การฏิรูปการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา


การปฏิรูปการศึกษา

บทความเรื่อง การปฏิรูปการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา

  การปฏิรูปการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา

 

 

บทบาทของพ่อแม่กับการพัฒนาการศึกษาของลูก

          บทบาทของพ่อแม่กับการพัฒนาการศึกษาของลูกนั้น ดร.เจือจันทร์ จงสถิตอยู่ กรรมการบริหาร สปศ. ได้กล่าวถึงปัจจัย 2 ประการที่จะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นและส่งเสริมให้การเข้ามามีส่วนร่วมทางการศึกษาของพ่อแม่ผู้ปกครอง มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง ดังนี้

          1. การเข้าไปมีส่วนร่วมเป็น "กรรมการสถานศึกษา" โดยความร่วมมือกันของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้แทนชุมชน รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่นให้เข้ามาเป็นกรรมการร่วมกันในการสร้างนโยบายต่างๆ เพื่อสนับสนุนรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนแบบใหม่ตามที่ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติได้กำหนดไว้

 



ดร.เจือจันทร์ จงสถิตอยู่


          2. ผู้ปกครองและครูต้องรู้ถึงสิทธิและบทบาทหน้าที่ของตนเอง อย่าก้าวก่ายในหน้าที่ของแต่ละฝ่าย พ่อแม่ต้องเข้าใจบทบาทของตนเองว่าจะให้ความร่วมมือกับโรงเรียนอย่างไรเพื่อให้ลูกเกิดการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ ส่วนครูก็ต้องเข้าใจพ่อแม่ ผู้ปกครอง เข้าใจเด็กนักเรียนและเปิดทางให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันขึ้น เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของเด็กนักเรียนอันเป็นจุดหมายปลายทางที่ตั้งไว้ร่วมกัน

          ทั้งนี้กลุ่มผู้ปกครองอาจรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างเครือข่ายของตนเองขึ้น เพื่อสนับสนุนในการทำงานของกรรมการสถานศึกษา เช่นส่งตัวแทนของเครือข่ายเข้าไปเป็นกรรมการสถานศึกษาหรือส่งเรื่องรามข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับเด็กนักเรียนให้กรรมการสถานศึกษารับทราบ ซึ่งการสร้างเครือข่ายนี้จะให้ประโยชน์ในแง่ของการดำเนินงานของกรรมการ อาจได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครอง ชุมชนรอบข้าง หรือศิษย์เก่า ตามความถนัดหรือสารอาชีพของแต่ละคน เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ให้มากที่สุด
ดร. เจือจันทร์ยังกล่าวว่า ในการสร้างเครือข่ายนั้น ถ้าหากเกิดขึ้นมาจากกลุ่มของพ่อแม่ ผู้ปกครองที่ตระหนักในหน้าที่ของตนแล้ว เครือข่ายนั้นจะมีความเข้มแข็งใกล้ชิดสนิทสนมกันและประสบความสำเร็จมากกว่าเครือข่ายที่จัดตั้งขึ้น

 


 

" หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน " ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ต้องเข้าใจให้ดี

ชุมชนมีบทบาทในการกำหนดหลักสูตร

          โดยเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น การเรียนการสอนจึงไม่จำเป็นต้องมาเรียนที่โรงเรียนอย่างเดียว อาจเป็นวิธีการเรียนการสอนนอกห้องเรียน การเรียนแบบโฮมสคูล หรือเรียนนอกระบบการศึกษา เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ และสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน

          ดังนั้น หลักสูตรใหม่นี้จะต้องทำความเข้าใจกับตัวนักเรียนและผู้ปกครอง โดยเฉพาะผู้ปกครองจะต้องเข้าใจว่า ต่อไปนี้การเรียนของเด็กนั้นไม่ได้อยู่แค่การส่งลูกไปโรงเรียนอย่างเดียวแต่ผู้ปกครองจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เช่น หากพ่อ แม่ มีความรู้ความชำนาญทางด้านใดก็ตาม อาจเข้ามาเป็นวิทยากรในการให้ความรู้แก่ชุมชนและนักเรียน

 



หลักสูตรใหม่นักเรียนต้องเป็นส่วนกลาง

          การเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้าส่วนร่วมในการเรียนการกำหนดหลักสูตรนั้น จะมีกรรมการโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยครู ผู้ปกครอง ผู้นำท้องถิ่น และผู้มีความรู้แขนงต่างๆ บางคนอาจทำกิจกรรมของตนเองโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่ออนุรักษ์ให้เยาวชนได้เรียนรู้และศึกษาถึงความเป็นมาและวิถีความเป็นไทย ก็สามารถสร้างงานและปลูกฝังให้เด็กรักท้องถิ่นและห่วงแหนซึ่งวัฒนธรรมที่เข้ามีอยู่ได้ นี่คือแหล่งความรู้ที่ชนชนสามารถเข้ามามีบทบาทร่วมกับโรงเรียน

โรงเรียน / ครู

          โรงเรียนจะต้องบริหารหลักสูตรโดยแบ่งสัดส่วนระหว่างภาคทฤษฎีและปฎิบัติให้เหมาะสม ซึ่งในหลักสูตรใหม่นี้เปิดโอกาสให้มีกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายขึ้น ครูจะหากิจกรรมการเรียนรู้มาเสริมได้อย่างไม่มีข้อจำกัด และในปี 2547 ทบวงมหาวิทยาลัยจะเปลี่ยนแปลงวิธีการสอบวัดความรู้เพื่อเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา หรือการเอ็นทรานซ์

           ครูจะต้องดูแลเด็กตัวต่อตัว เน้นระบบแนะแนวเพื่อจะได้รู้ว่าจะสอนเด็กในวิชาเดียวกันแต่ละคนอย่างไร เมื่อครูรู้จักเป็นรายคนแล้วอาจจะสามารถจัดกลุ่มเด็กๆ ที่มีความสามารถในการเรียนรู้ในระดับเดียวกันแล้วสอนได้ในชั่วโมงวิชาเดี่ยวกันนั้น เด็กบางกลุ่มเรียนอ่อนต้องให้คำอธิบายเป็นพิเศษหรือต้องค่อยๆเรียน หรือบางกลุ่มที่เรียนรู้เร็ว ครูอาจนำงานที่ยากขึ้นหรือโจทย์ที่ยากขึ้นมาให้เขาเรียน พร้อมกันนั้นนายประพัฒน์พงษ์ ย้ำว่า หลักสูตรใหม่ไม่สามารถทำให้เด็กมีความรู้มากมาย แต่ สิ่งที่หลักสูตรใหม่ไม่สามารถทำให้เด็กมีความรู้มากมาย แต่ สิ่งที่หลักสูตรใหม่ต้องการให้เกิดขึ้น คือเด็กๆ รู้จักวิธีหาความรู้ด้วยตนเอง การเรียนในหลักสูตรใหม่ คือการฝึกหาคำตอบ ทำอย่างไรถึงจะรู้ อาจจะถามหรืออ่านหนังสือ เปิดอินเตอร์เน็ต ดังนั้น เด็กๆ ต้องหัดตั้งคำถาม หัดหาคำตอบ ด้วยวิธี ต่างๆ ส่วนพ่อ แม่ ผู้ปกครองช่วยเตรียมตัวได้ด้วยการกระตุ้นให้เด็กตั้งคำถามและคิด โดยตอบเมื่อเขาถาม และถามให้เขาตอบ รวมถึงการแนะนำแหล่งเรียนรู้ให้กับเขาให้เขารู้จักแยกแยะข้อมูลที่ถูกและผิด

          สิ่งที่สำคัญอย่างเร่งรัด อย่านำเขาไปเปรียบกับใคร เพราะเขาไม่เหมือนใคร เด็กๆ ทุกคนต่างกัน มีความสามารถในการเรียนรู้ต่างกัน เป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องยอมรับ และปล่อยให้เขาได้พัฒนาตามแบบของเขา เมื่อใส่กระบวนการเรียนรู้ให้เขาแล้วโตขึ้นเขาอยากเรียนรู้อะไรก็ทำได้ เพราะเขารู้วิธีแล้ว

การจัดการเรียนรู้

          การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกจากจะมุ่งปลูกฝังด้านปัญญา พัฒนากรคิดของผู้เรียนให้มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณแล้ว ยังมุ่งพัฒนาความสามารถทางอารมณ์ โดยการปลูกฝังให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของตนเอง เข้าใจตนเอง เห็นอกเห็นใจผู้อื่น สามารถแก้ปัญหา หรือข้อขัดแย้งทางอารมณ์ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมเน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยนำกระบวนการเรียนรู้จากกลุ่มสาระเดียวกัน หรือต่างกลุ่มสาระมาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งจัดได้หลายลักษณ์ ดังนี้

          1. การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว ผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้โดยเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่างๆ กับหัวข้อเรื่องที่สอดคล้องกับชีวิติจริงหรือสาระที่กำหนดขึ้นมาเช่นเรื่องสิ่งแวดล้อม น้ำ เป็นต้น ครูสามารถเชื่อมโยงสาระและกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มสาระต่างๆ เช่น การอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ต่างๆ ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะและกระบวนการเรียนรู้ไปแสวงหาความรู้ความจริงจากหัวข้อเรื่องที่กำหนด

          2. การบูรณาการแบบคู่ขนาน มีผู้สอนตั้งแต่สองคนขึ้นไป ร่วมกันจัดการเรียนการสอน โดยอาจยึดหัวข้อเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วบูรณาการเชื่อมโยงแบบคู่ขนาน เช่น ผู้สอนคนหนึ่ง สอนวิทยาศาสตร์ เรื่องเงา ผู้สอนอีกคนอาจสอนคณิตศาสตร์เรื่องการวัดระยะทาง โดยการวัดเงา และคิดคำนวณ ในเรื่องเงา ในช่วงเวลาต่างๆ จัดทำกราฟของเงา ในระยะต่างๆ หรืออีกคนหนึ่งอาจให้ผู้เรียนรู้ศิลปะเรื่องเทคนิคการวาดรูปที่มีเงา

          3. การบูรณาการแบบสหวิทยาการ การบูรณาการในลักษณะนี้ นำเนื้อหาจากหลายกลุ่มสาระมาเชื่อมโยงเพื่อจัดการเรียนรู้ซึ่งโดยทั่วไปผู้สอนมักจัดการเรียนการสอนร่วมกันในเรื่องเดียวกัน เช่น เรื่อง วันสิ่งแวดล้อมของชาติ ผู้สอนภาษาไทยจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนภาษา คำศัพท์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ผู้สอนวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และผู้สอนสุขศึกษาอาจจัดให้จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ

          4. การบูรณาการแบบโครงการ ผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนบูรณาการเป็นโครงการ โดยเน้นผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันสร้างสรรค์โครงการขึ้น โดยใช้เวลาการเรียนต่อเนื่องกันได้หลายชั่วโมง ด้วยการนำเอาชั่วโมงของวิชาต่างๆ ที่ผู้สอนเคยสอนแยกกันนั้นมารวมเป็นเรื่องเดียวกัน มีเป้ามายเดียวกัน ในลักษณะของการสอนเป็นทีม เรียนเป็นทีม ในกรณีที่ต้องการเน้นทักษะบางเรื่องเป็นพิเศษ ผู้สอนสามารถแยกกันสอนได้ เช่น กิจกรรม เข้าค่ายดนตรี กิจกรรมเข้าค่ายภาษาอังกฤษ กิจกรรมเข้าค่ายศิลปะ

หมายเลขบันทึก: 145181เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2007 10:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท