ภารกิจเพาะหว่านเมล็ดพันธ์แห่งคุณธรรม จริยธรรมและความดีงาม โดย ธีระ เงินแก้ว
ธีระ ภารกิจเพาะหว่านเมล็ดพันธ์แห่งคุณธรรม จริยธรรมและความดีงาม โดย ธีระ เงินแก้ว เงินแก้ว

สังคมไทย สังคมแห่งการอ่าน (ตอนที่ ๒)


สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการอ่าน

โรงเรียน : สังคมการอ่านอย่างต่อเนื่อง
          หลังจากได้รับการปูพื้นฐานอุปนิสัยรักการอ่านมาจากบ้าน เมื่อเด็กมาโรงเรียนเขาควรได้รับการส่งเสริมเรื่องการอ่าน อย่างต่อเนื่อง ดังนี้
          
ครูอาจารย์เป็นแบบอย่าง  เช่นเดียวกับที่เด็กมีพ่อแม่เป็นแบบอย่างในการอ่านที่บ้าน หากนักเรียนเห็นครูอาจารย์ที่ตน ชื่นชอบอ่านหนังสือ เด็กจะรู้สึกคล้อยตาม แต่ในทางตรงข้าม หากครูอาจารย์แทบไม่เคยหยิบหนังสือขึ้นมาอ่านให้เห็น เป็นเรื่อง ยากที่จะปลูกฝังให้ลูกศิษย์รักการอ่านได้ ในเมื่อครูเองก็ไม่อ่าน
          ห้องสมุดโรงเรียน  มีหนังสือหลากหลายประเภทให้นักเรียนเลือกอ่านตามวัยและความสนใจของเขา ไม่ใช่มีแต่หนังสือเรียน สารานุกรม หรือหนังสือวิชาการเพียงอย่างเดียว เพราะเด็กแต่ละคนมีความสนใจไม่เหมือนกัน อาทิ เรื่องสั้น นวนิยาย ประเภทต่างๆ สารคดี หนังสือแปล วรรณกรรมเยาวชน แฟนตาซี บทกวี บทละคร หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร และหนังสือ คู่มือ รวมไปถึงชั้นหรือตู้หนังสือตามจุดต่างๆ ในโรงเรียน
          กิจกรรมเสริมการอ่าน  ใช่ว่าเด็กทุกคนจะได้รับการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านมาจากบ้าน บางครอบครัวพ่อแม่ไม่ใช่นัก อ่าน ไม่เคยอ่านหนังสือให้ลูกเห็น โรงเรียนจึงมีบทบาทสำคัญมากในการพัฒนาเด็กกลุ่มนี้ (น่าจะเป็นกลุ่มใหญ่ในบ้านเรา) ให้ หันมารักการอ่านโดยไม่รู้สึกว่าถูกบังคับ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านขึ้นในโรงเรียนเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยสร้างบรรยากาศแห่งการอ่าน กระตุ้นและชักจูงใจให้เด็กกลุ่มนี้สนใจอ่านหนังสือมากขึ้น เช่น แข่งขันตอบคำถามจากการอ่าน จัดงานสัปดาห์ แห่งการอ่าน จัดเวทีให้แลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องหนังสือในดวงใจเชิญนักเขียนที่นักเรียนชื่นชอบมาพูดคุยที่โรงเรียน เป็นต้น
          นายอมร  เฉลิมศรี  อาจารย์วิชาภาษาไทยระดับมัธยมปลาย โรงเรียนเบตง (วีระราษฎรประสาท) จังหวัดยะลา เจ้าของ รางวัลโรงเรียนส่งเสริมการอ่านดีเด่น กล่าวถึงวิธีส่งเสริมการอ่านในโรงเรียนว่า ได้จัดตั้งชมรมรักการอ่านขึ้นและจัดประกวด ยอดนักอ่านในแต่ละเดือน โดยให้อ่านเรื่องสั้นแล้วสรุปเป็นบันทึกรักการอ่านเทอมละ 10 เล่ม จัดแรลลี่รักการอ่านโดยให้เด็กจับ กลุ่มทีมละ 5 คน แล้วอ่านหนังสือให้ได้ 80 เล่มภายใน 1 เทอม จากนั้นครูและนักเรียนจะร่วมกันประเมินเพื่อตัดสินให้รางวัล
          ด้านนางสุกัญญา  เกียรติคุณ  อาจารย์บรรณารักษ์ ประจำโรงเรียนพูลตาหลวงวิทยา จังหวัดชลบุรี ที่ได้รับรางวัลโรง เรียนส่งเสริมการอ่านดีเด่นเช่นกันกล่าวว่า โรงเรียนจัดชุมนุมรักการอ่านขึ้นทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี เช่น แรลลี่สารานุกรม แข่งขันตอบคำถามจากหนังสือ การเล่านิทาน แข่งขันเปิดพจนานุกรม โดยทุกกิจกรรมจะมีของขวัญหรือของรางวัลให้เด็กด้วย เพื่อจูงใจให้เด็กรู้สึกสนุกที่จะอ่าน ซึ่งผลจากการจัดกิจกรรมทำให้เด็กสนใจอ่านหนังสือ เข้าห้องสมุด และยืมหนังสือมากขึ้น
          นายจิระเดช  เหมือนสมาน  อาจารย์วิชาภาษาไทย โรงเรียนวัดทองเพลง เขตคลองสาน กรุงเทพฯ ครูส่งเสริมการอ่านดี เด่น มีเทคนิคให้เด็กรักการอ่านด้วยการเล่านิทานให้เด็กเล็กๆ ฟัง ส่วนเด็กโตจะทำรายงานเรื่องต่างๆ เพื่อให้นักเรียนเข้าไปค้น คว้าหาความรู้ในห้องสมุด มีมุมหนังสือในห้องเรียนทุกห้องไว้ให้เด็กๆ ส่วนช่วงพักกลางวัน นักเรียนในโครงการส่งเสริมการ อ่านจะนำกระเช้าความรู้ที่บรรจุหนังสือหลากหลายประเภทเดินไปตามจุดต่างๆ ทั่วโรงเรียน เพื่อให้เพื่อนนักเรียนเลือกอ่าน
          กิจกรรมเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างการส่งเสริมการอ่านในโรงเรียนที่กระตุ้นให้เด็กนักเรียนเข้าห้องสมุดหรือหยิบหนังสือ ขึ้นมาอ่าน โดยเฉพาะนักเรียนกลุ่มที่ไม่ได้รับการปูพื้นฐานการอ่านมาจากครอบครัว ซึ่งโรงเรียนไม่ควรละเลยเพราะสำหรับเด็ก เหล่านี้แล้ว แม้จะจัดห้องสมุดไว้ดีมีหนังสือหลากหลายเพียงใด หากไม่มีการกระตุ้นให้เขาเดินเข้าไปหาหนังสือเหล่านั้น ห้อง สมุดก็มีบทบาทเพียงห้องเก็บหรือแสดงหนังสือเท่านั้น

          เรียบเรียงจาก  เส้นทางสู่นักอ่าน  โดย  นันทิยา   ตันศรีเจริญ  สานปฏิรูป ปีที่6 ฉบับที่ 59 กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2546

หมายเลขบันทึก: 144235เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2007 00:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท