เวทีเรียนรู้ครอบครัวเข้มแข็ง "บ้านดอนแก้ว"


ครอบครัวเรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง

            ชุมชนบ้านดอนแก้ว ต.วรนคร อ.ปัว เป็นชุมชนไทลื้อ ที่มีดำรงรักษาวัฒนธรรมประเพณีและภาษาของตนเองไว้อย่างเหนียวแน่น การสร้างการเรียนรู้ครอบครัวผ่านวิถีชีวิต วัฒนธรรม และความเป็นอยู่ของตนเอง ในปีนี้ ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน 2 เวที คือ

เวทีที่ 1 เรียนรู้การทำอาหารปลาอัดเม็ด (12 พฤษภาคม 2550)

 

กลุ่มเป้าหมาย  30 ครอบครัวที่มีสระเลี้ยงปลา

 วัตถุประสงค์ 1. ส่งเสริมกลุ่มเลี้ยงปลาให้มีความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาและทำอาหารปลาไว้ใช้เองในครอบครัวลดค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารปลา

2.เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีอาหารไว้บริโภคในครัวเรือนและเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว

 

กระบวนการที่ใช้  

1.ระดมความคิดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเลี้ยงปลาของแต่ละครอบครัว

2. แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการทำอาหารปลาอัดเม็ด

 เนื้อหาในเวที  ช่วงที่ 1 ระดมความเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเลี้ยงปลาในสระแต่ละครอบครัว

ช่วงที่ 2 ฝึกปฏิบัติการทำอาหารปลาอัดเม็ดจากเศษวัชพืช-สัตว์

ผลจากการเรียนรู้ผ่านเวที

 

1. ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนกระบวนการเลี้ยงปลาของแต่ละครอบครัว ที่ผ่านจะเลี้ยงปลาในบ่อดิน ใช้มูลสัตว์เช่นมูลวัว ควาย ปูนขาวใส่เพื่อปรับสภาพดิน ชนิดปลาที่เลี้ยง ปลานิล ปลาเพี้ยง ปลายี่สก ปลานวลจันทร์ ปลาดุก อาหารที่นำมาให้ปลา บางครอบครัวก็ซื้ออาหารเม็ดมาให้ บ้างก็ให้รำอ่อน ผักต่าง ๆ ตัดหญ้าริมสระโยนให้ปลากิน ปัญหาที่พบ น้ำเน่าเสีย สระไม่มีระบบระบายน้ำ ปลาเป็นโรค งูมากินปลา ปลาโตช้า

 

2. ผลจากการลงมือปฏิบัติฝึกทำอาหารปลาอัดเม็ด แบ่งกลุ่มผู้ร่วมเรียนรู้ได้ช่วยกันทำอาหารปลา ในครั้งนี้มีส่วนผสมที่หาจากท้องถิ่นทั้งหมด เช่นหอยเชอรี่(จากศัตรูข้าวเป็นอาหารปลา) กากน้ำตาล รำอ่อน เกลือ และเครื่องบดอาหารให้ละเอียดและเครื่องอัดเม็ด เพื่ออัดอาหารเป็นเม็ด เพื่อนำไปผึ่งลมให้แห้งและนำไปให้ปลา

 

การติดตามครอบครัวเป้าหมายหลังจัดเวที

 

1. การนำความรู้ไปปรับใช้ในครอบครัวของตนเอง เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารปลา ซึ่งจากการติดตามครอบครัวเป้าหมายหลังจากอบรม พบว่ามี 1 ครอบครัวที่ทำอาหารปลาเองในครอบครัว คือครอบครัว จสอ.พนม เนตรทิพย์ และเปิดพื้นที่บ้านตนเองเป็นสถานที่เรียนรู้ให้ครอบครัวอื่นมาทำอาหารปลาไว้ใช้เองได้ และปรับประยุกต์วิธีการให้เหมาะสม เช่น หาวิธีทำให้อาหารเก็บได้นาน ,ทำน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เอง เป็นต้น

 

2. แกนนำครอบครัวได้ขอการสนับสนุนเครื่องบดอาหารจาก อบต.วรนคร ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงาน

   เวทีที่ 2  ครอบครัวเรียนรู้มุ่งสู่เศรษฐกิจพอเพียง  (2 กันยายน 2550)

กลุ่มเป้าหมาย  60 คน มาร่วมเวทีจริง 83 คน

 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียงและการนำไปปรับใช้ในครอบครัว2. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว

3. เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาพื้นบ้าน

 

กระบวนการที่ใช้   ใช้กระบวนการเรียนรู้เป็นกลุ่ม พ่อ แม่ ลูก แบ่งการเรียนรู้ออกเป็นฐานเรียนรู้

 เนื้อหาในเวที  เป็นเนื้อหาที่เป็นวิถีการกินของคนในชุมชน วันนี้เลือก 3 เนื้อหา โดยแบ่งเป็น ฐานที่ 1 คือ เรื่องการทำอาหารพื้นบ้านแกงแค,น้ำพริกอ่อง ฐานที่ 2 การทำขนมเทียนแก้ว

ฐานที่ 3 แมลงศรัตรูในนาข้าว

ผลจากการเรียนรู้ผ่านเวที

 

1. แบ่งการเรียนรู้ออกเป็นฐานการ ฐานที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มเด็กและแม่คือ ฐานการทำอาหารและขนม ซึ่งการทำขนมได้ปรับจากขนมเทียนธรรมดาที่ชาวบ้านกินเป็นประจำ มาเป็นขนมเทียนแก้ว ซึ่งจะทำให้เด็กให้ความสนใจและน่ากิน 2 ฐานนี้จึงปรับกระบวนเป็นการเรียนแบบเวียนฐาน ส่วนฐานที่ 3 คือฐานเรื่องศรัตรูในนาข้าว กลุ่มที่ให้ความสนใจคือกลุ่มพ่อบ้าน

 

2. พบว่ามีกลุ่มผู้ที่สนใจเข้าร่วมเรียนรู้ฐานศัตรูในนาข้าวจำนวนหนึ่งซึ่งไม่ใช้กลุ่มเป้าหมายที่แกนนำเชิญมาร่วม จึงกลายเป็นเวทีเปิดให้คนสนใจเข้าร่วมเรียนรู้ด้วยกัน  ฐานนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ชายที่ให้ความสนใจมากกว่าผู้หญิง การเรียนรู้วิทยากรคือคุณสำรวย  ผัดผลได้พาลงไปแปลงนาที่ได้รับผลกระทบจากศรัตรู แมลงบั่วและเพลี้ยงไฟ เก็บตัวอย่างต้นข้าว ศรัตรูของข้าว เรียนรู้จากของจริง

 3. ขยายความรู้ในการจัดเวทีครั้งนี้ผ่านคลื่น 101.25MHz สถานีวิทยุ

วรนคร อ.ปัว

 

ผลสืบเนื่องจากการทำเวที

 

1. ในระดับชุมชนได้หารือร่วมกันเพื่อรวมตัวไปศึกษาเรื่องการคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนโจ้โก้ และปรับใช้ในพื้นที่แถบตำบลวรนครต่อไปโดยเชื่อมโยงกับสายงานเครือข่ายเกษตรมูลนิธิฮักเมืองน่าน   (ตุลาคม ศึกษาดูงานการคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ต.เมืองจัง)

 

2. เกิดการวางแผนร่วมกันของกลุ่มชาวนาในการป้องกันศรัตรูข้าวเช่น บั่ว เพลี้ยงไฟ กันทั้งโล่งนา โดยไม่ใช้สารเคมีเป็นตัวปราบ แต่จะใช้วิธีการดูแลตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ ต้นกล้า ตลอดระยะการเจริญเติบโตของข้าวอย่างต่อเนื่องและใส่ใจ

ผลแห่งการเรียนรู้ทำให้ครอบครัวได้มีกิจกรรมทำร่วมกัน รู้จักคิด รู้จักฟัง และรู้จักปรับตัวเข้าหากัน ช่วยกันนำพาครอบครัวไปสู่ความมีเหตุผล พอประมาณ และมีภูมิคุ้มกันทางสังคมร่วมกัน

 อนงค์  อินแสง  กองเลขานุการโครงการครอบครัวเข้มแข็งจังหวัดน่าน เล่าความ

หมายเลขบันทึก: 145020เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2007 16:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากรู้สูตรวิธีการทำขนมเทียนแก้วจะดูได้จากที่ไหนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท