ


การสอนที่จะเอาเรื่องราวใกล้ตัวของนักเรียนมาให้ประยุกต์ใช้จะทำให้เด็กคิดได้และคิดดี

ขอข้ามการเดินทางไปชุมชนแสนตอกับหลักเขตของกรุงเทพมหานครเนื่องจากความน่าสนใจยังน้อยกว่าเรื่องนี้

เราได้ชมนิทรรศการแบบถาวรที่พิพิธภัณฑ์ของเขตบางขุนเทียนที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณ โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ ระหว่างทางเราได้เห็น คุณครูร่างใหญ่หน้าตาใจดี ใส่เสื้อสีแดงสด กำลังยืนอยู่ต่อหน้านักเรียน(จากการสอบถามเป็นนักเรียน ป.๑/๒) http://gotoknow.org/file/beerthai/perfect.jpg

วันนี้คุณครูจะสอนวิธีการเอาสาหร่ายสีเขียวๆที่อยู่ในนากุ้งมาทำเป็นกระดาษ (ก็มีการอธิบายถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำก่อนว่ามีอะไรบ้าง) เด็กเด็กนั่งดูอย่างสนใจ เพราะคุณครูบอกว่าไหนใครก้นไม่ติดพื้น เด็กๆที่ลุกขึ้นดูก็รีบวิ่งมานั่งอย่ารวดเร็ว

ครูอ้วนเริ่มพูดใหม่ครั้งนี้เริ่มด้วยประโยคคำถาม "นักเรียนเคยเห็นสิ่งที่อยู่ในมือครูไหม" เด็กๆก็ตอบเคยเห็น "แล้วเห็นที่ไหน" อยู่ในนากุ้ง (จากคำถามนี้เป็นการจูงใจให้เด็กรู้ว่าจะหาวัตถุดิบเหล่านี้มาจากไหน) ต่อมาก็บอกว่าสาหร่ายนี้มีอยู่ในบ่อกุ้ง ถ้ามีเป็นเรื่องดีเพราะเป็นอาหารของปลาและกุ้ง แต่ถ้ามีมากปลาและกุ้งกินไม่ทันจะทำให้น้ำเสียได้และเมื่อน้ำเสียปลาหรือกุ้งที่เลี้ยงไว้ก็ตาย เด็กอยู่คนหนึ่งบอกว่า "พอมันตายแล้วจะเป็นขี้แดด" ครูก็ชมเชยและอธิบายให้เด็กคนอื่นเข้าใจคำว่าขี้แดดคือ สาหร่ายที่ตายแล้วลอยเป็นสีเขียวคลำอยู่บนผิวน้ำ

คราวนี้ครูอ้วนเริ่มจับเอาสาหร่ายขึ้นมาแล้วถามว่า"สีอะไร" เด็กๆตอบ"สีเขียว" ครูอ้วยอธิบายต่อเมื่อเก็บสาหร่ายชนิดนี้มามันจะเป็นสีเขียวบ้างดำบ้างจากตะกอนที่เกาะอยู่ เมื่อเก็บได้แล้วก็ต้องเอามาซัก ครูอ้วนก็จุ่มเจ้าสาหร่ายลงนำพร้อมกับซักให้เด็กดู(เด็กก็จะได้คำว่าซักอีก ๑ คำ)  จากนั้นก็บอกว่าให้บีบพอหมาดๆ พูดเสร็จก็ทำให้ดู ๒ - ๓ ครั้ง จากนั้นก็ถามว่าสาหร่ายที่ล้างแล้วสีอะไร เด็กๆตอบกันเสียงดัง "สีเขียวอ่อน" http://gotoknow.org/file/beerthai/see oimmm.jpg

จากนั้นครูอ้วนก็เอาขึ้นมาดมและให้เด็กๆดมแล้วก็บอกว่าถ้าได้กลิ่นคาวๆแสดงว่ามีโปรตีน จบคำพูดก็ให้เด็กลุกขึ้นมาลองทำกันทุกคน ในขณะที่เด็กๆทำก็พูดไปด้วยว่าล้างเสร็จก็ดึงเพื่อให้ขี้โคลนออก เห็นเด็กทุกคนได้ทำก็ใช้คำสั่งเดิม ไหนใครก้นไม่ติดพื้น เด็กๆก็กระจอกระแจวิ่งมานั่งที่ตัวเองอย่างรวดเร็ว

ต่อมาครูอ้วนหายตัวไปคงไปหยิบอะไรซักอย่างเห็นเด็กๆวิ่งมาซักเล่นกันอย่าสนุกสนาน

พอครูอ้วนมาเด็กๆต่างวิ่งไปนั่งที่ ครูอ้วนอธิบายต่อว่า ถ้าเราเอาสาหร่ายเส้นยาวๆอย่างนี้เข้าไปปั่นใบพัดจะไม่ทำงาน เพราะฉะนั้นต้องตัดให้สั้นๆก่อน ครูอ้วนก็ตัดให้ดู แล้วให้เด็กๆลองทำเหมือนเคย

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากที่ครูอ้วนสอนเด็กคือต้อง learning by doing และ ต้องใส่ความสนใจเด็กให้มากๆเพราะเด็กก็จะสนใจเรามากเช่นกัน

หมายเลขบันทึก: 14832เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2006 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท