E-Learning Opensource Update - August 2007


Open Source Update - August 2007

          แวดวงคอมพิวเตอร์และไอทีบ้านเราในช่วงนี้มีการจัดงานสัมมนาค่อนข้างบ่อย โดยเฉพาะในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับซอพต์แวร์โอเพนซอร์ส ซึ่งโดยล่าสุดในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมามีการจัดงานสัมมนาเกี่ยวกับซอพต์แวร์โอเพนซอร์สถึง 2 งานใหญ่ๆ คือ มหกรรมโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์แห่งชาติ ครั้งที่ 7 โดยมีเจ้าภาพจัดงานเป็นหน่วยงานราชการและเอกชนร่วมกัน ซึ่งงานนี้ถือได้ว่าเป็นงานซอพต์แวร์โอเพนซอร์สระดับชาติที่พยายามสื่อให้เอกชนหรือ End User และนักพัฒนาต่างๆนำซอพต์แวร์โอเพนซอร์สไปใช้ ส่วนงานใหญ่อีกงานคืองานสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านอีเลิร์นนิง ปี 2550 (National e-Learning Conference 2007) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (TCU: Thailand Cyber University) ซึ่งเป็นงานการประชุมที่มีเนื้อหาในการพัฒนาและการนำ E-Learning ไปใช้อย่างไรในแง่มุมของแต่ละสถาบันการศึกษาในประเทศต่างๆ ทั้งไทย ญี่ปุ่น เกาหลีและสหรัฐอเมริกา ซึ่งทั้งสองงานจริงๆแล้วมีเนื้อหาของงานที่แตกต่างกัน แต่ความเหมือนที่แตกต่างคือมีการผลักดันให้ใช้ซอพต์แวร์โอเพนซอร์สเหมือนกัน

          สำหรับอีเลิร์นนิ่งแท้จริงแล้วอยู่คู่กับซอพต์แวร์โอเพนซอร์สมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ความนิยมในการนำซอพต์แวร์โอเพนซอร์สมาใช้ในระบบอีเลิร์นนิ่งก็นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะแวดวงด้านการศึกษาที่นิยมใช้โปรแกรม ATutor และ Moodle ซึ่งทั้งสองโปรแกรมนี้ก็ได้รับความนิยมในต่างประเทศในการนำมาใช้เป็นระบบ LMS (Learning Management System) เช่นกัน ซึ่งจะว่าไปสถาบันการศึกษาในภาครัฐของบ้านเราเรียกได้ว่าถ้าสถาบันไหน มีความต้องการที่จะนำอีเลิร์นนิ่งมาใช้แล้วก็มักจะหนีไม่พ้น ATutor และ Moodle ซึ่งในความเป็นจริงโปรแกรมทั้งสองโปรแกรมนี้มีความยากในการพัฒนาและการนำไปใช้อยู่ไม่น้อย เรียกได้ว่าถ้าจะนำไปใช้กันจริงๆ ต้องทุ่มเทกันทั้งแรงกายแรงใจ อีกเพราะด้วยความที่เป็นโอเพนซอร์สจึงทำให้การติดตั้งโปรแกรมต้องมีความรู้อยู่พอสมควรถึงจะผ่านขั้นตอนต่างๆไปได้ แต่พอผ่านขั้นตอนที่ยุ่งยากไปแล้วการใช้งานก็เป็นเรื่องที่ไม่แตกต่างกันระหว่างซอพต์แวร์ลิขสิทธ์กับโปรแกรม
โอเพนซอร์ส รวมถึงโปรแกรมประเภทอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

          สำหรับโปรแกรมโอเพนซอร์สด้านอื่นๆ เช่น ระบบปฏิบัติการ (OS) และโปรแกรมประเภท Office โอเพนซอร์สนั้นมีครบสำหรับการใช้งานแบบทั่วไปๆ ในชีวิตประจำวันทั้งในสำนักงานและที่บ้าน แต่สำหรับในองค์กรการนำระบบปฎิบัติการอย่าง Linux มาใช้ทำเป็น Web Server หรือฐานข้อมูลแทน Microsoft นั้นมีมานานและค่อนข้างจะได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ส่วนใหญ่ที่เราพูดถึงโอเพนซอร์สเรามักจะรับรู้ได้โดยอัตโนมัติว่ากำลังพูดถึงโปรแกรม
โอเพนซอร์สสำหรับ Desktop ทั่วๆ ไป ซึ่งทุกวันนี้โอเพนซอร์สก็ได้มีการพัฒนาไปมาก เครื่องมือเครื่องใช้เพียบพร้อมใช้งานไม่ต่างกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซอพต์แวร์ดังๆ ทุกๆ บริษัท

          แต่ทุกวันนี้การใช้ซอพต์แวร์โอเพนซอร์สเป็นเรื่องของคนเฉพาะกลุ่ม ไม่ว่าหน่วยงานราชการจะผลักดันเป็นนโยบายระดับชาติอย่างไร การใช้ซอพต์แวร์โอเพนซอร์สแทนการใช้ซอพต์แวร์ลิขสิทธ์ก็ไม่ได้เพิ่มมากขึ้นอย่างที่ควรจะเป็น หรืออาจจะเป็นเพราะว่าโอเพนซอร์สยุ่งยากในการใช้งาน แต่ก็คงไม่เพราะโปรแกรมลิขสิทธ์เองก็ไม่ได้ใช้ง่ายๆ เหมือนกัน หรืออาจจะเป็นเพราะว่าโอเพนซอร์สเป็นเรื่องของนักวิชาการมาทำการตลาด อันนี้ก็ไม่แน่

ไปเรื่องอื่นๆ http://gotoknow.org/blog/xxl/toc

 

หมายเลขบันทึก: 145455เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2007 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท