บทความอ่านเล่นเกี่ยวกับแบบจำลองระบบ (๙)


ผู้รู้และมีข้อมูล (ตอนสอง)

เรื่องราวของการพูดคุยกันระหว่างชาวบ้านอ้อยใหม่เกี่ยว กับการเลือกยี่ห้อปุ๋ยเคมีที่จะใช้ในไร่อ้อยในแต่ละปี

การเลือกใช้พันธุ์อ้อยที่จะปลูกตามพื้นที่ต่าง ๆ

การเลือกซื้อยี่ห้อรถจักรยานยนต์ของครัวเรือนเมื่อมีกำลังทรัพย์เพียง พอ หรือมีความสามารถในการส่งผ่อนได้

เหล่านี้เป็นตัวอย่างของการดำเนินกิจกรรมที่ต้องการข้อมูล ข่าวสารและการใช้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น นั้น ในการดำเนินการทั้งสิ้น

ดังนั้นผู้รู้ข้อมูลจึงหมายถึงทุกคนในสังคม เพราะทุกคนใช้ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ในการทำงานทุกด้าน ทุกขณะ และเป็นธรรมชาติที่สุด หลายโอกาสไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเหลือ ใช้เพียงข้อมูลจากประสบการณ์ก็สามารถประกอบกิจกรรมได้ลุล่วง สมบูรณ์


ผู้รู้ข้อมูลบางอาชีพในสังคมอาจจะเห็นชัด บางอาชีพเหมือนหนังสือเดินได้ เช่น นักกฎหมาย ทนายความ ครู-อาจารย์ พระ-นักบวช เป็นต้น แต่เราเริ่มพบเห็นว่ามีอาชีพอื่น ที่มีลักษณะของการเป็นผู้รู้ข้อมูล เพิ่มขึ้นทุกวัน ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้อำนวยการหน่วยงานต่าง ต่าง ผู้จัดการร้านค้าสะดวกซื้อ แม่ค้าในตลาดสดข้างบ้าน คนกลุ่มมีบทบาทมากขึ้น ในสังคมแห่งความรู้ สังคมแห่งการเรียนรู้ ดังนั้นเราต้องเข้าใจว่าผู้รู้ข้อมูลเป็นใคร และเขาทำอะไร ทำได้อย่างไร

ดูตัวอย่างการนำรถไถนาแบบต่าง ต่าง เข้ามาใช้งานในไร่อ้อยของชาวไร่ในบ้านอ้อยใหม่เป็นตัวอย่าง ทำให้เกิดอาชีพอย่างอื่นตามมาอีกหลายอาชีพในหมู่บ้าน เช่น ช่างซ่อมเครื่องยนต์ขนาดเล็ก ช่างทำชิ้นส่วนประกอบ รถยนต์รูปแบบต่าง ต่าง เป็นต้น

ในสำนักงานของหน่วยก็เช่นกันทุกคนคิดว่าเมื่อนำคอมพิวเตอร์พร้อม กับเครื่องพิมพ์เข้ามาจะทำให้ตำแหน่งงานในสำนักงานหายไป แต่ในสภาพจริงกับเป็นการเพิ่มตำแหน่งงานมากขึ้น ดังนั้นความเข้าใจร่วมกันว่าผู้รู้ข้อมูลเป็นใคร อยู่ส่วนไหนของสังคมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก จะได้ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมโดยส่วนรวม

“แล้วเจ้าพวกผู้รู้ข้อมูลแบบหนังสือ หรือ ตำราเดินได้นั้นน่ะ มันช่วยอะไรพวกเราล่ะ ข้าก็ไม่รู้ว่าจะรอไปทำไม เราทำและก็หาทางใช้ข้อมูลเองดีกว่า” ป้ามาถามด้วยน้ำเสียงเนิบ เนิบ

ใบอ้อยก็ครุ่นคิดเรื่องนี้อยู่เช่นกัน จากประสบการณ์ดูเหมือนว่าราชการเก็บข้อมูลเพื่อไว้ใช้งานเอง มากกว่าจะให้ประชาชนใช้ด้วย หรือเพื่อช่วยส่งเสริมให้ ชาวบ้านใช้ข้อมูล

การตอบคำถามของป้ามาจึงไม่เป็นที่พอใจมากนัก ไม่ว่าจะเทียบกับการลงทุนอย่างมากมายในการสร้างระบบเครือข่าย ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงระดับชาติในเกือบทุกวงการก็ว่าได้ การลงทุนเพื่อจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ในครัวเรือนถึงระดับชาติ ดูเหมือนว่าเรายังอยู่ในวังวนของการจัดการความรู้ การจัดการ ฐานข้อมูลเหมือนเดิม เหมือนกับที่ทำงานแล้ว ตั้งแต่ยุคที่มีคอมพิวเตอร์เข้ามาในสังคมในหมู่บ้านอ้อยใหม่

แต่เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่ากิจกรรมการจัดการข้อมูล ให้เป็นข่าวสารและความรู้มีขั้นตอนที่ชัดเจน และต้องทำให้ครบถ้วน จึงจะสำเร็จผล

๑. เริ่ม ด้วยการจัดหมวดหมู่ข้อมูลและความรู้ที่มีอยู่แล้ว

๒. เป็นช่วงการหาวิธีการใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์ เกิดการสร้างกำไร โดยการกำหนดรูปแบบและแนวทางต่าง ต่างกัน

๓. เป็นการสร้างข้อมูล ข่าวสารและความรู้ใหม่เพื่อการประกอบ กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง และ

๔. เป็นการนำความรู้ใหม่ที่ได้ไปใช้งานจริง

“มีแต่เส้นหมี่” เป็นข้อมูลที่เจ๊กเฮงส่งให้แก่ลุงมีนำไปประมวลผล คาดการณ์และตัดสินใจในเวลาเพียงไม่กี่วินาที

ลุงมีสามารถตอบกลับได้ โดยที่ได้ทำการจัดการกับข้อมูล ดังกล่าวอย่างครบถ้วนทั้งสี่ขั้นตอน แบบไม่รู้สึกตัวด้วยซ้ำไป

ดังนั้นการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจเป็นเรื่องของกระบวนการ (process) เป็นเรื่องของระบบ (system) เราต้องช่วยกันประมวล และประยุกต์ใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์มากกว่าวิธีการ กระบวนการเดิม และเป็นเรื่องที่ทุกคนในสังคมต้องร่วมกัน

ผู้รู้ข้อมูลก็คือพวกเราทุกคน ต้องร่วมกันสร้างเครือข่ายทำงานกับชาวไร่ ชาวนา เพื่อการสร้างฐานข้อมูลทรัพยากรการเกษตรร่วมกัน และจะทำให้การใช้งานฐานข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจดำเนิน กิจกรรมการเกษตรอย่างยั่งยืน

==========================>>

  | ๙ | ๑๐

หมายเลขบันทึก: 145055เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2007 18:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
อาจารย์ให้แง่คิดที่ดีครับ ต้องคิดต่อ

สวัสดีครับพี่พิศาล

  • ขอบคุณที่ให้กำลังใจ
  • ลองดูครับ อาจจะเป็นประโยชน์ในวงกว้าง 
  • สวัสดีครับอาจารย์ อาจารย์สบายดีน่ะครับ
  • แบบจำลองระบบ ไม่ทราบว่ามีตอนต่อไปอีกไหมครับ
  • ถ้าอาจารย์มีเวลา โปรดสละเวลา เล่าเรื่องจำลองระบบต่ออีกหน่อยจะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ
  • ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงอาจารย์รักษาสุขภาพด้วยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท