เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน


คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ชื่อเรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการออกแบบวงจรแยกสัญญาณลมแบบแค๊สเคด ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานไฟฟ้ากำลัง ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับการสอนปกติ
ผู้วิจัย ปราการ ผาติสุนทร
ที่ปรึกษางานวิจัย รศ.อินทรชิต หอวิจิตร
สาขางาน ไฟฟ้ากำลัง แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า
วิทยาลัย วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น ปีที่พิมพ์ 2549
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการออกแบบวงจรแยกสัญญาณลมแบบแค๊สเคด ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานไฟฟ้ากำลัง ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับการสอนปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ชั้นปีที่ 3 กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 สาขางานไฟฟ้ากำลัง แผนกวิชาช่างไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (แบบทดสอบหลังเรียน) เป็นข้อคำถามแบบปรนัยชนิด 5 ตัวเลือก จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .30 ถึง .70 มีค่าความยากระหว่าง .30 ถึง .75 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
            1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการออกแบบวงจรแยกสัญญาณลมแบบแค๊สเคด มีประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 86.90/82.53 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ .66
            2. นักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและที่เรียนด้วยวิธีการสอนปกติเรื่องการออกแบบวงจรแยกสัญญาณลมแบบแค๊สเคด มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักศึกษาที่เรียนด้วยวิธีการสอนปกติ
  
TITLE Comparing the Learning Achievement on the Cascade Type Design of the Wind Signal Separation of the Vocation Education Certificate Students, Power Electrical File, between the Computer-assisted and the Normal Methods of Instruction
AUTHOR Prakan Phatisoonton
ADVISOR Associate Professor Intarachit Hovichitr
FILE Power Electrical DEPARTMENT Electrical
COLLEGE Khonkaen Technical College YEAR 2006
ABSTRACT
             The objectives of this research were to develop computer-assisted lessons and to compare the learning achievement on the cascade type design of the wind signal separation of the vocation education certificate students in the power electrical file, between the Computer-assisted and the Normal Methods of Instruction. The research samples were 32 vocation education certificate students, third year, group 1 and group 2, power electrical file, Khonkaen Technical College. The instructions for data collection included Computer-assisted lessons and tests to measure learning achievement (post tests) . The tests consisted of 15 items of objective questions, each with 5 choices, the discrimination power between .30 and .70 , the difficulty value between .30 and .75 , and the reliability value of .80. Mean, standard deviation and t-test were used to analyze the data.
The research findings were as follows:
            1. The effectiveness (E1/E2) of the computer-assisted lessons on the cascade type design of the wind signal separation was 86.90/82.53, and the efficiency index (E.I.) was .66.
             2. The means of learning achievement of students who took computer-assisted lessons and those who took normal lessons on the cascade type design of wind signal separation were different at the .05 level of statistical significance; the students who took computer-assisted lessons enjoyed higher level of learning achievement then those who took normal lessons.
หมายเลขบันทึก: 145040เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2007 17:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท