การจัดการความรู้ในสถานศึกษา 15


การศึกษาไทยเรา อยู่บนเส้นทางใด มองสิงคโปร์ ชำเหลืองดูเวียตนาม เหลียวหลังหันกลับมาดูอินโดจีน!!!

 การศึกษาไทยเรา อยู่บนเส้นทางใด!!!

ได้อ่านข้อเขียนเรื่อง "ความตายซากของการศึกษาไทย"
โดย วิษณุ บุญมารัตน์ อาจารย์พิเศษเศรษฐศาสตร์การเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ (ศูนย์กรุงเทพ)
แปลกใจว่าทำไมการศึกษาของไทยเราเป็นอย่างนี้จริงหรือ ถ้าเนะป็นจริงก็นับว่าน่ากลัวครับสำหรับวงการศึกษาบ้านเรา

ขออนุญาตท่านอาจารย์วิษณุ บุญมารัตน์ อาจารย์พิเศษเศรษฐศาสตร์การเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ (ศูนย์กรุงเทพ) ที่นำบทความบางส่วนมานำเสนอกัน

1.ภาษาอังกฤษ โลกยุคการสื่อสารไร้พรมแดนหรือโลกยุคโลกาภิวัตน์ ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางที่สำคัญในการศึกษา แต่ภาพรวมของไทย คนไทยยังใช้ภาษาอังกฤษได้ไม่ดีนัก หลายคนที่จบปริญญาเอกโดยเฉพาะปริญญาเอกในประเทศ หรืออาจารย์บางท่านที่มีตำแหน่งถึง รศ.ดร.ยังไม่สามารถอ่านภาษาอังกฤษได้คล่องหรือพูดได้ดีนัก ผิดกันกับเมื่อก่อนนี้ผู้ที่จบปริญญาเอกจะจบการศึกษาจากต่างประเทศและจะต้องมีความรู้ภาษาที่สามนอกเหนือจากภาษาอังกฤษด้วย นับเป็นการถอยหลังเข้าคลองของการศึกษาไทยประการแรก

2.คณิตศาสตร์ การศึกษาด้านคณิตศาสตร์ของไทยอ่อนด้อยลงทุกวัน ผู้เขียนสังเกตได้จากอาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏบางคน รวมทั้งนักศึกษาที่เรียนในวิชาของผู้เขียน หลายคนไม่สามารถคำนวณตัวเลขง่ายๆ ได้ ผู้เขียนเห็นว่าสาเหตุเริ่มมาตั้งแต่การศึกษาในระดับประถม และมัธยม ที่ปล่อยให้เด็กสอบผ่านอย่างง่ายดายเพราะนโยบายของโรงเรียนที่ไม่ต้องการให้เด็กตกในวิชาใดๆ ดังนั้น เมื่อเด็กเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยทำให้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ไม่ดี

3.คอมพิวเตอร์ ในยุคปัจจุบันคอมพิวเตอร์นับเป็นส่วนสำคัญในการเข้าถึงฐานข้อมูลความรู้ต่างๆ ได้สะดวกและรวดเร็วที่สุด แต่การศึกษาไทยกลับไม่ใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ให้ถูกทาง แทนที่จะเน้นการให้บริการข้อมูลทางการศึกษา การค้นคว้า วิจัย

มหาวิทยาลัยบางแห่งกลับเน้นที่การขายคอมพิวเตอร์ให้ได้กำไรมากกว่าโดยรวมเข้ากับค่าเทอมและให้เหตุผลว่าเป็นการเรียนการสอนแบบ e-learning ทั้งๆ ที่ระบบข้อมูลต่างๆ และบุคลากรที่จะรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวยังไม่มีความพร้อม นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของขบวนการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายทางการศึกษา คือ เป็นการโกงเงินนักศึกษาแบบถูกกฎหมาย

4.ประวัติศาสตร์ การสอนประวัติศาสตร์ในสถานศึกษายังคงเน้นเรื่องการท่องจำปี พ.ศ.การเกิดเหตุการณ์ มากกว่าจะสอนให้รู้จักการวิพากษ์เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ ที่ร้ายไปกว่านั้นบางแห่งไม่มีการสอนประวัติศาสตร์แล้วด้วยซ้ำ ในเรื่องนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงห่วงใยการสอนวิชาประวัติศาสตร์ของไทยเป็นอย่างยิ่ง

5.คุณธรรมจริยธรรม การศึกษาของไทยไม่ได้สอนเรื่องคุณธรรมจริยธรรมอย่างแท้จริง มีเพียงการสอนตามหลักสูตร แต่ไม่มีการสอนภาคปฏิบัติให้กับนักศึกษา หนำซ้ำอาจารย์ที่สอนวิชานี้บางท่านกลับไม่เป็นตัวอย่างการปฏิบัติตามคุณธรรมจริยธรรมเสียเอง มีการแย่งชิงผลประโยชน์ระหว่างอาจารย์ผู้สอนด้วยกัน ผิดลูกเมียชาวบ้าน เป็นข่าวคราวไปทั่ว

6.คุณภาพอาจารย์ ปัจจุบันคุณภาพอาจารย์ตกต่ำลงมาก อาจารย์ราชภัฏบางแห่งมาจากนักการเมืองที่เรียนแบบ "จ่ายครบจบแน่" แล้วมาสมัครเป็นอาจารย์ไปสอนตามศูนย์การศึกษาต่างๆ ทั้งที่มีความรู้ไม่มากนักแต่ต้องการสร้างคุณวุฒิให้กับตนเองก่อนจะลงสมัครหาเสียงเลือกตั้ง

แล้วอย่างนี้คงถึงคราวที่รมต.ศึกษา และนักการศึกษาบ้านเราต้องไปดูงานที่ประเทศลาว พม่า และเขมรกันบ้างแล้วกระมัง

ลองแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ และมุมมองดูครับ

หมายเลขบันทึก: 144597เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2007 16:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
แสดงว่าถ้ารมต. หรือ นักการศึกษาไทยเราไปดูงานที่ลาว อนาคตทางการศึกษาของไทยเราต่อไปจะต้องตามหลังลาวซิครับ หรือยังครับ เพราะเวลานี้เราดูงานสิงคโปร์ เกาหลี ออสเตรีย เพราะต้องการพัฒนาให้ได้อย่างเค้า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท