10 วิดีโอคลิป (video clip) การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ 3 พ.ย. 2550


นี่คือ วิดีโอคลิปที่บันทึกภาพบรรยากาศและเสียงในช่วงต่างๆของงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ซึ่งเป็นการนำเสนอข้อมูลในแบบมัลติมีเดีย ที่ได้อรรถรสเสมือนจริง

ในช่วงของการสัมมนาครั้งนี้ ท่าน รศ.ดร.ประสิทธิ์ ประคองศรี ได้มอบหมายให้นายบอนช่วยถ่ายวิดีโอบันทึกบรรยากาศการสัมมนาครั้งนี้ด้วยกล้องวิดีโอ Handycam ของท่าน นายบอนจึงทั้งชาร์ทแบตเตอรี่ และตามบันทึกวิดีโอในหลายช่วงเวลาเก็บไว้

แต่สำหรับคลิปวิดีโอที่นำมาเผยแพร่ในที่แห่งนี้ เป็นคลิปวิดีโอที่บันทึกด้วยกล้องดิจิตอลตัวจิ๋วของนายบอนเอง ตามขีดความสามารถและกำลังของแบตเตอรี่ที่มี ผสานกับเทคนิคทางคอมพิวเตอร์ ทำให้บันทึกคลิปวิดีโอ จำนวน 10 คลิปที่เห็นต่อไปนี้

ความจริงแล้ว นายบอนอยากจะนำไฟล์วิดีโอในกล้องวิดีโอของท่าน รศ.ดร.ประสิทธิ์ ประคองศรี มาเผยแพร่เพื่อให้ผู้สนใจ ได้รับฟังเนื้อหาสาระความรู้ในประเด็นการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ   แต่ข้อมูลที่ได้จากการสัมมนาครั้งนี้ จะได้ถูกนำมา สรุปและนำไปขยายผลต่อไป ซึ่งสามารถติดตามสอบถาม ข่าวสารข้อมูลได้ทาง http://wnec.kku.ac.th

มาดูคลิปวิดีโอกันบ้าง

 

 

บรรยากาศก่อนเริ่มการสัมมนาในช่วง 8 โมงเช้า ท่าน ดร.ประสิทธิ์ เข้าไปพูดคุยทักทายในแบบกันเอง ด้วยภาษาพื้นบ้าน อีสาน กับชาวบ้านกลุ่มแรกที่มาร่วมงานตัว ในขณะที่อีกมุมหนึ่งของห้อง คุณธีรยุทธ อุดมพร กำลังเตรียมข้อมูลใน Notebook  เช่นเดียวกับท่านดร.ยรรยงค์ , ท่าน ดร.แสวง ที่ทำงานกับ Notebook ตรงหน้า ซึ่งจะเห็นภาพนี้ เกือบตลอดการสัมมนาทั้งวัน และมีภาพบรรยากาศที่ชาวบ้านเริ่มทยอยมามากขึ้น และคุณธีรยุทธ ในบทบาทพิธีกรดำเนินรายการ กล่าวต้อนรับผู้มาร่วมงานสัมมนาครั้งนี้

 

การบรรยายให้ความรู้ในประเด็นของการจัดการน้ำ โดย ดร.ประสิทธิ์ และ ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง
"....เรายากจนครับ เงินในท้องพระคลัง แทบจะไม่มีถ้าจะทำอะไร กู้อย่างเดียว..
ในเดือน กุมภา-มีนา ปีหน้า จะจัดการประชุมเรื่องน้ำนะครับ มี 4 ประเทศ ......"

 


ในช่วงการถอดบทเรียน ซึ่งได้เชิญหัวหน้ากลุ่มขึ้นเวทีมาเล่าประสบการณ์การจัดการน้ำของแต่ละพื้นที่ (ลุ่มน้ำชีตอนล่าง / ตอนบน)
มี ดร.แสวง รวยสูงเนิน ดำเนินการในช่วงนี้

"..........ก็เลยมาใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นว่าจะทำอย่างไร น้ำฝนที่ตกลงมา เราจะนำเอามาใช้ทำการเกษตรได้... ก็เลยคิดว่า ทำฝาย..ไว้ เอากระสอบดินมาปิดไว้เป็นช่วงๆ......"

"............เราจะเห็นภาพของการบูรณาการที่ธรรมชาติเข้ามาพยุง ดูแลชุมชน และพัฒนาชุมชนให้ดูแลตัวเองได้ และพัฒนาแหล่งน้ำ จัดการแหล่งน้ำ ไม่ให้เกิดการแก่งแย่งกัน ทำให้ได้ประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย........"

ช่วงของการแนะนำทีมงานนิสิตปริญญาเอก - โท จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส. นำโดย คุณธีรยุทธ อุดมพร ที่ทำหน้าที่เป็นพิธีกร คุณไผ่, คุณเปี้ย- ปิยะ คุณทิพย์วิภา คุณเปี๊ยก, คุณนก-อรทัย, คุณบอย สราวุธ , อ.ยุพเยาว์ จาก ราชภัฏสุรินทร์, คุณปูเป้ , คุณลักขณา, คุณเจมส์ ,คุณธวัชชัย ซึ่งมีการแนะนำในแบบเป็นกันเอง เป็นอีกสีสันหนึ่งของงานนี้


บรรยากาศการประชุมกลุ่มย่อย กลุ่มที่คุณธีรยุทธและคุณไผ่ เป็นวิทยากร ประจำกลุ่ม ซึ่งสมาชิกกลุ่มได้ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ กระตุ้นการมีส่วนร่วมของสมาชิกอย่างทั่วถึง


บรรยากาศการประชุมกลุ่มย่อยที่ระเบียงชั้น 3 กลุ่มของ อ.ยุพเยาว์เป็นวิทยากร ประจำกลุ่ม  ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสีสัน ใช้ทั้งภาษากลาง และภาษาอีสาน สมาชิกในกลุ่มแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่... บรรยากาศการอภิปรายเป็นแบบสบายๆ มีทั้งยืนและนั่งแสดงความคิดเห็น

 

 



การนำเสนอในที่ประชุมใหญ่ หลังจากที่ได้ประเด็นต่างๆจากการระดมสมองแล้ว ซึ่งทำให้มองเห็นภูมิปัญญาการจัดการน้ำที่หลากหลาย เช่นในคลิปวิดีโอนี้ ได้มีการกล่าวถึงคณะกรรมการจัดสรรน้ำ ของหมู่บ้าน...


ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง ให้ข้อคิดต่อที่ประชุมในช่วงท้ายๆของ ประชุมสัมมนา
".........จะบูรณาการทุนปัญญาต่างๆเหล่านี้ได้อย่างไร อย่างที่เรามาคุยกันในวันนี้ โดยจะกรุยเส้นทางเข้าไปสู่ช่องงบประมาณต่างๆเป็นต้นนะครับ และที่สำคัญ ศูนย์ฯ จัดการน้ำ ของ ดร.ประสิทธิ์นี้ จะมีความสำคัญอย่างยิ่งในเชิงของการจัดการน้ำแบบบูรณาการในชนบท.................."

ผอ. มานะ "......การบอกจุดแข็ง ๆมากเท่าไหร่ นั่นคือ การที่ได้แก้ปัญหาไปแล้ว จุดแข็ง คือ ส่วนที่ได้แก้ไขไป..."


ดร.แสวง รวยสูงเนิน กล่าวในช่วงท้ายของการสัมมนา
".....ประเด็นที่ผมเก็บได้ในครั้งนี้ ประเด็นแรกคือ ประเด็นเชิงองค์ประกอบของตัวน้ำเอง  ในเรื่องของปริมาณและคุณภาพน้ำ เรื่องการขาดแคลน คุณภาพน้ำไม่ตรงตามคุณภาพที่ต้องการ  ประเด็นการจัดการองค์กร การประสานประโยชน์กัน  บางแห่งยังมองชุดความรู้ที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหาไม่ออก  ดูเหมือนว่าบางจุดไม่มีองค์ความรู้พอที่จะแก้ไขปัญหาในพื้นที่ของตัวเอง......"

 

 


ดร.ประสิทธิ์ กล่าวปิดท้าย
".............จะรวบรวมข้อมูลในการสัมมนาครั้งนี้.จัดทำรายงานและส่งกลับไปให้หัวหน้าคณะทั้ง 6 กลุ่มที่มาในวันนี้ กิจกรรมที่ 2 คณะผู้จัดประชุมนี้ จะนำข้อมูล ความคิด ความเห็น ประเด็นปัญหา มาดูว่า ปัญหาใด กิจกรรมใดที่เราจะต้องเอาหลักการการจัดการน้ำแบบบูรณาการมาใส่ เพื่อการพัฒนาต่อไป ..พัฒนาแผนงานโครงการ เพื่อนำเสนอเข้าสู่แหล่งทุนสนับสนุน..........................."

"......แผนงานโครงการใดที่เรารู้สภาพปัญหา รู้อาการของปัญหา รู้สาเหตุของปัญหา พากเรามาช่วยกันเขียนแผนงานเขียนโครงการ  ทีมงานยินดีเป็นผู้ช่วยให้ จะพยายามเป็นนายอำนวย ไม่ใช่นายอำนาจ ให้ชาวบ้านทุกท่านเป็นนายสำเร็จ ..........."

"...............ปัญหาใด ที่รู้อาการ รู้ระดับความรุนแรง รู้สาเหตุ ก็จะพากันทำโครงการ
ปัญหาใดก็ตาม เรารู้อาการ แต่ยังไม่รู้สาเหตุที่ชัดเจน ต้องขอศึกษาวิเคราะห์วิจัยกันต่อไปว่า เกิดจากสาเหตุใด........................"

"..................แนวทาง เราต้องจัดหลักการบูรณาการปัญหาต่างๆที่เกิดมากมายในเชิงพื้นที่ นำมาแก้ปัญหา ถ้าประเด็นใดทำได้พร้อมกัน ก็ทำ อันไหนต้องรออันอื่นทำเสร็จก่อน ก็ต้องรอ ต้องเรียงลำดับ  แต่จะต้องไปพร้อมๆกัน เพราะปัญหามันเกี่ยวโยงกัน อันนี้เป็นการบูรณาการอันหนึ่ง  บูรณาการอันที่สอง ต้องบูรณาการทรัพยากรที่ใช้ในการแก้ปัญหา ทรัพยากรมีสองอย่าง คือ ทรัพยากรภายใน ภายในชุมชน ภายในตนเอง  เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความรู้ความสามารถประสบการณ์ , เงิน, คน, วัสดุ อุปกรณ์ กับทรัพยากรภายนอก คือ นายอำนวย มีวิชาการแผนใหม่ เทคนิคเทคโนโลยีแผนใหม่ที่จะเติมเข้าไปแบบเข้ากันพอดี, เจ้าหน้าที่, งบประมาณ, เครื่องไม้เครื่องมือ ............................."






 

หมายเลขบันทึก: 144357เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2007 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 13:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท