โครงงานคณิตศาสตร์


คณิตศาสตร์

โครงงาน

ชื่อโครงงาน              หลายเหลี่ยม  หลายมุม

ระดับชั้น                  ประถมศึกษาตอนปลาย

ชื่อผู้ทำโครงงาน

                        เด็กหญิงอุบลวรรณ             แสงสุวรรณ

                        เด็กหญิงปรภาว์                 ประเสริฐทิพย์ชัย

                        เด็กชายศุภฤกษ์                 ปั้นคุ้ม

วันเดือนปีที่จัดทำ     26  พฤศจิกายน  2544 15 มกราคม 2545

ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน

                        คุณครูพวงเพ็ญ                     วัฒนสุนทร

                        คุณครูเพชราพร                    พันธ์สุวรรณ

                        คุณครูสุรีรัตน์                        แก้วเต๋จ๊ะ

โรงเรียนนีรชาศึกษา

59/80-81 ถนนพระยาสุเรนทร์ แขวงบางชัน  เขตคลองสามวา  กรุงเทพฯ

โทร. 02- 5182202 3  โทรสาร  02- 5182204

บทคัดย่อ

ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องรูปสามเหลี่ยม ซึ่งมีมุมภายในรวมกันเท่ากับ 180 องศา และรูปเหลี่ยม

มีมุมภายในรวมกันเท่ากับ 360 องศา จึงเกิดข้อสงสัยว่าถ้าเป็นรูปห้าเหลี่ยม รูปหกเหลี่ยม รูปเจ็ดเหลี่ยม

 รูปแปดเหลี่ยม รูปเก้าเหลี่ยม และรูปสิบเหลี่ยม มุมภายในของรูปเหลี่ยมต่าง ๆ จะเพิ่มขึ้นครั้งละ 180

 องศาหรือไม่ จึงได้ทำการทดลองออกแบบสร้างรูปเหลี่ยมต่าง ๆ แล้ววัดมุมภายในของรูปเหลี่ยมต่าง

 ๆ ผลจากการทดลองปรากฏว่า รูปห้าเหลี่ยมมีมุมภายในรวมกันเท่ากับ 720 องศา รูปเจ็ดเหลี่ยม มีมุม

ภายในรวมกันเท่ากับ 900 องศา รูปหกเหลี่ยมมีมุมภายในรวมกันเท่ากับ 1,080 องศา รูปเก้าเหลี่ยมมี

มุมภายในรวมกันเท่ากับ 1,260 องศา และรูปสิบเหลี่ยมมีมุมภายในรวมกัน เท่ากับ 1,440 องศา

            จากการทดลองทำโครงงานคณิตศาสตร์เรื่องหลายเหลี่ยม หลายมุม ทำให้ได้ข้อสรุปว่า รูป

เหลี่ยมที่เพิ่มขึ้น 1 ด้าน จะมีขนาดของมุมภายในเพิ่มขึ้นครั้งละ 180 องศา และความสัมพันธ์ระหว่าง

ด้านของรูปเหลี่ยมที่เพิ่มขึ้นกับขนาดของมุมภายในของรูปเหลี่ยมนั้น ๆ หาได้จาก (
n-2)  x 180 องศา

ที่มาของโครงงาน

โครงงานคณิตศาสตร์  เรื่อง  หลายเหลี่ยม หลายมุม เกิดขึ้นเนื่องจากการเรียนวิชาคณิตศาสตร์

เรื่องมุมภายในของรูปสามเหลี่ยมต่างๆ รวมกันจะเท่ากับ 180 องศา และมุมภายในของรูปสี่เหลี่ยมต่างๆ

 รวมกันจะเท่ากับ  360 องศา จากการตั้งข้อสังเกตว่ามุมภายในของรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมมี

ขนาดต่างกัน เท่ากับ 180 องศา ถ้าเป็นรูปห้าเหลี่ยมจะมีภายในต่างจากรูปสี่เหลี่ยม 180 องศา หรือไม่

 คือจะมีมุมภายในเท่ากับมุมภายในของรูปสี่เหลี่ยมเพิ่มขึ้นอีก 180 องศา รวมเป็น 540 องศา หรือไม่

 และรูปหกเหลี่ยม เจ็ดเหลี่ยม แปดเหลี่ยม เก้าเหลี่ยม และสิบเหลี่ยม จะมีมุมภายในรวมกันเพิ่มขึ้นครั้ง

ละ 180 องศา ต่อการเพิ่มด้านของรูปเหลี่ยม 1 ด้าน ทุกครั้งจริงหรือไม่ จึงเป็นแรงกระตุ้นให้คณะผู้จัด

ทำโครงงานทั้งสามคนสนใจ ใคร่ศึกษาทดลองเพื่อหาข้อเท็จจริงถึงความสัมพันธ์ระหว่างด้านของรูป

เหลี่ยมที่เพิ่มขึ้นกับมุมภายในของรูปเหลี่ยมนั้นๆ
 

จุดประสงค์การทำโครงงาน

          เพื่อทดลองออกแบบสร้างรูปเหลี่ยมชนิดต่างๆ และศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างด้านของรูป

เหลี่ยมที่เพิ่มขึ้นกับขนาดของมุมภายในของรูปเหลี่ยมนั้น ๆ
 

เนื้อหาคณิตศาสตร์

1.      รูปสามเหลี่ยม

            มุมภายในของรูปสามเหลี่ยม รวมกันได้สองมุมฉากหรือเท่ากับ 180 องศา

2.      รูปสี่เหลี่ยม

            มุมภายในของรูปสี่เหลี่ยม รวมกันได้เท่ากับ 360 องศา

3.      รูปหลายเหลี่ยม

            การหาขนาดของมุมภายในของรูปสามเหลี่ยมหาได้โดย แบ่งรูปหลายเหลี่ยมเป็นสาม
            
             
เหลี่ยมหลาย ๆ รูป

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1.      หามุมภายในรูปสามเหลี่ยม โดยวิธีทดลอง

2.      หามุมภายในรูปสี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หกเหลี่ยม เจ็ดเหลี่ยม แปดเหลี่ยม เก้าเหลี่ยม สิบ

     เหลี่ยม โดยอาศัยรูปสามเหลี่ยม

3.      สังเกตผลจากข้อ 2 และสรุปผล 

ผลการดำเนินงาน

                   สรุปการหาผลรวมของมุมภายในรูปหลายเหลี่ยมชนิดต่างๆ  

จำนวนเหลี่ยม(n) จำนวนรูปสามเหลี่ยมที่แบ่งได้ ผลรวมของมุมภายใน
สามเหลี่ยม 1 1 x 180  = 180
สี่เหลี่ยม 2 2 x 180  = 360
ห้าเหลี่ยม 3 3 x 180  = 540
หกเหลี่ยม 4 4 x 180  = 720
เจ็ดเหลี่ยม 5 5 x 180  = 900
แปดเหลี่ยม 6 6 x 180  = 1,080
เก้าเหลี่ยม 7 7 x 180  = 1,260
สิบเหลี่ยม 8 8 x 180  = 1,440

             จากการสังเกตพบว่า จำนวนรูปสามเหลี่ยมที่แบ่งได้จะมีจำนวนน้อยกว่าจำนวนเหลี่ยมอยู่ 2 

 ดังนั้นมุมภายในรูป
เหลี่ยม
จะได้ ( n – 2 ) x 180 

สรุปและอภิปรายผล

            การทำโครงงานคณิตศาสตร์เรื่อง หลายเหลี่ยม หลายมุม  ทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับ

การสร้างรูปเหลี่ยมชนิดต่างๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประยุกต์ในการสร้างแบบ
pattern
ต่างๆ ได้ และเข้า

ใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างด้านของรูปเหลี่ยมที่เพิ่มขึ้นกับมุมภายในของรูปเหลี่ยมว่า รูปใด ๆ ก็ตามสา

มารถแบ่งเป็นสามเหลี่ยมย่อย ๆ ได้ ซึ่งก็จะได้ผลรวมของมุมภายในเท่ากับจำนวนสามเหลี่ยมที่แบ่งได้

นอกจากนี้ยังทำให้ทราบว่ารูปเหลี่ยมใด ๆ ก็ตาม เมื่อแบ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมจะได้จำนวนของรูปสามเหลี่

ยมน้อยกว่าจำนวนเหลี่ยมของรูปนั้นอยู่ 2 เสมอ ซึ่งสามรถทำให้สรุปเป็นสูตรในการคำนวณหามุมภายใน

ของรูปเหลี่ยมใด ๆ ได้ คือ
 

            สรุปมุมภายในรูป n เหลี่ยม = ( n-2) x 180 

คำสำคัญ (Tags): #สายลม
หมายเลขบันทึก: 144316เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2007 13:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท