สิ่งหนึ่งที่เรามักเจอและเป็นปัญหาอยู่เสมอ
เมื่อใดที่เราให้ทีมงานประสานงานของหน่วยงานขอเรื่องเล่าจากผู้ที่จะเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เมื่อเขาส่งเรื่องเล่ามาให้ปรากฏว่ากลายเป็นเรื่องเล่าอีกแบบหนึ่งที่เราไม่ต้องการอย่างนั้น
เช่น
บ้างก็บรรยายมาตั้งแต่วิสัยทัศน์องค์กร
บ้างก็อ้างอิงทฤษฎีหลายๆตัวเพื่อให้ดูเป็นวิชาการมากขึ้น
เล่าวนอยู่ที่เรื่องใหญ่ๆแล้วไม่พุ่งเป้าลงจุดเล็กๆที่เราต้องการเน้น
บ้างก็เตลิดเปิดเปิงเขียนเป็น
ประวัติการทำงานมาให้ซะนี่
หลากหลายรูปแบบ นี่แหละครับ
สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการประสานงานที่ผ่านมา
ทำให้เราต้องกลับมาคิดเป็นการบ้านว่าเราจะสื่อสารอย่างไรให้เขาเข้าใจความต้องการของเราได้ดีขึ้น
จริงๆแล้วเราต้องการเรื่องเล่าเหตุการณ์จากประสบการณ์ทำงานที่เราภาคภูมิใจ เป็นเหตุการณ์ของความสำเร็จเล็กๆ แต่เล่าให้เห็นว่าเราทำอย่างไรจึงได้ความภาคภูมิใจนั้นมา แต่ด้วยความคุ้นชินเดิมที่คนเรามักมองข้าม “ความรู้เล็กๆ” ทำให้มองหาความรู้เหล่านั้นไม่ออก ผมเลยคิดว่าจะเอาเรื่องเล่าที่พอใช้ได้มาขึ้นเอาไว้เผื่อคนที่จะต้องเขียนเรื่องมาดูพอเป็นไอเดียแล้วกลับไปเขียนของตัวเองได้ เรื่องเล่าที่ยกมานี้ ไม่ได้บอกว่าเป็นการเรียบรียงที่ดีที่สุด แต่ต้องการให้เห็นเพียงว่าเขียนประมาณโทนนี้ ถ้าจะให้ดีตรงจุดที่สำคัญ ที่แสดงให้เห็น “ทำอย่างไร” นั้น ถ้าขยายความรายละเอียดนิดหนึ่งก็จะเก็บ “ขุมความรู้” ได้มากยิ่งขึ้นครับ
เรื่องเล่าจากเวทีการจัดการงานสาธารณะ รัฐศาสตร์ รามคำแหง
นายกรกฎ มงคลธรรม
4812840193 MPM 5
PM633
การจัดให้มีกิจกรรมการเต้นแอโรบิคทุกเย็นประจำหมู่บ้าน
แต่เดิมที่หมู่บ้านผมจะมีพื้นว่างอยู่แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นพื้นที่ของหมู่บ้านแต่ก็ไม่ได้ใช่เป็นกิจจะลักษณะอะไร บางครั้งจึงมีคนเอารถบัสมาจอด และในตอนเย็นก็มักจะมีคนมารวมตัวเตะฟุตบอลอยู่เป็นประจำ ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากพื้นที่แห่งนี้ก็จะมีเพียงคน 2 กลุ่มนี่เท่านั้น ทั้งที่จริงแล้วคนในหมู่บ้านก็มีทั้งเด็ก สตรี ผู้สูงอายุแต่คนกลุ่มดังกล่าวก็ไม่เคยได้รับประโยชน์ในการใช้พื้นที่แห่งนี้เลย จนกระทั้งรัฐบาลมีการรณรงค์ให้มีการออกกำลังกายเพื่อให้มีสุขภาพดี มีการจัดมหกรรมการเต้นแอโรบิคที่สนามหลวง ทำให้การเต้นแอโรบิคเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในกลุ่มสุภาพสตรี ซึ่งก็รวมไปถึงในกลุ่มสุภาพสตรีในหมู่บ้านของผมด้วย และก็เริ่มมีเสียงเรียกร้องให้มีการจัดการเต้นแอโรบิคในหมู่บ้าน แต่ก็นำมาซึ่งปัญหา เพราะหากให้มีการเต้นแอโรบิคซึ่งแน่นอนว่าจะต้องให้บริเวณที่เป็นที่ว่างของหมู่บ้าน ก็จะทำให้กลุ่มผู้ที่เตะฟุตบอลไม่พอใจเพราะคนกลุ่มก็จะเป็นผู้ที่เสียประโยชน์ จึงได้มีการจัดการปะชุมคณะกรรมการหมู่บ้านได้มีการรวบรวมความคิดเห็นต่างๆทั้งของคณะกรรมการและของสมาชิกในหมู่บ้านซึ่งผมเองก็ได้ไปร่วมในการเป็นในครั้งนี้ด้วยเพราะผมเองก็อยู่ในกลุ่มของผู้ที่เสียประโยชน์ คือผมเป็นสมาชิกของกลุ่มผู้ที่ใช้ที่ว่างในการเตะฟุตบอล ในการประชุมดังกล่าวก็ได้มีการถกเถียงพูดคุยเจรจา วิเคราะห์ถึงข้อดีข้อเสียในแนวทางเลือกต่างๆ โอกาสอุปสรรค ความเป็นไปได้ คือการนำ SWOT มาใช้ในการวิเคราะห์ทางเลือก จนในที่สุดก็ได้มีการตกลงกันในการจัดสรรการใช้ที่ว่างดังกล่าวคือ ให้มีการเตะฟุตบอลจนถึงเวลา 18.00 น. และหลังจาก 18.00 น. ของทุกวันก็จะมีการจัดให้มีการเต้นแอโรบิค ทำให้คนทุกๆกลุ่มในหมู่บ้านได้รับประโยชน์ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าว อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นนโยบายในการแก้ปัญหาเรื่องการใช้พื้นที่ว่างของหมู่บ้านซึ่งเป็นนโยบายที่เกิดจากคนในชุมชนช่วยกันคิดช่วยการวิเคราะห์เป็นการมีส่วนร่วมของคนในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นไปตามหลังของการจัดการนโยบายสาธารณะ ซึ่งตัวผมเองก็มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและการนำเสนอนโยบายดังกล่าว
จริงๆแล้วเราต้องการเรื่องเล่าเหตุการณ์จากประสบการณ์ทำงานที่เราภาคภูมิใจ เป็นเหตุการณ์ของความสำเร็จเล็กๆ แต่เล่าให้เห็นว่าเราทำอย่างไรจึงได้ความภาคภูมิใจนั้นมา แต่ด้วยความคุ้นชินเดิมที่คนเรามักมองข้าม “ความรู้เล็กๆ” ทำให้มองหาความรู้เหล่านั้นไม่ออก ผมเลยคิดว่าจะเอาเรื่องเล่าที่พอใช้ได้มาขึ้นเอาไว้เผื่อคนที่จะต้องเขียนเรื่องมาดูพอเป็นไอเดียแล้วกลับไปเขียนของตัวเองได้ เรื่องเล่าที่ยกมานี้ ไม่ได้บอกว่าเป็นการเรียบรียงที่ดีที่สุด แต่ต้องการให้เห็นเพียงว่าเขียนประมาณโทนนี้ ถ้าจะให้ดีตรงจุดที่สำคัญ ที่แสดงให้เห็น “ทำอย่างไร” นั้น ถ้าขยายความรายละเอียดนิดหนึ่งก็จะเก็บ “ขุมความรู้” ได้มากยิ่งขึ้นครับ
เรื่องเล่าจากเวทีการจัดการงานสาธารณะ รัฐศาสตร์ รามคำแหง
นายกรกฎ มงคลธรรม
4812840193 MPM 5
PM633
การจัดให้มีกิจกรรมการเต้นแอโรบิคทุกเย็นประจำหมู่บ้าน
แต่เดิมที่หมู่บ้านผมจะมีพื้นว่างอยู่แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นพื้นที่ของหมู่บ้านแต่ก็ไม่ได้ใช่เป็นกิจจะลักษณะอะไร บางครั้งจึงมีคนเอารถบัสมาจอด และในตอนเย็นก็มักจะมีคนมารวมตัวเตะฟุตบอลอยู่เป็นประจำ ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากพื้นที่แห่งนี้ก็จะมีเพียงคน 2 กลุ่มนี่เท่านั้น ทั้งที่จริงแล้วคนในหมู่บ้านก็มีทั้งเด็ก สตรี ผู้สูงอายุแต่คนกลุ่มดังกล่าวก็ไม่เคยได้รับประโยชน์ในการใช้พื้นที่แห่งนี้เลย จนกระทั้งรัฐบาลมีการรณรงค์ให้มีการออกกำลังกายเพื่อให้มีสุขภาพดี มีการจัดมหกรรมการเต้นแอโรบิคที่สนามหลวง ทำให้การเต้นแอโรบิคเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในกลุ่มสุภาพสตรี ซึ่งก็รวมไปถึงในกลุ่มสุภาพสตรีในหมู่บ้านของผมด้วย และก็เริ่มมีเสียงเรียกร้องให้มีการจัดการเต้นแอโรบิคในหมู่บ้าน แต่ก็นำมาซึ่งปัญหา เพราะหากให้มีการเต้นแอโรบิคซึ่งแน่นอนว่าจะต้องให้บริเวณที่เป็นที่ว่างของหมู่บ้าน ก็จะทำให้กลุ่มผู้ที่เตะฟุตบอลไม่พอใจเพราะคนกลุ่มก็จะเป็นผู้ที่เสียประโยชน์ จึงได้มีการจัดการปะชุมคณะกรรมการหมู่บ้านได้มีการรวบรวมความคิดเห็นต่างๆทั้งของคณะกรรมการและของสมาชิกในหมู่บ้านซึ่งผมเองก็ได้ไปร่วมในการเป็นในครั้งนี้ด้วยเพราะผมเองก็อยู่ในกลุ่มของผู้ที่เสียประโยชน์ คือผมเป็นสมาชิกของกลุ่มผู้ที่ใช้ที่ว่างในการเตะฟุตบอล ในการประชุมดังกล่าวก็ได้มีการถกเถียงพูดคุยเจรจา วิเคราะห์ถึงข้อดีข้อเสียในแนวทางเลือกต่างๆ โอกาสอุปสรรค ความเป็นไปได้ คือการนำ SWOT มาใช้ในการวิเคราะห์ทางเลือก จนในที่สุดก็ได้มีการตกลงกันในการจัดสรรการใช้ที่ว่างดังกล่าวคือ ให้มีการเตะฟุตบอลจนถึงเวลา 18.00 น. และหลังจาก 18.00 น. ของทุกวันก็จะมีการจัดให้มีการเต้นแอโรบิค ทำให้คนทุกๆกลุ่มในหมู่บ้านได้รับประโยชน์ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าว อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นนโยบายในการแก้ปัญหาเรื่องการใช้พื้นที่ว่างของหมู่บ้านซึ่งเป็นนโยบายที่เกิดจากคนในชุมชนช่วยกันคิดช่วยการวิเคราะห์เป็นการมีส่วนร่วมของคนในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นไปตามหลังของการจัดการนโยบายสาธารณะ ซึ่งตัวผมเองก็มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและการนำเสนอนโยบายดังกล่าว
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก