การสร้างเสริมสุขภาวะในระดับตำบล


ร่วมตั้งจิตอธิษฐานที่จะทำความดีและสร้างสุขภาพดีเพื่อในหลวง

            ทีมสุขภาพระดับตำบล คือ หัวใจของการขับเคลื่อนงานสุขภาวะของคนในชุมชนระดับตำบล ทีมสุขภาพนี้ไม่ได้หมายถึงหมอเท่านั้น หากแต่เป็นการรวมกลุ่มแกนนำหลากหลาย ทั้งหมอ ครู อบต. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน หมอพื้นบ้าน อสม. ผู้สูงอายุ เยาวชน พ่อบ้าน แม่บ้าน ฯลฯ ที่จะเป็นแกนนำในการสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อวางแผนและขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพในระดับตำบล

            เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพคนน่าน (Node สสส.) นำโดยคุณเยาวลักษณ์ อนุรักษ์ และเครือข่ายได้จัด เวทีทำความเข้าใจและแลกเปลี่ยนแนวคิด กำหนดแนวทางการสร้างความร่วมมือในการสร้างเสริมสุขภาพระดับตำบล ในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ณ โรงแรมเทวราช อำเภอเมืองน่าน มีเครือข่ายทีมสุขภาพระดับตำบลจาก ๑๓ อำเภอ จำนวน ๑๗ ตำบล เข้าร่วมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการเรียนรู้และการวางแผนพัฒนาสุขภาพในระดับตำบล

            กระบวนการวันนี้ใช้ทีมวิทยากรกระบวนการครอบครัวเข้มแข็งผสมผสานกับทีมสุขภาพของสสจ.น่าน โดยมีคุณนกเสรี (ปัทมา ธนามี) นักสื่อสารเพื่อสุขภาพคนเก่งมาเป็นพิธีกรประจำงาน

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            กระบวนการหนึ่ง เริ่มจากกระบวนการเปิดแบบมีพลังสร้างกำลังใจในการทำงานด้วยการน้อมนำเอาพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่อง คุณธรรม ๔ ประการ มาตอกย้ำให้ทุกคนได้นำไปประพฤติปฏิบัติ พร้อมด้วยการตั้งจิตอธิษฐานที่จะทำความดีและสร้างสุขภาพดีเพื่อในหลวง พร้อมชมวีดิทัศน์ประกอบเพลง รูปที่มีทุกบ้านเป็นการเริ่มต้นสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ง่ายๆ แต่มีพลังยิ่งนัก เพราะการจัดเวทีประชุมแบบเก่าๆ เรามักจะเชิญผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้บริหาร มาเปิด บางทีก็มาช้า บางทีก็มาไว บางทีก็กล่าวเปิดโดยอ่านตามที่ผู้จัดร่างให้ บางทีก็กล่าวเอง แต่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของงาน บางทีก็พูดนานเสียจนเบียดเวลาของการประชุมไป แต่วันนี้เราไม่ต้องเชิญใครเปิด แต่ทุกคนได้ร่วมเปิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยการน้อมนำเอาพระราชดำรัสมาปฏิบัติกัน นับว่าได้พลังยิ่งนัก</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            กระบวนการสอง เป็นการให้ข้อมูลสถานการณ์ทางด้านสุขภาวะของคนน่าน ประเด็นการขับเคลื่อนสุขภาพที่ผ่านมา รวมทั้งดูวีดิทัศน์ตัวอย่างการสร้างเสริมสุขภาวะในโรงเรียน งานนี้เปิดประเด็นโดยคุณเยาวลักษณ์ และตามด้วยผมตอกย้ำบางประเด็นให้เห็นร่วมกัน รวมทั้งชี้แจงกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในวันนี้</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            กระบวนการสาม คุณสุปาณี ศรีใหญ่ ปลัดอบต.ปอน ผู้คร่ำหวอดอยู่วงการสาธารณสุขมากว่า ๒๐ ปี เข้ามาช่วยจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยเริ่มจากให้ผู้เข้าร่วมเวทีจับคู่คนที่เราไม่รู้จักคุ้นเคย เพื่อเข้าไปทำความรู้จักคุ้นเคยกัน และสัมภาษณ์กันและกัน เรื่อง วิธีการสร้างสุขภาพและปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ จากหนึ่งคู่รวมกันเป็นหกคู่เล่าเรื่องที่ได้สัมภาษณ์เพื่อนให้กลุ่มฟัง แล้วสรุปเป็นวิธีการสร้างสุขภาพและปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพของกลุ่ม แล้วนำเสนอที่ประชุมใหญ่กลุ่มละ ๓ นาที กระบวนการเป็นไปอย่างคึกคัก แต่ละกลุ่มเบียดแย่งนำเสนอกันอย่างคึกคัก รวมทั้งการนำเสนอวิธีการสร้างสุขภาพของตนเองอย่างหลากหลาย เรียกเสียงปรบมืออย่างกึกก้อง </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            กระบวนการสี่ เริ่มในภาคบ่ายด้วยการสันทนาการสร้างความคึกคักแบบผู้ใหญ่ๆ จากทีมครอบครัวเข้มแข็ง แล้วผมเริ่มอธิบายการใช้เครื่องมือ แผนที่สร้างสุขภาพ-แผนที่เสี่ยงด้านสุขภาพ เป็นการประยุกต์ใช้เครื่องมือแผนที่เดินดินของคุณหมอโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และเครื่องมือพื้นที่สร้างสรรค์-ไม่สร้างสรรค์ของเครื่องมือวิจัยโครงการครอบครัวเข้มแข็งมาประยุกต์ใช้ หลังจากนั้นให้ทีมสุขภาพระดับตำบลแต่ละทีมได้ทดลองลงมือทำแผนที่โดยใช้พื้นที่จริงในชุมชนมาทดลองทำ การทำแผนที่เป็นไปอย่างคึกคักสนุกสนาน เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันและกัน หลังจากนั้น เราได้จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทีมตำบลด้วย กระบวนการจ่ายตลาดความคิด (กาดหมั้วกำกึ๊ด)” โดยให้แต่ละกลุ่มมีแม่ค้าขายความคิดหนึ่งคนที่เหลือเป็นคนไปจ่ายตลาด เราใช้เมล็ดถั่วแดงแจกให้คนละ ๓ เม็ด ใช้แทนเงิน เห็นความคิดของกลุ่มไหนเราสนใจก็จ่ายไป แล้วจดเอาความคิดนั้นไว้ เสร็จแล้วเราก็มานับดูยอดขายของแต่ละตำบลว่าทีมไหนขายได้ยอดสูงสุด จากนั้นเราก็ให้ทีมที่ได้คะแนนสูงสุด ๓ ทีมแรกนำเสนอในที่ประชุมกลุ่มใหญ่</p>  <div style="text-align: center"></div><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            กระบวนการห้า คุณเยาวลักษณ์ ได้ชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนงานในพื้นที่และการสนับสนุนจากสสส.ในการพัฒนาโครงการสร้างเสริมสุขภาพในระดับพื้นที่ รวมทั้งได้เปิดโอกาสซักถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน พร้อมนัดหมายกันต้นเดือนมกราคม ๒๕๕๑ เพื่อนำเอาแผนงานโครงการของแต่ละพื้นที่มานำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพื่อพัฒนาเป็นโครงการขอสนับสนุนงบประมาณจากสสส.ต่อไป</p>             กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนี้เป็นไปอย่างสนุกสนาน ได้สาระและความรู้ไปในตัว หวังว่าหลังวันนี้ทีมสุขภาพระดับตำบลจะออกไปขับเคลื่อนเชื่อมต่องานฐานเดิมที่มีอยู่และคิดสร้างสรรค์งานใหม่ๆ อออกมาสร้างเสริมสุขภาพคนน่านได้อย่างมีพลังต่อไป

หมายเลขบันทึก: 147618เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2007 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท