ทำ E-Learning ไม่ง่ายและไม่ยาก


ทำ E-Learning ไม่ง่ายและไม่ยาก

          ปัจจุบัน E-Learning ในระบบการศึกษาไทยกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เรียกได้ว่าทุกหัวระแหงของโรงเรียนในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมี E-Learning ใช้กันหรือไม่ก็กำลังจะใช้หรือไม่ก็อยู่ในแผนงานเตรียมนำมาใช้ และสำหรับมหาวิทยาลัยคงไม่ต้องพูดถึงว่าทุกๆ มหาวิทยาลัยต้องมี E-Learning ใช้อย่างแน่นอน

          เราคงไม่ต้องพูดถึงว่า E-Learning มีประโยชน์อย่างไร แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าการนำ E-Learning ไปประยุกต์ใช้อย่างไรจึงจะประสบผลสำเร็จ แต่ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า E-Learning จริงๆ แล้วนั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วนอย่างน้อย คือโครงสร้างของระบบ E-Learning System และเนื้อหาบทเรียนหรือ Content โดยที่ระบบของ E-Learning นั้นมีส่วนประกอบต่างๆ เช่น ระบบการจัดการสมาชิกหรือนักเรียน ส่วนของการจัดการบทเรียน ส่วนของเว็บบอร์ด อภิธานศัพท์ และอื่นๆ อีกมากมายตามความเลิศหรูอลังการและความสามารถของแต่ระบบ หรือแล้วแต่ความต้องการของสถาบันการศึกษานั้นๆ ว่าต้องการส่วนประกอบอะไรบ้าง แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดในระบบ E-Learning คือบทเรียน หรือง่ายๆ คือ E-Learning จะดีไม่ดีก็อยู่ที่ Content นี่เอง

          สำหรับระบบ E-Learning สำหรับวงการศึกษาไทยในปัจจุบัน ซอพท์แวร์ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคือ Moodle เพราะ Moodle เป็น Open Source ไม่มีค่าใช้จ่ายในการนำไปใช้ แถมยังมีความสามารถหรือ Function ที่เพียบพร้อมในการนำไปทำเป็นระบบการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ตหรือE-Learning ตั้งแต่การจัดการสมาชิก (นักเรียน)การจัดการเนื้อหาประกาศต่างๆ งานที่มอบหมาย แบบฝึกหัด แบบทดสอบ โดยสามารถเรียกออกมาแก้ไขได้ในภายหลัง มีการบันทึกข้อมูลเพื่อติดตามการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ เรียกได้ว่าโปรแกรมเดียวครบเครื่องสำหรับการทำเป็น Learning Management System (LMS) แต่ในความเป็นจริงถึงแม้ว่า Moodle จะมี Function ที่เพียบพร้อมขนาดไหน  Moodle เองก็ไม่สามารถที่จะติดตั้งได้ง่ายและสำเร็จรูปเหมือนโปรแกรม Microsoft Office ที่คนทั่วไปๆ ติดตั้งได้เองเพียงแค่กด Next ต่อไปเรื่อยๆ ที่เหลือโปรแกรมจัดการให้หมด แต่ LMS ไม่ใช่อย่างนั้นเลย เพราะอย่างที่กล่าวมาแล้วว่า LMS นั้นมีส่วนประกอบมากมายในการประกอบกันเป็นระบบ E-Learning ตั้งแต่ระบบฐานข้อมูล ระบบพื้นฐานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ Web Server อีกทั้งยังมีครูผู้สอน นักเรียน เนื้อหา โครงสร้างหลักสูตร แบบสอบถาม และอีกอื่นๆ อีกมากมายที่มาประกอบกันเป็น LMS ทั้ง Physical และ Logical

          ดังนั้นการทำให้ระบบการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ตสามารถใช้งานได้จริงและมีประสิทธิภาพนั้น จะเห็นได้ว่านอกจากคนที่จะนำ LMS มาใช้ (ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นอาจารย์) จะต้องมีความเข้าใจเรื่องของเทคโนโลยีว่าความสามารถมันทำได้แค่ไหน Scope of Work จะเป็นอย่างไร อีกทั้งต้องมีความเข้าใจเรื่องของระบบการเรียนการสอนแนวใหม่หรือ E-Learning ด้วยว่าจะประยุกต์ให้ควบคู่กับการเรียนการสอนแบบปกติอย่างไร ซึ่งถ้าตรงนี้ผ่านที่เหลือ E-Learning ก็คือขนม

          แต่ที่ผ่านๆ มา E-Learning ในระบบการศึกษาไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเพราะเรื่องของนโยบายการนำ E-Learning มาใช้ไม่ชัดเจนมากกว่า ทำครึ่งๆ กลางๆ ซึ่งระบบ E-Learning ที่ดีนั้นต้องประกอบไปด้วยคนซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อน ต้องมีการกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน มีแผนการดำเนินงานที่ถูกต้องตามขั้นตอน ที่เหลือก็ร่วมมือร่วมใจ เพียงเท่านี้ E-Learning ก็สำเร็จแล้ว ไม่ยากและไม่ง่ายอย่างที่คิด

ไปเรื่องอื่นๆ http://gotoknow.org/blog/xxl/toc

 

คำสำคัญ (Tags): #computer education#e-learning
หมายเลขบันทึก: 145313เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2007 18:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท