การปฏิรูปการศึกษา


แก่นการปฏิรูป
แก่นการปฎิรูปการศึกษา การจัดการศึกษาต้องเป็นไป เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้ ในหมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 6 กล่าวไว้ว่า " การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทย ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข" ความในมาตรานี้ ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าการจัดการการศึกษานั้นเพื่อปวงชนชาวไทยทุกคน คนไทยทุกคนจะมีการพัฒนาในทางที่พึงประสงค์ ในทางที่มีคุณภาพและมีความสุขโดยทั่วหน้ากัน การพัฒนาดังกล่าวจะมีกระบวนการที่ต่อเนื่องไม่สิ้นสุดโดยสังคมมีส่วนร่วมดังใจความในมาตรา ที่ 8 ที่กล่าวไว้ว่า "การจัดการศึกษาให้ยึดหลักการ ดังนี้ 1. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน 2. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 3. การพัมนาสาระ และกระบวนการการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง" ในส่วนกระบวนการเรียนรู้ได้กล่าวไว้ในมาตรา 7 ว่า ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข รู้จักและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงการจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการการจัดการการศึกษาไว้ในมาตรา 9 ดังนี้ 1. มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฎิบัติ

2. มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

3. มีการกำหนดมาตราฐานการศึกษาและจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ และประเภทการศึกษา 4. มีหลักการส่งเสริมมาตราฐานวิชาชีพครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครูคณาจารยืและบุคคลทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง 5. ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา 6. การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่นๆ การปฎิรูปการศึกษาของไทยตามความมุ่งหมายและหลักการ อันกล่าวไว้ในหมวดที่ 1 บททั่วไปของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จึงเป็นไปเพื่อปวงชนชาวไทยโดย สังคมและประชาชนคนไทยทุกคนที่มีส่วนร่วม  

 
หมายเลขบันทึก: 144955เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2007 11:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พัฒนาการศึกษาของโรงเรียนให้ดีขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท