ครอบครัวเรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง "บ้านเก็ต"


เรียนเพื่อที่จะรู้ อยู่อย่างพอเพียง

บ้านเก็ต ต.วรนคร อ.ปัว จ.น่าน เป็นชุมชนไทลื้ออีกชุมชนหนึ่งที่มีรากฐานทางวัฒนธรรมที่มีมายาวนาน ชุมชนที่นี่มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมภูมิปัญญาของตนเงไว้อย่างเหนียวแน่น การเรียนรู้ครอบครัวก็เป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของคนในชุมชน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครอบครัวเข้มแข็งจึงเป็นไปอย่างคึกคักและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนที่นี่

เวทีเรียนรู้ที่ 1 ครอบครัวเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ (19 พฤษภาคม 2550) 

กลุ่มเป้าหมาย   30 คน

 

วัตถุประสงค์  เพื่อเรียนรู้ถึงวิธีการลดค่าใช้จ่ายในครอบครัว โดย ฝึกการทำน้ำยาเอนกประสงค์เพื่อใช้ในครอบครัว

 

กระบวนการที่ใช้   ใช้กระบวนการกลุ่ม

 เนื้อหาในเวที  แบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงที่ 1 แลกเปลี่ยนวิเคราะห์รายจ่ายที่หมดไปกับสินค้าประเภทน้ำยาเอนกประสงค์ที่ใช้ในครอบครัวเช่น น้ำยาซักผ้า/ปรับผ้านุ่ม/แซมพู/น้ำยาล้างถ้วย

ช่วง 2 ฝึกปฏิบัติในการทำยาเอนกประสงค์ เพื่อใช้ในครอบครัว แบ่งการฝึกเป็นฐาน

ผลจากการเรียนรู้ผ่านเวที

 

ช่วงที่ 1

 

1 .การถกคิดถึงเรื่องค่าใช้จ่ายที่แต่ละครอบครัวหมดไปกับการซื้อน้ำยาเอนกประสงค์ ประเภท แชมพู/ครีมนวด น้ำยาล้างถ้วย น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม สบู่ พบว่า 30 ครอบครัวมีรายจ่าย 2,193 ต่อสัปดาห์ 8,772 ต่อเดือน 105,264 ต่อปี (30 ครอบครัว 3,157,920 บาท)  เพื่อต้องการให้เห็นตัวเลขแล้วนำไปสู่การหาทางลดค่าใช้จ่ายในระดับครัวเรือนต่อไป

 

2. การเรียนรู้ถึงภูมิปัญญาชาวบ้านดั้งเดิมในการทำความสะอาดเสื้อผ้า ร่างกาย ภาชนะในครัวเรือนของคนสมัยก่อน ทำให้ผู้ร่วมได้รับความรู้และสามารถปรับใช้ได้จนถึงปัจจุบันนี้ เช่น มะกูด น้ำซาวข้าว ใบมะเหย้ย ใบหมี่ ครีมนวด น้ำมันมะพร้าว น้ำมันงา ใช้สระนวดผมคุณสมบัติผมดกดำ สะอาด ปลอดภัย หรือ ล้างภาชนะในครัวเรือนขี้เถ่า น้ำดั่ง ทรายใยบวบ

 

3. พบว่า พืช ภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ใช้ในการทำความสะอาดร่างกาย ภาชนะในครัวเรือน เสื้อผ้า ยังหลงเหลืออยู่ในหมู่บ้านเก็ต แกนนำได้เชิญชวนให้ทุกครอบครัวรักษาและหันมาใช้ประโยชน์ บอกลูกหลานให้สืบต่อ

 ช่วงที่ 2

การฝึกปฏิบัติในการทำน้ำยาเอนกประสงค์ เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการลดค่าใช้จ่ายในครอบครัว และเพื่อเป็นกิจกรรมหนึ่งให้คนในครอบครัวมีโอกาสได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

 

 ผลสืบเนื่องจากการทำเวที

 -          ระดับครอบครัว มีครอบครัวแกนนำมากกว่า 5 ครอบครัว

ได้รวมตัวกันทำน้ำยาเอนกประสงค์(ชนิดล้างถ้วย-จาน)แบ่งกันใช้ในครอบครัว

 

-          ระดับกลุ่ม ได้รวมตัวกันผลิตน้ำยาล้างถ้วย-จาน จำหน่าย ขวดละ 10 บาท

 

      - ระดับหมู่บ้าน ผู้ที่ผ่านการอบรมทำน้ำยาเอนกประสงค์จะช่วยกันทำน้ำยาล้างถ้วย-จานให้กับบ้านเจ้าภาพกรณีมีงานในหมู่บ้านเพื่อลดค่าใช้และเป็นการเผยแพร่ความรู้ให้ผู้สนใจอีกวิธีหนึ่ง

 

เวทีที่ 2 เศรษฐกิจพอเพียงสร้างครอบครัวเข้มแข็ง (26 สิงหาคม 2550)

 

กลุ่มเป้าหมาย  วางไว้ 60 คน มา 93 คน

 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียงและการนำไปปรับใช้ในครอบครัว2. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว

3. เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาพื้นบ้าน

 

กระบวนการที่ใช้   กระบวนการเรียนรู้เป็นกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล แลกเปลี่ยนร่วมกัน และนำไปสู่การฝึกปฏิบัติ

 

เนื้อหาในเวที  แบ่งเป็นฐานการเรียนรู้ 3 ฐาน คือ ทำบายศรีสู่ขวัญ , ทำน้ำปู ,ทำน้ำหมักชีวภาพจากกากปู

ผลจากการเรียนรู้ผ่านเวที

 

1. ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของเนื้อหาความรู้แต่ละฐาน ซึ่งไปเกี่ยวข้องกับวิถีความผูกพันวัฒนธรรมการกิน การอยู่ของคนในชุมชน เช่น การทำบายศรีเป็นการทำเพื่อใช้ในงานพิธีมงคล ตลอดถึงการทำเพื่อเชื่อมโยงกับวิถีผูกพันกับธรรมชาติ เสร็จจากนาข้าวแล้วต้องใช้บายศรีสู่ขวัญคน ขวัญควาย  หรือแม้แต่วิถีการกิน น้ำปู๋ อยู่คู่กับคนลื้อเมืองปัวมาเป็นเวลาช้านาน เวทีวันนี้ทำให้เด็ก แม่(วัยรุ่น)ได้มีโอกาสฝึกการทำน้ำปู๋ไว้กินในครอบครัว และสร้างเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัวได้ และที่สำคัญวันนี้ปูคือศัตรูตัวสำคัญที่กัดกินต้นข้าวสามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารของชุมชนได้ใช้ประโยชน์ต่อไป และนอกจากนี้ กากของปูยังสามารถมาผสมกับพืชผักผลไม้ที่เหลือกินมาทำเป็นน้ำหมักชีวภาพลดพืชผักสวนครัวได้อีกทางหนึ่งเพื่อลดต้นทุนและได้กินพืชผักที่ปลอดภัยไร้สารเคมี

 

2. การฝึกปฏิบัติ ผู้เข้าร่วมเวทีแบ่งกลุ่มตามความสนใจเรียนรู้ในฐานที่ทางแกนนำจัดให้เพื่อผู้เข้าร่วมจะได้สัมผัสของจริงและปรับใช้ได้

3.ในระดับครอบครัวกิจกรรมที่จัดในวันนี้สามารถปรับเป็นกิจกรรมใสร้างความสัมพันธ์ให้คนในครอบครัว ได้ทำงานร่วมกันได้ เช่น การทำน้ำปู บทบาทของพ่อลูก คือแรงงานในการตำปู ส่วนแม่นั้นสำคัญต้องอยู่ที่การเคี่ยวน้ำปู

 

4. วันนี้มีเจ้าหน้าฝ่ายส่งเสริมในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัวมาร่วมเวที และให้ความรู้ในมิติของการสร้างสุขภาพคือ ในน้ำปูมีแคลเซียม และมีพืชผักส่วนผสมที่ปลอดภัย ไม่ได้ใช้สารกันปูด แต่ควรทำให้สะอาดที่สุด เก็บไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสมเช่นเก็บในตู้เย็นก็จะยืดอายุการกินได้นาน แต่น้ำปูก็มีผลต่อคนมีโรคประจำตัว เช่น โรคกระเพราะอาหาร โรคข้ออักเสบบางชนิด

 แนวทางการพัฒนาต่อโดยชุมชน 1. การรวมกลุ่มทำน้ำปูเพื่อจำหน่าย (ปัจจุบันราคาน้ำปูกิโลละ 200-300 บาท )2. การพัฒนาคุณภาพของสินค้า /การบรรจุหีบห่อผลิตภัณฑ์

3. การคุยกันของกลุ่มชาวนาในประเด็นการลด ละ เลิก สารเคมีในนาข้าว เพื่อให้ได้ข้าว ปู และพืชอาหารอื่นที่ปลอดจากสารเคมี

                  กระบวนการเรียนรู้ทำให้สามารถนำไปปรับใช้ในครอบครัวได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญสร้างสายสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและชุมชนในการเข้ามาทำกิจกรรมร่วมกัน และเรียนรู้กันและกันมากขึ้น

อนงค์  อินแสง กองเลขานุการโครงการครอบครัวเข้มแข็ง จังหวัดน่าน  เล่าความ

หมายเลขบันทึก: 145024เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2007 16:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 16:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท