ต้นทุน ผลผลิต ของสถาบันอุดมศึกษา


ต้นทุน ค่าใช้จ่าย

ปีนี้สถาบันอุดมศึกษามีภาระที่ต้องทำรายงานส่งอาจารย์ (ก.พ.ร./สมศ.) หลายเรื่อง  เรื่องหนึ่งที่สำคัญและมีความพยายามจะทำมานาน และเสียค่าศึกษาวิจัยและค่าดูงานในต่างประเทศจำนวนมาก แต่ยังไม่สำเร็จเท่าที่ควร คือ เรื่องต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อหน่วย หรือ ต่อผลผลิต  ในปีนี้มีความจำเป็นต้องดำเนินการให้เรียบร้อย  เนื่องจากถูกกำหนดไว้ตามตัวชี้วัด (แม้ว่าจะเป็นวิชาเลือกก็ตาม)  โดยทางกรมบัญชีกลางตลอดจนสำนักงบประมาณมีหลักเกณฑ์และแนวทางในการคำนวณเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการในแนวทางหรือสูตรเดียวกัน  โดยหลักการแล้วการคำนวณต้นทุนของสถาบันอุดมศึกษาไม่มีอะไรซับซ้อนมากนัก  คิดต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อมเท่านั้น จำแนกตามภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา  เพียงแต่ที่ผ่านมาอาจมีสูตรหรือวิธีคำนวณที่ต่างกันไปบ้างตามกิจกรรมและวัตถุประสงค์ตลอดจนความแม่นยำที่คาดหวัง  อุปสรรคที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การขาดเจ้าภาพในการเก็บข้อมูล  ข้อมูลบางประเด็นกระจัดกระจายไปตามหน่วยงานต่างๆ การที่ต้องทำตามกรมบัญชีกลางกำหนดในระยะแรกอาจขาดความสมบูรณ์ไปบ้าง  แต่อย่างน้อยสถาบันอุดมศึกษาก็จะได้ทราบต้นทุนค่าใช้จ่ายของตนเองและนำไปปรับใช้ ตลอดจนวางแผนการบริหารงานของตนต่อไป  ข้อมูลและสารสนเทศของมหาวิทยาลัยในอนาคตเป็นสิ่งที่ต้องเตรียมการเพื่อประกอบการบริหารงานและเปิดเผยต่อสาธารณชนมากขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14681เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2006 18:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท