การปฐมพยาบาล


สอนเด็กๆเรื่องการปฐมพยาบาล
การปฏิบัติสำหรับกรณีฉุกเฉิน
   ตั้งสติให้ได้อย่าตกใจ
  
ขอความช่วยเหลือ
  
ปฐมพยาบาลเบื้องต้น
  
ช่วยหายใจ ให้อากาศเข้าปอดสะดวก คลายเสื้อผ้าให้หลวม
  
ห้ามเลือด
  
นอนนิ่งๆ ห่มผ้า คอยสังเกตอาการ จับชีพจรเป็นระยะ
  
ถ้ามีกระดูกหักอย่าเคลื่อนย้าย 
  
ห้ามรัปประทานสิ่งใด (ถ้าไฟลวกรุนแรงให้จิบน้ำคำเล็กๆ)
อุปกรณ์ปฐมพยาบาล
 1 สำลี
 2
ผ้ากอซแผ่นชนิดฆ่าเชื้อ ทำความสะอาด (แอลกอฮอล์)
 3
คีมสำหรับบ่งเสี้ยน 
 4
ผ้าสามเหลี่ยม 
 5
ผ้ากอซพันแผลขนาดต่างๆ 
 6 
กรรไกรขนาดกลาง 
 7 
เข็มกลัดซ่อนปลาย 
 8
แก้วล้างตา
 9
พลาสเตอร์ม้วน ชิ้น 
10
ผ้ายืดพันแก้เคล็ดขัดยอก ( Elsatic bandage)
11
ผ้ากอซชุลพาราฟินสำหรับแผลไฟไหม้
ยาที่ควรมีไว้ในตู้ยาประจำบ้าน

ยาที่ควรมีไว้ในตู้ยาประจำบ้าน
ยาแก้ปวดลดไข้ : ยาเม็ดพาราเซตามอล 500 มก.
ยาแก้แพ้,ลดน้ำมูก : ยาเม็ดคลอเฟนิรามีน 4 มก. ,2 มก.
ยาแก้ปวดท้องท้องอืด ท้องเฟ้อ : ยาธาตุน้ำแดง ,ยาธาตุน้ำขาว , โซดามิ้นท์ , ขมิ้นชันแคปซูล
ยาโรคกระเพาะ : ยาเม็ดอลูมินาเมกนีเซีย , ไตรซิลิเคท
ยาแก้ท้องเสีย : ยาน้ำเคาลินเปคติน ผงน้ำตาลเกลือแร่
ยาใส่แผล : ทิงเจอร์ใส่แผลสด , ไอโปดีน
ยาล้างตา : โบริคโซลูชั่น
ยาล้างแผล เช็ดแผล : ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ , แอลกอฮอล์เช็ดแผล
ยาทาแก้แพ้แก้คัน : คาลาไมน์
ยาทานวด : ขี้ผึ้งปวดบวม , ครีมระกำ , GPO บาล์ม
ยาแก้ไอผู้ใหญ่ : ยาแก้ไอน้ำดำ , ยาขับเสมหะ
ยาแก้ไอเด็ก : ยาแก้ไอขับเสมหะ , ยาแก้ไอเด็กเล็ก ,
ยาระบาย : ยาระบายเม็กนีเซีย , มะขามแขก , ยาเม็ดมะขามแขก
ยาสูดดม : เหล้าแอมโมเนีย
 ความปลอดภัยสำหรับเด็ก

ความปลอดภัยสำหรับเด็ก
อย่าปล่อยทารกหรือเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบไว้กับสิ่งใดที่อุดตันทางเดินหายใจได้ เช่นถุงพลาสติก ให้เลือกของเล่นชิ้นใหญ่ ๆ ที่ใส่ปากไม่ได้
อย่าให้หมอนกับทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี
อย่าทิ้งทารกไว้กับขวดนมหรืออาหารนมหรืออาหารตามลำพัง (เพราะอาจทำให้เด็กสำลักได้)
ห้ามให้ถั่วลิสง ,น้อยหน่า, มะขาม แก่เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ
อย่าปล่อยเด็กทารกไว้บนเตียงกับคุณนาน ๆ (เพราะอาจเผลอหลับทับเด็กได้)
อย่าปล่อยเด็กหรือทารกไว้บนที่ยกสูงตามลำพัง
รถหัดเดินควรมีฐานและล้อที่แข็งแร็ง
อย่าปล่อยเด็กหรือทารกไว้บนเก้าฮี้สูงโดยไม่มีเครื่องรัดตัว
อย่าให้เด็กสวมถุงหน้าเดินไปเดินมา
อย่าวางแจกันแก้ว ,กาน้ำร้อนไว้บนโต๊ะเตี้ย หรือในระยะที่เด็กเอื้อมมือถึง
หาที่ครอบปลั๊กไฟและสอนไม่ให้เล่นปลั๊กไฟ ,พัดลม เมื่อเด็กเรียนรู้และสอนจุดอันตรายต่างๆ ให้เด็กทราบ
ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบข้ามถนนตามลำพังและจูงมือเด็กที่ต่ำกว่าอายุ 5 ขวบข้ามถนนเสมอ
อย่าถือของร้อน ,ถ้วยกาแฟร้อน ๆ เหนือศรีษะเด็ก
บ้านที่มีเด็กในวัยหัดเดินเตาะแตะ ไม่ควรใช้ผ้าปูโต๊ะที่มีชายให้เด็กดึงได้  บาดเจ็บที่ตา

กรดหรือด่างเข้าตา
อย่าขยี้ตา ,ล้างด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ
รีบไปพบแพทย์

ถูกของแหลมทิ่ม
ให้นอนหลับตา
ปิดตาด้วยผ้ากอซหรือผ้าเช็ดหน้า
อย่าขยับสายตาไปมา
รีบพบแพทย์ทันที

สิ่งแปลกปลอมเข้าตาขาว
ขยี้ตาเบา ๆ กระพริบตา , ล้างตาหรือเงยสายตาขึ้นด้านบน
ใช้มุมผ้าเช็ดหน้าเขี่ยผงออก
ถ้าไม่ออก ไปพบแพทย์

ถูกกระแทกที่ดวงตา
ประคบด้วยความเย็นทันที
รีบไปพบแพทย์
กระดูกหัก

กระดูกหัก
วางอวัยวะส่วนนั้นบนแผ่นไม้หรือหนังสือหนา ๆ
ใช้ผ้าพันยึดไม้ให้เคลื่อนไหว
ถ้าเป็นปลายแขนหรือมือใช้ผ้าคล้องคอ  เลือดออก
ใช้นิ้วกดบาดแผล ประมาณ 10 นาที หรือบีบเนื้อข้าง ๆ มาปิดแผล
ใช้ผ้าหรือเน็คไท พันปิดแผลไว้ (อย่าให้แน่นจนชา)
แผลที่แขน , ขาให้ยกสูง ถ้าเลือดไหลไม่ให้กดเส้นเลือดใหญ่ที่ไปเลี้ยงแขน ขา  ช็อค

สาเหตุ
โรคหัวใจกำเริบ ,บาดเจ็บรุนแรง , เลือดออกมาก ,ไฟไหม้น้ำร้อนลวก ,กระดูกหัก ,อาเจียน หรือท้องเสียรุนแรง

อาการ
หนาวเย็น ,เหงื่อออก , เวียนศรีษะ , หายใจเร็วขึ้น ,ชีพจรเร็วแต่แผ่ว ,กลัว ,กระหาย

การปฐมพยาบาลการปฐมพยาบาล
ให้นอนราบ ,ถ้าเลือดออกห้ามเลือด ,ห่มผ้า ,คลายเสื้อผ้า
อย่าเคลื่อนไหวผู้ป่วย, ถ้าบาดเจ็บที่อก, ท้อง, ศรีษะ ให้หนุนศรีษะและบ่าให้สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย คอยปลอบใจ
ถ้ากระหายน้ำมาก ให้หยดน้ำที่ริมฝีปากนิด ๆ (ห้ามรัปประทานสิ่งใดๆ)
สำลักหรือมีสิ่งของไปอุดหลอดลม
ทารก --ตบอย่างรวดเร็วกลางหลัง 4 ครั้ง ในท่าที่ศรีษะอยู่ต่ำกว่าปอด
เด็กเล็ก ---ตบกลางหลังหนัก ๆ 4 ครั้ง ในท่าที่ศรีษะอยู่ต่ำกว่าปอด
เด็กโตและผู้ใหญ่ --ตบหนัก ๆ และเร็ว ๆ กลางหลัง 4 ครั้งในท่าที่ศรีษะอยู่ต่ำกว่าปอด  ไฟฟ้าช็อต
รีบปิดสวิตซ์ไฟทันที
ถ้าไม่สามารถปิดสวิทช์ไฟได้ ห้ามใช้มือจับต้องคนที่กำลังถูกไฟช็อตแล้วให้นำสิ่งที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น ไม้กวาด ,เก้าฮีไม้ เขี่ยออกจากสายไฟ หรือเขี่ยสายไฟออกจากตัวผู้บาดเจ็บ
เมื่อผู้ป่วยหลุดออกมาแล้ว รีบปฐมพยาบาล ถ้าหยุดหายใจ ให้ทำการเป่าปากช่วยหายใจ ถ้าคลำชีพจรไม่ได้ ให้นวดหัวใจด้วย แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลด้วย   สัตว์กัด

สุนัขกัด
ถ้าเลือดออก ห้ามเลือนทันที (ด้วยผ้าก็อซหรือบีบแผล)
ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด ปิดด้วยผ้าก็อซสะอาด
รีบไปพบแพทย์ เพื่อฉีดวัคซีน

งูกัด
ดูรอยแผล ถ้าเป็นงูพิษจะมีรอยเขี้ยว
ใช้เชือกรัดหรือยาง หรือเข็มขัดรัดเหนือแผลให้แน่นพอควร
ให้นอนนิ่ง ๆ คอยปลอบใจ
ห้ามดื่มสุรา ,ยาดองเหล้า ,ยากล่อมประสาท
ถ้าอยุดหายใจให้ช่วยหายใจทันที
ควรนำงูไปพบแพทย์ด้วย

แมลงต่อย
ถ้าถูกต่อยหายตัว หรือต่อยบริเวณหน้า ให้รีบไปพบแพทย์
พยายามถอนเหล็กไน(โดยใช้หลอดกาแฟเล็ก ๆ แข็ง ๆ หรือปากกาครอบแล้วกดให้เหล็กในโผล่ แล้วดึงเหล็กไนออก)
ใช้ยาแก้แพ้ทา หรือราดด้วยน้ำโซดา หรือประคบด้วยน้ำแข็ง (ปกติอาการบวมจะลดลงใน 1 วันถ้าไม่ลดให้พบแพทย์)
ถ้ามีอาการปวด กินยาแก้ปวด (พาราเซตามอล) ทากดูดเลือด

ห้ามดึง เพราะเลือดจะหยุดยาก
จี้ทากด้วยบุหรี่ติดไฟ หรือไม่ขีดติดไฟให้ทากหลุด
ล้างแผลให้สะอาด ใส่ทิงเจอร์แผลสด เบตาดีน 
 
โดนพิษสัตว์ทะเล

โดนเงี่ยงปลาที่มีพิษ
แช่น้ำร้อนพอทน(40'C หรือ 104 'F)นาน 4-5 นาที จะช่วยให้หายปวด

โดนแมงกระพรุนไฟ
ใช้ทรายหรือผักบุงทะเลถูเมือกออก
ล้างด้วยน้ำสบู่
ทาด้วยน้ำปูนใส , แอมโมเนีย ,เพรดนิโซโลนครีม ,หรือเบตาเทธธาโซนครีม ลมพิษ

สาเหตุ
โดนสารที่แพ้ ,พืช ,สารเคมี, แพ้อาหารทะเล ,เหล้า ,เบียร์ ,ละอองต่าง ๆ

การปฐมพยาบาล
ทายาแก้ผดผื่นคัน ,คาลาไมน์ ,เพรดนิโซโลนครีม , เบตาเมทธาโซนครีม
กินยาแก้แพ้ คลอเฟนนิรามีน ขนาด 4 มก. 1 เม็ด
หาสาเหตุที่แพ้
ถ้าผื่นไม่ยุบลง และเพิ่มมากขึ้นให้รีบไปพบแพทย์

เป็นลม
ห้ามคนมุงดู พาเข้าที่ร่มในให้อยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก
คลายเสื้อผ้าออกให้หลวม
จัดให้นอนตะแคงหน้าไปข้างใดข้างหนึ่งเพื่อป้องกันในเรื่องทางเดินหายใจอุดตัน โดยเฉพาะลิ้นของผู้ป่วยมักจะตกไปทางด้านหลังของลำคอ ทำให้หายใจไม่ออก
ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดหน้าผากมือ และเท้า
ถ้าอาการไม่ดีขึ้น รีบนำส่งโรงพยาบาล เลือดกำเดาออก

สาเหตุ
จากการกระแทก , สั่งน้ำมูก , การแคะจมูก

การปฐมพยาบาล
นั่งลง , ก้มศรีษะเล็กน้อย ,บีบจมูกนาน 10 นาที (หายใจทางปาก)
วางน้ำแข็งหรือผ้าเย็น ๆบนสันจมูก หน้าผาก ใต้ขากรรไกร
ถ้าไม่หยุด รีบไปพบแพทย์ เลือดออกไม่หยุดหลังจากการถอนฟัน

กัดผ้าก็อซชิ้นใหม่ซ้ำ ,อมน้ำแข็ง (ห้ามบ้วนน้ำหรือน้ำยาบ้วนปาก)
ประคบน้ำแข็งนอกปาก
ถ้ายังไม่หยุด ให้รีบไปพบแพทย์

ของเข้ารูจมูก

บีบจมูกข้างที่ไม่มีของ , สั่งข้างที่ไม่มีของแรง ๆ
อย่าพยายามแคะออก
ถ้าเป็นเด็กให้หันเหความสนใจจากจมูก ให้หายใจทางปาก
พบแพทย์ทันที
หู

หูอื้อ
กรณีเป็นหูน้ำหนวกอยู่ ให้รีบรักษาให้หาย
กรณีหูอื้อไม่ทราบสาเหตุ อาจจะมาจากการมีขี้หูมาก , ขึ้นหูเหนียว , ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อดึงขึ้หูหรือดูดขึ้หูออก

ของเข้าหู
ตะแคงศรีษะ หันหูข้างที่มีของเข้าไปลงให้หล่นออกมาเอง
ถ้าไม่ออก ห้ามแคะ รีบไปพบแพทย์

แมลงเข้าหู
พาไปในที่มืด ใช้ไฟฉายส่อง(ให้แมลงออกมาตามแสง)หรือหยอดด้วยน้ำมันหรือกลีเชอรีนบ
หมายเลขบันทึก: 146002เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2007 09:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2012 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

- สวัสดีจ้าน้องน้ำหวาน

ยินดีจ้ากับสมาชิกบล๊อคใหม่

สู้ สู้

 

ดีนะครับเติม รู้ ได้มากทีเดียว

ดีมาก รับดอกไม้ให้เรย ครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท