The World Is Flat


ใครว่าโลกกลม

The World Is Flat

          จากหนึ่งในหนังสือที่ขายดีที่สุดในโลกประจำปี 2005 – 2006 รองจากนวนิยายแห่งสหัสวรรษอย่างแฮรี่ พ็อตเตอร์ หรืออีกชื่อหนึ่งในภาษาไทยคือ “ใครว่าโลกกลม” เป็นผลงานการเขียนของ Thomas L. Friedman นักหนังสือพิมพ์ที่ทรงอิทธิพลและมีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก เคยได้รับรางวัลพูลิตเชอร์สามครั้งจากข้อเขียนในหนังสือพิมพ์ The New York Times

          The World Is Flat เป็นหนังสือที่ว่าด้วยโลกที่แบนราบ ในด้านของการแข่งขันในระดับเศรษฐกิจและมหภาค ที่ทำลายทุกกำแพงที่ขวางกั้นรวมถึงอุปสรรคในด้านต่างๆ ทั้งด้านระยะทาง เวลาที่แตกต่างกันในแต่ละซีกโลก วัฒนธรรมองค์กร สังคมและอื่นๆ ด้วยการเชื่อมโลกทั้งใบเข้าหากันด้วยระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ

          ความจริง The World Is Flat ผมเคยได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้มาแล้ว เมื่อตอนที่รับฟังบรรยายในวิชา Customer Behavior ในระดับชั้นปริญญาโทสาขาการตลาด แต่ตอนนั้นผมได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ในแง่มุมของนักการตลาดที่วิเคราะห์ในด้าน
ของห่วงโซ่อุปทานกับ Case ของ Wall-Mart ซึ่งพอเมื่อเวลาผ่านไป เมื่อเร็วๆ นี้ผมได้ยินเรื่องราวของ The World Is Flat อีกครั้งจากแง่มุมของนักเศรษฐศาสตร์ที่วิเคราะห์ว่าในอนาคตอีก 2-3 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร เมื่อการค้าขายในปัจจุบันรวมถึงในอนาคตเราจะไม่เพียงแข่งขันกันกับผู้ผลิตและผู้จำหน่ายในภูมิภาคเท่านั้น แต่เราจะต้องแข่งขันกับคนทั้งโลกโดยเฉพาะคู่แข่งรายสำคัญที่กำลังเป็น Key Player ของโลกอย่างจีนและประเทศที่กำลังไล่ตามเราอย่างติดๆ คือเวียดนาม

          สำหรับบทความอย่าง IT Snapshot ซึ่งเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ IT ซึ่งเมื่อผมได้มีโอกาสนำเอาหนังสือเล่มนี้กลับมาอ่านอย่างพิจารณาอีกครั้ง ทำให้เกิดความคิดว่าหนังสือ The World Is Flat เล่มนี้ที่นักวิชาการ นักการตลาด นักเศรษฐศาสตร์และใครๆ ต่อใครหยิบเอาไปพูดถึง ควรจะเป็นหนังสือสามัญประจำบ้านที่คนไอทีที่ทุกๆ คนควรรีบหามาอ่านตั้งแต่เดี๋ยวนี้ และถึงแม้ว่าหนังสือจะเขียนมาตั้งแต่ปี 2005 แต่เนื้อหายังคงทันสมัยไม่ตกยุคและอาจจะใช้ได้ต่อไปอีก 2-3 ปีข้างหน้า เพราะเนื้อหาได้กล่าวถึงการ Outsourcing ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน โดยงานประเภทซอพต์แวร์ การโค้ดดิ้งโปรแกรม การวิเคราห์ระบบงานไอทีต่างๆ ได้ Outsource ไปยังประเทศอินเดียในเมืองบังกาลอร์ซึ่งเป็นเมืองที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น Silicon Valley แห่งเอเชียแล้วทั้งนั้น งานด้าน ERP Supply Chain Service และ Support เท่านั้นที่ยังเติบโตและเป็นที่ต้องการอยู่  ซึ่งคาดว่าอีกไม่นานก็คงจะ Outsource ออกไปอีกเช่นกันเมื่อทุกอย่างเข้าที่และระบบสามารถทำ Workflow ได้อย่างเต็มรูปแบบ หรือ กว่าครึ่งเป็นผลผลิตจากเมืองบังกาลอร์ ซึ่งคนที่อยู่ในวงการไอทีและคอมพิวเตอร์คงพอทราบกันอยู่แล้วว่ามีการจ้างคนที่เกี่ยวข้อง
กับการวิเคราห์ระบบงานเข้าไปทำงานในอินเดียเป็นจำนวนมาก ซึ่งพอมาเทียบกับการจ้างงานในบ้านเราในปัจจุบันคงเหลือแต่เพียงงาน Routine

          ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี XML, dot Net หรือ Web Service ต่างก็เป็นเครื่องมือที่นักคอมพิวเตอร์ใช้เพื่อเชื่อมโยงโลกเข้าหากัน ในวันนี้อาจจะดูเหมือนไกลแต่ความจริงแล้วโลกทั้งใบมันอยู่ตรงหน้าคุณนี่เองครับ

ไปเรื่องอื่นๆ http://gotoknow.org/blog/xxl/toc

 

คำสำคัญ (Tags): #it#management#outsource#computer
หมายเลขบันทึก: 145305เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2007 18:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท