ตำนานผีล้านนาตอนผีเสื้อบ้านเสื้อเมือง


ผีเสื้อบ้านเสื้อเมืองเชื่อว่าเป็นวิญญาณที่คุ้มครองผู้คนให้เป็นสุข

คนเรามีเสื้อสวมใส่เพื่อป้องกันอันตราย คุ้มกันร่างกายให้อบอุ่นปราศจากภัยอันตรายมาเบียดเบียน พร้อมๆกันก็ทำให้ร่างกายสวยงามไม่เปลือยโป๊ให้ผู้อื่นเห็นส่วนที่ไม่พึงประสงค์ที่จะอวดเพราะมันน่าเกลี๊ยด..น่าเกลียด   ด้วยเหตุนี้เองเมื่อมีวิญญาณคอยปกป้องคุ้มครองหมู่บ้าน หรือ เมืองจึงเกิดคำว่าผีเสื้อบ้านเสื้อเมือง

ในสมัยก่อนคนเรายังไม่นับถือศาสนา ผู้คนต้องพึ่งพาอาศัยวิญญาณหรือผีที่เชื่อว่าเป็นผีที่ดีคอยปกป้องคุ้มครองผู้คน  เมื่อมีความเชื่อดังกล่าว หลังจากตั้งหมู่บ้านหรือตั้งเมืองเรียบร้อยแล้วผู้คนจึงร่วมกันสร้างหอผีเสื้อบ้านให้อยู่ด้านทิศหัวบ้านหรือทิศเหนือ และทำการเชิญเทวาอารักษ์ที่มีดวงวิญญาณอยู่ใกล้ๆขึ้นสิงสู่อยู่บนหอนั้น  ร่วมกันกำหนดเวลาที่จะทำการบูชา เช่น ในวันปากปี๋ของเทศกาลสงกรานต์  เป็นต้น  เรียกกันว่า ไหว้สาบูชาบ้านประจำปี   ลูกบ้านที่ไปอยู่ถิ่นไกลก็จะกลับมาร่วมกันทำพิธีเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกันพัฒนาหมู่บ้าน

หากลูกบ้านจะออกจากบ้านไปทำมาหากินถิ่นไกล  หรือลูกบ้านจะออกจากหมู่บ้านไปอยู่ที่อื่น ก็จะขอให้ตั้งเข้า(ผู้ดูแลและทำพิธี)ไปบอกกล่าวให้ผู้ที่จะออกจากหมู่บ้านให้ไปดีมีสุข

ในรูปแบบของรูปธรรมภายในหมู่บ้านมักจะมีเจ้าทรงคือวิญญาณที่อยู่ในหอจะเข้าทรงผู้คนในหมู่บ้านที่เรียกกันว่า "ม้าขี่" เป็นสื่อกลางให้ลูกบ้านพบกับผีเสื้อบ้านอาจมีชื่อ  เช่น  เจ้าหน้อย  เจ้าข้อมือเหล็ก  เป็นต้น เมื่อมีการเข้าทรงเจ้าพ่อผีเสื้อบ้านกับลูกบ้านที่ต้องการปรึกษาก็เจารจากันไปจนหมดสิ้นความต้องการ

เช่นเดียวกันกับผีเสื้อเมืองหากสร้างเมืองเสร็จก็มีการสร้างหอผีเสื้อเมืองอัญเชิญเทวดาหรือดวงวิญญาณของเจ้าเมืองที่สิ้นพระชนม์ไปแล้วขึ้นมาสถิตในหอเสื้อเมือง  ด้วยความเชื่อว่าดวงพระวิญญาณของเจ้าเมืองยังห่วงใยคอยปกป้องดูแลชาวเมืองอย่างนิรันดร์

เมื่อมีหอเสื้อบ้านเสือเมืองก็ต้องมีการประกอบพิธีกรรมตามแต่ละถิ่นที่จะกำหนดกันไป   คำว่าหอเสื้อหรือหอผีเสื้อบ้านเสื้อเมืองก็สรุปได้ดังแลเนอ.....หมู่เฮา

 



ความเห็น (1)

ผีเสื้อไม่มีความเกี่ยวข้องกับเสื้อผ้าที่สวมใส่ค่ะ แล้วทำไมถึงมีคำว่า เสื้อ เพราะพวกคนกลุ่มตระกูลไทลาวตั้งแต่โบราณก่อนพุทธศาสนาจะเข้ามา พวกเรามีความเชื่อ นับถือผี ผีฟ้าแถน ผีป่าผีดง ผีบ้านผีเมือง ผีเชื้อบรรพชน และผีเสื่อนี่แหละคือผืเชื้อ คนลาวจะเรียกผีเซื้อ ซึ่งคำว่าเซื้อตามภาษาลาวจะออหเสียงว่า เซื่อ หรือ เสื้อ ถ้าเขียนภาษาไทยเป็น เชื้อ ที่ตรงกับความหมายดั้งเดิม แต่จะออกเสียงไม่ตรงกับชาวบ้านชาวเมืองที่พูดกันอย่างฝังแน่นว่า เสื้อหรือ เซื่อ ดังนั้น ภาษาเขียนของไทยจึงเขียนตามเสียงที่พูดเป็น เสื้อ นานไปคนไทยจึงลืมความหมายเดิมของคำว่า เชื้อ แต่เอาไปโยงใส่กับคำ เสื้อผ้า เสีย ทบทวนอีกครั้ง คนลาวยังพูดและเขียนแบบดั้งเดิมและตรงกับความหมายว่า ผีเซื้อ(ผีเชื้อ) ซึ่งออกเสียงว่า ผืเสื้อ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท