หญ้าและข้าวโพดหมัก


หญ้าและข้าวโพดหมักคุณภาพดี
หญ้าและข้าวโพดหมักคุณภาพดี ฝีมือเกษตรกรทำ ปัจจุบันได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวโพดและหญ้าสายพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อนำมาเป็นอาหารให้กับสัตว์จำพวกเคี้ยวเอื้องกินมากมายหลายสายพันธุ์ อาทิ หญ้าเนเปีย หญ้ากินนีสีม่วง หญ้าอุบลพลาสพลาลั่ม หญ้าขน หญ้าแพงโคล่า และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่หญ้าที่เราจะนำเสนอเป็นหญ้าที่มีลำต้นสูง 150 – 200 ซ.ม. ใบหนาภายในลำต้นเป็นเนื้อเยื่อมีรสหวานหญ้าพันธุ์ดังกล่าวคือ หญ้าอาลาฟัล นายอภิชาติ พจน์ฉิมพลี ปัจจุบันตำแหน่งประธานโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนพึ่งตนเอง (วิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนพึ่งตนเอง) ได้นำเกษตรกรที่ลงทะเบียนคนจน เรียนรู้เรื่องการหมักข้าวโพดและหญ้า เพื่อเป็นอาหารสำหรับสัตว์จำพวกเคี้ยวเอื้อง (วัวเนื้อ) กิจกรรมข้าวโพดและหญ้าหมักคุณภาพดี ได้นำเอาหญ้าอาลาฟัลมาทำหญ้าหมักให้กับโคเนื้อและโคนมกินจากการที่ได้พูดคุยกับเกษตรกรอำเภอปากช่องที่มาปรึกษาเรื่องการปลูกผักปลอดสารและการใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ ทำให้เรารู้จักหญ้าสายพันธุ์นี้และศักยภาพในการให้ผลตอบแทนของหญ้าสายพันธุ์นี้มากยิ่งขึ้น จุดเริ่มต้นของการทำหญ้าหมักคุณภาพสูง “เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าไปติดต่อกับกลุ่มเกษตรกรอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา แล้วไปเจอหญ้าชนิดหนึ่งอยู่ที่ฟาร์มวัวของเกษตรกร จากการที่มองดูตามผิวเผินคงไม่รู้ว่าเป็นหญ้าที่นำมาเป็นอาหารให้กับวัวด้วยความแปลกใจข้าพเจ้าจึงเอาหญ้าชนิดนั้นไปศึกษาถึงคุณสมบัติของเขาว่ามีเปอร์เซ็นต์โปรตีนเท่าไหร่ไฟเบอร์เท่าไหร่ส่วนสาเหตุที่ผมต้องนำเอาหญ้าอาลาฟัลไปศึกษาก็เพราะว่าเกษตรกรในเขตอำเภอปากช่องนั้น ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพการเลี้ยงโคนมมากกว่าอาชีพอื่น ๆ ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีฟาร์มโคนมมากเพียงใด แต่เราก็ยังนำเข้านมผงจากต่างประเทศอยู่ซึ่งมูลค่าที่ผมรู้มาก็มากถึงปีละ 10,000 ล้านบาท ทำให้ผมเกิดความสงสัยว่าทำไมเราไม่ปรับปรุงศักยภาพการผลิตให้เกษตรกรในบ้านเราให้มีคุณภาพเทียบชั้นกับนานาประเทศผมจึงไปศึกษาสายพันธุ์ของตัวหญ้าอาลาฟัลตัวนี้ เพื่อเป็นการช่วยในการลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรกลุ่มเลี้ยงวัวในตำบลบ่อปลาทองและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วย” ข้าพเจ้าได้ไปสอบถามชาวบ้านที่เลี้ยงโค และนำเอาหญ้าอาลาฟัลมาให้โคกินผลปรากฏว่าคุณภาพเนื้อหรือน้ำนมจะมีปริมาณที่มากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่น่านำมาส่งเสริม จากการที่ได้นำเอาหญ้าอาลาฟัลไปศึกษาและตรวจวิเคราะห์ก็ได้ผลออกมาคือ หญ้าอาลาฟัลมีเปอร์เซ็นต์โปรตีนสูงถึง 13.51 % ไฟเบอร์ 27.89% ซึ่งข้อมูลที่ได้ออกมานี้เมื่อเทียบกับหญ้าสายพันธุ์อื่นแล้วโปรตีนเขาจะสูงกว่าเกือบเท่าตัวเลยทีเดียว “หลังจากที่ผมได้ข้อมูลต่างๆ ของหญ้าอาลาฟัลแล้วก็ได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมเชิงวิชาการของ อสค แล้วก็ได้ให้อาจารย์ที่จัดการอบรมนั้นวิเคราะห์ดูอีกทีซึ่งผลที่ท่านอาจารย์นำไปวิเคราะห์ก็ได้ผลออกมาว่าหญ้าอาลาฟัลที่นำไปตรวจวิเคราะห์นั้น มีรสหวานถึง 13 บิค ส่วนคุณสมบัติด้านต่างๆ นั้นก็โดดเด่นกว่าสายพันธุ์อื่นหลาย ๆ สายพันธุ์ จากนั้นผมยังวิเคราะห์สายพันธุ์ต่าง ๆ อย่าง ต่อเนื่องแล้วนำมาเปรียบเทียบกับหญ้าอาลาฟัลยิ่งวิเคราะห์ก็ยิ่งเห็นความแตกต่างของหญ้าตัวนี้ จากนั้นผมก็ติดตามผลของหญ้าอาลาฟัลมาจนถึงวันนี้ก็เกือบ 2 ปี” ย้อนกลับไปเมื่อปี 2546 ครั้งนั้นได้มีการจัดอบรมผู้ประกอบการใหม่และส่งเสริมอุตสาหกรรมคุณผมก็ได้เป็นส่วนหนึ่งในการอบรมผมยังได้เสนอแผนการผลิตหญ้าอาลาฟัลในเชิงอุตสาหกรรมสัตว์ ซึ่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมก็ได้เห็นด้วยและให้การสนับสนุนในการนำเอาหญ้าอาลาฟัลมาทำอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ “ผมก็เห็นว่าหญ้าตัวนี้มีศักยภาพที่น่าจะผลิตเป็นหญ้าหมักคุณภาพสูงได้ หญ้าหมักก็คือการถนอมอาหารเอาไว้นาน ๆ นอกจากเป็นการถนอมอาหารแล้วยังเป็นการทำให้คุณค่าทางอาหารเพิ่มขึ้นอีกด้วย หญ้าอาลาฟัลยังมีคุณสมบัติพิเศษอีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อนำไปหมักแล้วจะมีกลิ่นที่น่ารับประทานมาก ถ้าพูดกันเป็นภาษาชาวบ้านก็จะบอกว่ากลิ่นหอมเหมือนผลไม้ดองยังไงยังงั้นเพื่อให้เข้าสู่รูปแบบมาตรฐานและให้เป็นที่น่าเชื่อถือทางศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนพึ่งตนเองก็ได้ผลิตและบรรจุห่อในถุงละ 18 กิโลกรัม ซึ่งจะเป็นการง่ายต่อการซื้อขายหรือว่าเกษตรกรต้องการเอาหน่อไปขยายพันธุ์เองเราก็มีจำหน่ายให้เช่นกัน” ขั้นตอนการปลูกหญ้าอาลาฟัล การเตรียมดิน 1. ปลูกได้ในดินทุกชนิด ยกเว้นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง 2. ไถ พรวน ให้ดินร่วมซุย ถ้ามีปุ๋ยคอกใส่ด้วยก็จะทำให้ดินสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น 3. ระบบการให้น้ำ -ให้ระบบสปริงเกอร์ไม่ต้องชักร่อง (1 ไร่ ใช้สปริงเกอร์หัวขนาด 1 นิ้ว 6-8 อัน -ให้น้ำแบบสูบปล่อยควร ไถชักร่องแบบร่องปลูกข้าวโพด การปลูก นำหน่อพันธุ์ที่เตรียมไว้มาปลูกลงแปลงการปลูกควรให้ได้ระยะห่างหน่อละ 1 เมตร แต่ละแถวก็ควรห่าง 1 เมตร เช่นกัน เนื่องจากเมื่อปลูกหญ้าอาลาฟัลแล้วจะแตกหน่อเป็นกอใหญ่ ถ้าปลูกถี่จนเกินไปการแตกกอจะไม่ค่อยได้ผลนอกจากเรื่องการแตกกอแล้วในส่วนของลำต้นก็จะเล็กไม่แข็งแรง กรณีที่ชักร่องแบบปลูกข้าวโพดควรปลูกเพียงข้างเดียวและควรกำจัดวัชพืชชนิดอื่นก่อน เพื่อเป็นการช่วยให้หญ้าแตกกองงอกงามดียิ่งขึ้นเมื่อปลูกครั้งแรกหญ้ามีความเจริญงอกงามดีมีกอใหญ่ต่อไปเราจะดูแลและจัดการง่ายขึ้น การให้น้ำ เมื่อปลูกเสร็จควรรดน้ำให้ชุ่ม หลังจากที่หญ้ามีการเจริญเติบโตแล้วจะให้น้ำมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพดินที่ปลูก เช่น ดินทรายซึ่งเป็นดินที่มีความละเอียดอุ้มน้ำไม่อยู่ต้องให้น้ำบ่อย เช่นเดียว กันกับการให้ปุ๋ยคอกก็ต้องให้บ่อยครั้งกว่าดินประเภทอื่น ๆ ดินร่วนควรให้น้ำเพียงวันละ 2 -3 ครั้ง ๆ ละ 2-3 ชั่วโมง (เป็นการให้แบบสปริงเกอร์) การใส่ปุ๋ย เมื่อเริ่มปลูกใหม่ให้ใส่ปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพในปริมาณ 50 กิโลกรัมต่อไร่ และใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพชีดทางใบเสริม 15 วันให้ครั้งหนึ่ง (ควรให้เพียงเดือนแรกเท่านั้น) จากนั้นให้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวิตภาพและปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ 20-25 วัน/ครั้ง ๆ ละ 20-30 กิโลกรัม/ไร่ และที่สำคัญควรใส่ปุ๋ยคอกทุกเดือน ๆ ละครั้ง การตัด ในการปลูกครั้งแรกควรตัดเมื่อหญ้าอายุได้ 60 วัน ขึ้นไป สาเหตุที่ต้องตัดในระยะเวลาเท่านี้ ก็เพราะว่าจะเป็นการส่งผลต่อการแตกกอในรุ่นต่อไป ประการสำคัญควรตัดตอให้เหลือเตี้ยที่สุด (ตัดให้ติดดิน) การตัดในครั้งต่อ ๆ ไปจะตัดได้เมื่อหญ้ามีอายุได้ 50 วันขึ้นไป และไม่ควรปล่อยให้สัตว์เข้าไปเหยียบย่ำแปลงหญ้าเพราะหญ้ากอหนึ่งสามารถตัดได้ต่อเนื่องมากกว่า 3 ปีอยู่ที่การดูแลต้นตอและการจัดการแปรงหญ้า “จากการที่ได้ทดลองปลูกและตัดของผม ไร่หนึ่งจะปลูกได้ประมาณ 1,600 กอ ระยะปลูกเมตรxเมตร เกษตรกรบางท่านยังเกิดความสงสัยว่าปลูกระยะห่างขนาดนี้จะส่งผลต่อผลผลิตหรือไม่ผมขอตอบได้เลยว่าเมื่อคุณหญ้าอาลาฟัลในระยะเวลาประมาณ 60 – 70 วัน หญ้าจะมีความสูงถึง 2 เมตร โดยประมาณ แล้วใบของหญ้าอาลาฟัลนั้นจะมีความหนากว่าใบข้าวโพดและมีน้ำหนักกว่าแปลงของผมจากการที่ได้ตัดทุกวันหมุนเวียนทุกแปลงกอหนึ่งจะให้น้ำหนักอยู่ที่ 14 กิโลกรัม ลองเอา 14 คูณ 1,600 คุณจะรู้ว่าไร่หนึ่งคุณได้ผลผลิตเท่าไหร่ ส่วนกระบวนการหมักของเรานั้นก็มิได้ยุ่งยากแต่ประกาศใด เพียงแต่จำกัดอากาศเท่านั้นเอง เนื่องจากว่าหญ้าอาลาฟัลตัวนี้มีคุณสมบัติที่โดดเด่น ให้ผลผลิตต่อไร่สูง และมีความน่ากินอยู่แล้ว กระบวนการหมักของเราจึงไม่ได้มีส่วนประกอบอะไรเข้าไปเป็นส่วนผสมแม้แต่น้อยเพียงแต่หมักในระยะเวลา 10 วัน ขึ้นไปก็ใช้ได้แล้ว”
หมายเลขบันทึก: 146832เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2007 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผมสนใจทำหญ้าและข้าวโพดหมักผมจะนำไปใช้ตอนนี้ผมเลี้ยงวัวหาพื้นที่เลี้ยงยากมากขอบคุณสำหรับข้อมูล

 

 

จากนายสุรพล   เจตนาดี

พันธุ์ศักดิ์ รัตนเกษมศักดิ์

เรียนประธานกลุ่ม คุณอภิชาติ พจน์ฉิมพลี

กระผมสนใจการปลูกหญ้าอาราฟัลครับขอข้อมูลเบื้องต้นด้วยครับ เช่นต้นทุนการผลิตต่อไร่ และกลุ่มมีศักยภาพในการผลิตปีละกี่ตันมีสมาชิกกี่คนและสามารถถ่ายทอดอดองค์ความรู้ให้กับกลุ่มเกษตรกรอื่น ๆ ที่สนใจได้หรือไม่ครับ

อีกอย่างเรื่องแนวทางการปลูกกล้วยหอมทองด้วยครับ ถ้าสามารถถ่ายทอดเทคนิคและแนวทางการผลิตแบบอินทรีย์ได้ทั้งสองกรณี (หญ้าและกล้วย)กระผมอยากติดต่อเป็นวิทยากรครับ

จาก พันธุ์ศักดิ์ รัตนเกษมศักดิ์

เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ มกอช.กระทรวงเกษตร ฯ

ตอนนี้สนใจศึกษาเรื่องหญ้าและข้าวโพดหมักอยู่ค่ะ อยากจะติดต่อกับคุณกลุ่มกล้วยหอมทอง ปักธงชัย

ช่วยติดต่อกลับมาด้วยนะคะ จะยินดีเป็นอย่างยิ่งค่ะ

0897776263 ,0819215286 หรือ [email protected]

ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท