ข้าวไร่


ข้าวไร่
  บ่อเกลือ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดน่านซึ่งอยู่ไกลจากจังหวัดไปประมาณ 120 กม การเดินทางนั้นต้องขึ้นเขาอุตทยานแห่งชาติดอยภูคา จึงจะไปถึง ซึ่งเป็นหุบเขาที่ผลิตเกลือสู่ตลาดล้านนา ในสมัยก่อนเกลือเป็นสิ่งจำเป็นของการดำรงชีพดังนั้นการผลิตเกลือของชาวบ่อเกลือนั้นเป็นแหล่งเผลิตเกลือที่ใช้บริโภคในภาคเหนือโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ต่อมาการวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามา และเกลือจะต้องมีไอโอดีน จึงเป็นเกลือที่ผลิตตามชายทะเล แต่บ่อเกลือก็ยังสามารถผลิตเกลือได้โดยนำเอาไอโอดีนมาผสม บ่อเกลือเวลานี้ถ้าขึ้นไปจะเห็นข้าวเหลืองเต็มภูเขา ซึ่งเป็นการปลูกข้าวเพื่อการบริโภคของประชาชนที่อาศัยอยู่บ่อเกลือ เรียกว่าข้าวไร่ เป็นข้าวไวแสงหรือข้าวนำฝน ซึ่งอาศัยน้ำฝนจากท้องฟ้า ช่วงเวลาฤดูฝน และจะทำการเก็บเกี่ยวประมานเดือนตุลาคม พันธุ์ข้าวที่เกษตรกรนิยมปลูกโดยทั่วไป เป็นพันธุ์พื้นเมืองมีหลายพันธุ์    พันธุ์ที่ปลูกในสภาพนา เช่น พันธุ์บือโปะโละ บือพะทอ บือม้ง บือกวา น้ำรู ขามเหนี่ย บือพะโด่ะ เป็นต้น ในสภาพไร่ เช่น พันธุ์เจ้าลีซอ เจ้าฮ่อ น้ำรู ขาวโป่งไคร้ เป็นต้น เกษตรกรมักปลูกข้าวหลากหลายพันธุ์ เพื่อลดความเสี่ยงจากการเสียหายของผลผลิตจากศัตรูพืชต่าง ๆ เช่น นก หนู โรค และแมลงศัตรูข้าว โดยพันธุ์ข้าวที่ปลูกจะแตกต่างจากพันธุ์ข้าวที่ปลูกบริเวณพื้นราบทั่ว ๆ ไป เนื่องจากนิเวศน์ของพื้นที่หรือสภาพแวดล้อมเฉพาะ เนื่องมาจากระดับความสูงของพื้นที่ สภาพอากาศซึ่งแตกต่างกันออกไป  (ข้อมูลพันธุ์ข้าวจากกรมการข้าว)

ข้าวนับว่าเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ เปรียบเสมือนอู่ข้าวอู่น้าของเกษตรกร ซึ่งนับวันจะเห็นน้อยลงไปทุกวันแล้ว ผู้คนในเมืองบางคนอาจจะไม่รู้จักด้วยซ้ำ การปลูกข้าวเพื่อการบริโภคของชุมชนที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูง เพื่อบริโภคของชุมชนนั้นๆ จึงมีการดิ้นรนเพื่อทำให้ดำรงชีวิตตามท้องถิ่นที่กำเนิดมา ข้าวไร่เป็นการทำข้าวบนเขาซึ่งให้ผลผลิตที่ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร แต่ก็ต้องทำเพื่อปากท้องของชุมชนในท้องถิ่น แต่ก่อนการปลูกข้าวไร่ จากการสอบถามเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไร่บอกว่าเมื่อก่อนข้าวจะงามมาก เพราะว่าสภาพพื้นดินอุดมสมบูรณ์ แต่ปัจจุบันป่าได้หายไปมากและดินถูกน้ำชะล้างเอาหน้าดินออกไปมาก ต้องมีการฟื้นฟูสภาพดินและน้ำเพื่อให้สภาพการทำกินของชุมชนกลับคืนมาและในข้าวไร่ของเกษตรกรก็จะมีการปลูกพื้นอื่นเพื่อการบริโภครวมอยู่ด้วย การปลูกก็ได้ผลผลิตน้อย ดังนั้นสมเด็จพระเทพฯ ได้ทรงสร้างศูนย์ภูฟ้าพัฒนาเพื่อเป็นการพัฒนาให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงชีพอยู่ได้เหมือนกับอดีต จึงมีหน่วยงานของกระทรวงเกษตรเข้าไปช่วยเหลื่อให้คำแนะนำ และสอนแนวทางในการปฏิบัติในเรื่องการเกษตรให้กับเกษตรกร สำนักงานเกษตรจังหวัดน่านก็เป็นหน่วยงานหนึ่งที่เข้าไปทำการช่วยเหลือเกษตรกร ได้เข้าไปให้ความรู้เรื่องการปลูกพืชในแต่ละชนิด โดยทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นซึ่งเป็นหน่วยงานที่เข้าไปช่วยเหลือเกษตรกร และสามารถทำให้เกษตรกรมีอาชีพและทำการเกษตรแบบพอเพียงมีการจัดสรรที่ดินให้กับเกษตรกรเพื่อทำการเกษตร ซึ่งที่ดินแต่ละแปลงของเกษตรกรก็มีการทำการเกษตรผสมผสาน หรือการทำการเกษตรแบบพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (พ่อหลวงของปวงชนชาวไทย) การปลูกข้าวไร่ก็เป็นการทำการเกษตรเพื่อปากท้องของพี่น้องเกษตรกรชาวบ่อเกลือเพื่อการบริโภค ซึ่งจะทำให้การอพยพแรงงานออกนอกพื้นที่ลดลง และการดูแลรักษาป่ากลับคืนสภาพกลับมาก็จะทำให้เกษตรกรกลับมามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น   

อีกมุมหนึ่งของการเดินทางไปกับนายที่บ่อเกลือครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #ข้าวไร่
หมายเลขบันทึก: 146426เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2007 19:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 12:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีครับ
  • เคยไปบ่อเกลือเหมือนกันคับเมื่อ 2 ปี มาแล้ว
  • แต่ก่อนท่านเกษตรจังหวัดตราด พี่นิโรจน์  ประถมวงศ์ เคยเป็นเกษตรจังหวัดที่นั่น เลยมีโอกาสได้ไป
  • จะแจ้งพี่สิงห์ป่าสักให้นำเข้า ชุมชนนักส่งเสริมการเกษตรให้นะครับ
  • ขอบคุณครับ

P สวัสดีครับ

  • ผมไปไม่ถึงบ่อเกลือสักที ไปหลงที่น้ำมวบ แล้วเข้าเวียงสา
  • อีกทีก็ไปภูคา แล้วก็กลับ
  • มีโอกาสจะแวะไปให้ได้ครับ ;)

แวะมาเยี่ยมชาวน่าน

มีหลานชายเป็นผอ.รพ.บ่อเกลือครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท