กิจกรรม Journal Club ครั้งที่ 1/2551


กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ของคณาจารย์ในการฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ และ การนำเสนอผลวิจัยระดับชาติและนานาชาติ

กิจกรรม  Journal Club ครั้งที่ 1/2551 


       หน่วยสนับสนุนงานวิจัย ได้จัดกิจกรรม Journal Club ครั้งที่1/2551 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน 2550 เวลา 11.30 - 13.30 น. ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของคณาจารย์ในการฝึกอบรม ณ  ต่างประเทศ และ การนำเสนอผลงานวิจัยทั้งในระดับชาติและนานาชาติ  โดย  ผศ.ดร.อรทัย  ตั้งวรสิทธิชัย , อาจารย์กนกวรรณ  ศรีสุภรกรกุล , ดร.วันวิสาข์  บุญเลิศ , อาจารย์ภัสสุรีย์  ชีพสุมนต์  และ อาจารย์ธันยวีร์  เพ็งแป้น  กิจกรรมฯครั้งนี้มีคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังอย่างมากมาย ซึ่งสรุปได้ดังนี้

 

ประสบการณ์ในการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ  
             การส่งผลงานสิทธิบัตรการประดิษฐ์เข้าประกวด ใน“โครงการประกวดผลงานสิทธิบัตรการประดิษฐ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา  5 ธันวาคม 2550  ซึ่งผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นหรือต่อยอดให้ดีขึ้นจากเดิม แบ่งออกเป็น 4 สาขา คือ พลังงาน , สิ่งแวดล้อม,สุขภาพ และ เกษตรหรืออุตสาหกรรมการเกษตร  

            และในปีการศึกษา 2550 คณะสหเวชศาสตร์มีอาจารย์ที่สนใจร่วมส่งผลงานเข้าประกวดและได้รับคัดเลือกให้นำผลงานไปจัดแสดงที่ กทม. (สยามพารากอน) จำนวน 2 ผลงาน คือ ผศ.ดร.อรทัย ตั้งวรสิทธิชัย (อาจารย์ประจำภาควิชาเทคนิคการแพทย์)   เรื่อง ชุดตรวจฮีโมโกลบินอีด้วย DEAE-Sepharose Microcofumn และ อ.กนกวรรณ  ศรีสุภรกรกุล (อาจารย์ประจำภาควิชากายภาพบำบัด) เรื่อง การประดิษฐ์เครื่องมือยืดกล้ามเนื้อรยางค์แขนเพื่อลดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อแขนในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก (ได้รับทุนจากเครือข่ายการวิจัยภาคเหนือตอนล่าง) ในสาขาสุขภาพ .

             สำหรับเกณฑ์การตัดสินจะเน้นในเรื่อง ผลงานการประดิษฐ์ต้องใหม่หรือต่อยอด , เศรษฐกิจพอเพียง , แนวโน้มในการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ /อุตสาหกรรม และ ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 
            จำนวนรางวัลแต่ละสาขามี 3 รางวัล คือ
            1.รางวัลเหรียญทอง พร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท  2.รางวัลเหรียญเงิน พร้อมเงินรางวัล   60,000 บาท   3.รางวัลเหรียญทองแดงพร้อมเงินรางวัล 40,000  บาท

รายละเอียด คลิก

 

ประสบการณ์ไปนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ระดับนานาชาติ 

            อาจารย์ภัสสุรีย์  ชีพสมุนต์ อาจารย์ประจำภาควิชารังสีเทคนิค ได้ไปนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ เรื่อง การประดิษฐ์อุปกรณ์ยึดจับคาสเซทสำหรับงานทางรังสีวิทยา (The Invention of Cassette Holder Used in Radiology)  ในงานประชุม 15 th Asian conference of radiologists  November 19th - 23rd , 2005 เมือง Makuhri Japan  ซึ่งจัดโดย The Japan Association of Radiological Technologists ซึ่งการไปประชุมครั้งนี้ได้รับข่าวสารจากสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย และได้ทำการสมัคร หลังจากได้แบบตอบรับให้ไปนำเสนอก็ต้องมีการเตรียมตัวก่อนไป จัดเตรียมเอกสารพาสปอร์ตและวีซ่า  (กรณีถ้ามีพาสปอร์ตเล่มน้ำเงิน ไม่ต้องวีซ่า) ให้ครบถ้วน นอกจากการไปนำเสนอครั้งนี้ก็ยังได้ไปดูงานที่โรงพยาบาลอีกด้วย การประชุมครั้งนี้ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น  สำหรับค่าใช้ในการเดินทางต่างๆ นั้น ต้องรับผิดชอบเองทั้งหมด  เนื่องจากในขณะนั้นคณะยังไม่มีประกาศหรือระเบียบรองรับ **ปัจจุบันงานวิจัยเรื่องนี้ได้รับการจดอนุสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาเรียบร้อยแล้ว

ประสบการณ์ไปนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ระดับนานาชาติ และ การประชุมวิชาการต่างประเทศ

             ดร.วันวิสาข์  บุญเลิศ  อาจารย์ประจำภาควิชาเทคนิคการแพทย์  ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การนำเสนอผลงานวิชาการต่างประเทศ ในรูปแบบโปสเตอร์ ในงานประชุมวิชาการ "The 17th  IFCC-FESCC European Congress of Clinical Chemistry and Laboratory Medicine" ณ เมือง Amsterdam ประเทศ Netherlands (www.ams2007.org/res.php ***เอกสารประกอบการสมัคร : จดหมายแนะนำตัว, ประวัติ , โปสเตอร์ที่จะไปนำเสนอ  การประชุมครั้งนี้เขาให้สิทธิ์ในการลดค่าลงทะเบียนให้กับนักวิจัยที่มีอยู่ไม่เกิน 35 ปี    นอกจากจะได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานแล้ว ดร.วันวิสาข์  บุญเลิศ ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานและเยี่ยมชมนิทรรศการ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ ด้วย ในการจัดแสดงผลงานโปสเตอร์ ทางผู้จัดจะกำหนดเวลาในการติดและถอดโปสเตอร์ไว้ ซึ่งผู้นำเสนอต้องทำให้ตรงเวลาที่กำหนด

           การประชุมวิชาการประจำปี "The American Association in Clinical Chemistry 2007" July 15-19, 2007  ณ เมือง San Diego มลรัฐ California ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะจัดประชุมปีละ 1 ครั้ง เพื่อเป็นการ update  เรื่อง Clinical Lab Expo , Point-of-Care และได้ไปศึกษาดูงานที่ มหาวิทยาลัยCalifornia  รวมทั้งเยี่ยมชมที่โรงพยาบาลในมหาวิทยาลัยด้วย (Hospital Main Entrance)   ซึ่งได้ดูเกี่ยวกับ การเก็บข้อมูล สถิติวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบใหม่ การนำไปใช้   ซึ่งที่นี้จะเน้นการประเมินเครื่องมือมากกว่าซึ่งจะต่างจากที่เมืองไทย   **สำหรับการเดินทาง : กรณีเบิกตั๋วเครื่องบินต้องทำหนังสือขอคู่เทียบราคาจากการบินไทยล่วงหน้าเพราะต้องใช้เป็นเอกสารแนบเบิก ที่อเมริกา ถ้าเรามีพาสปอร์ตเล่มน้ำเงินก็ไม่ต้องทำวีซ่า  และที่สำคัญต้องขอหนังสือรับรองจากงานวิเทศของมหาวิทยาลัยว่า เราได้มาเข้าร่วมประชุมวันที่เท่าไหร่  ค่าที่พักและค่าเดินทางออกเอง คณะช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายตามสิทธิ์การไปอบรมฯ วงเงินไม่เกิน 15,000 บ.  

ประสบการณ์ไปฝึกอบรม ณ ประเทศแคนนาดา

               อาจารย์ธันยวีร์  เพ็งแป้น อาจารย์ประจำภาควิชารังสีเทคนิค ได้ไปฝึกอบรม เรื่อง Low Energy Electron Induced Damage to DNA และทำวิจัยร่วมด้วย  ณ Department and Radiobiology, Universite De Sherbrooke เมืองควิเบก ประเทศแคนนาดา เป็นระยะเวลาเกือบ 4 เดือน การเดินทางไปยัง เมืองควิเบก ค่อนข้างไกลและใช้เวลานาน ภาษาหลักที่ใช้เป็นภาษาฝรั่งเศส และภาษาอังกฤษ  สำหรับนักเรียนต่างชาติ จะต้องไปเรียนภาษาฝรั่ง จำนวน 1 คอร์ส  สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  www.usherbrooke.ca 

                สภาพอากาศหนาวมากมีหิมะตก ผู้คนใจดีเป็นมิตรสำหรับทุนที่ได้รับในการไปอบรมครั้งนี้เขาจะให้เป็นเงินเดือน ค่าเดินทางต่างๆ ต้องออกเองทั้งหมด  ในส่วนของคณะอาจารย์สามารถใช้เงินตามสิทธิ์การไปอบรมฯ วงเงินไม่เกิน 15,000 บ.ได้ และเบิกค่าวีซ่าได้อี่ก 5,000 บาท

     สรุปภาพรวมการจัดกิจกรรม Journal Club จากแบบ AAR

 สิ่งที่ท่านคาดหวังในการกิจกรรมครั้งนี้ : 

           1. ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์ในการไปนำเสนอผลงาน หรือ ไปอบรม ณ ต่างประเทศ 

           2. ทราบขั้นตอนต่างๆ ในการเตรียมตัวก่อนไปต่างประเทศ

           3. ได้รับฟังประสบการณ์และวิธีการไปนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับ International  ในรูปแบบโปสเตอร์

           4. ได้รับทราบแนวทางในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

สิ่งที่ท่านได้เกินความหวังในการกิจกรรมครั้งนี้ : 

            1. ได้ทราบวิธีการติดต่อเพื่อไปนำเสนอผลงานวิจัย และการเข้าอบรมในต่างประเทศ

            2.  การประกวดผลงานการประดิษฐ์

            3.  ได้ความรู้และข้อมูลใหม่ๆ ประกอบการไปศึกษาต่อในต่างประเทศ

            4. ได้รับทราบประสบการณ์การฝึกอบรม ภูมิประเทศ/อากาศ/วัฒนธรรม และการใช้ชีวิตในต่างประเทศ

            5. ข้อแนะนำที่ควรปฏิบัติในการเดินทาง

            6.  ทราบบรรยากาศในการนำเสนอผลงาน

            7.  ทราบข้อมูลของการทำวีซ่า

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 144774เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2007 13:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท