นอร์เวย์ช่วย 30 ล้านฟื้นฟูการทำประมง


นอร์เวย์สนับสนุนงบประมาณ ช่วยเหลือฟื้นฟูด้านการทำประมงให้แก่ผู้ประสบภัยนามิจำนวนกว่า 30 ล้านบาทวันนี้ (1 ก.พ.) ที่โรงแรมวรบุรี ภูเก็ต รีสอร์ท แอนด์สปา อ.เมือง จ.ภูเก็ต
นอร์เวย์ช่วย 30 ล้านฟื้นฟูการทำประมง
ศูนย์ข่าวภูเก็ต - นอร์เวย์สนับสนุนงบประมาณ ช่วยเหลือฟื้นฟูด้านการทำประมงให้แก่ผู้ประสบภัยนามิจำนวนกว่า 30 ล้านบาทวันนี้ (1 ก.พ.) ที่โรงแรมวรบุรี ภูเก็ต รีสอร์ท แอนด์สปา อ.เมือง จ.ภูเก็ต  ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ รองอธิบดีกรมประมง เป็นประธานเปิดการสัมมนาการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนโครงการ สำหรับผู้ประกอบอาชีพประมง หลังเกิดภัยพิบัติ (Post – Tsunami Aquaculture Workshop) เพื่อศึกษาสถานที่สภาพแวดล้อม และโครงการพัฒนาอาชีพประมงในพื้นที่เกิดภัยพิบัติ อบรมให้ความรู้เผยแพร่ข้อมูล และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งกรมประมงจัดขึ้นภายใต้การสนับสนุนของกรมประมงประเทศนอร์เวย์ ซึ่งมีการจัดตั้งโครงการเพื่อศึกษาวิจัยทางทะเลโดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อการวิจัยทางทะเลภายหลังจากเกิดภัยพิบัติธรรมชาติ มีผู้เชี่ยวชาญที่สนใจผู้ประกอบอาชีพประมง (FAO and NACA) ตัวแทนจากประเทศต่างๆ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า เวียดนาม เป็นต้น ตัวแทนจากรัฐบาลไทย ตัวแทนจากธนาคารเพื่อการเกษตร ตัวแทนจากองค์กรของรัฐบาลนอร์เวย์ ซึ่งนำผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากหน่วยงาน IMR.NIVA และผู้แทนนอร์เวย์จากสาขาอื่นๆ เข้าร่วมประเด็นที่มีการสัมมนา ประกอบด้วย ผลการดำเนินงาน และประเมินผลจากการดำรงชีพของประมงในอุตสาหกรรมในประเทศไทย โดยเน้นในพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติ และได้เสนอโครงการ และแผนงานเพื่อการพัฒนา แก้ไขปัญหา และการให้ความช่วยเหลือ และให้ความรู้สำหรับการประกอบอาชีพประมง รวมถึงรับฟังปัญหาและความคิดเห็น จากผู้เข้าร่วมสัมมนา เพื่อการประกอบการพิจารณาทุนช่วยเหลือ การนำเสนอแนวคิดจากเหตุการณ์ที่เกิดภัยพิบัตินอกจากนี้ จะมีการนำเสนอแหล่งพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากคลื่นยักษ์สึนามิ แหล่งพื้นที่ทำการเกษตร การประเมินค่าของเทคโนโลยี ชนิดของพืชและสัตว์ในแหล่งพื้นที่ที่สามารถทำการเกษตร และกฎหมายที่ครอบคลุมถึงการทำอาชีพประมง สิ่งแวดล้อมทางทะเลโดยเฉพาะปลา รวมถึงแหล่งเงินทุนและมุมมองทางการตลาดการสัมมนาในครั้งนี้ จะทำให้ได้รายงานการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ที่เกิดคลื่นยักษ์สึนามิเพื่อการพัฒนาในอนาคต อีกทั้งยังให้ความช่วยเหลือวางแผนในจุดยุทธศาสตร์ให้กับผู้ที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านต่างๆ อีกทั้งยังมีการจัดเตรียม เนื้อหาในการประเมินแหล่งทรัพยากรทางทะเล ที่อาศัยอยู่รอบๆ และให้ความร่วมมือสนับสนุนโครงการแก่ผู้ประกอบอาชีพประมงอย่างไรก็ตาม นานาชาติได้มีการจัดแผนงานสนับสนุนให้ความช่วยเหลือพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2548 เป็นระยะเวลา 10 เดือน และได้มีหน่วยงานขององค์กรเอกชนเข้ามาช่วยเหลือในส่วนของท้องถิ่นให้กับผู้ประสบภัย โดยการนำทักษะความรู้ความสามารถเข้ามาใช้ และสนับสนุนในประเทศไทย รวมถึงประเทศใกล้เคียง และมีผู้ประกอบอาชีพประมง ได้รับผลกระทบจำนวนประมาณ 27,000 รายรัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นไปประมาณ 3,000 ราย โดยได้จัดหาเครื่องมือที่ทันสมัยในทางการเกษตร และประมง พร้อมกับได้วางแผนในระยะกลาง ได้มีการศึกษาสถานที่และสภาพแวดล้อม รวมทั้งความต้องการในอนาคตดร.สมหญิง กล่าวว่า ในส่วนของงบประมาณที่รัฐบาลสวีเดน ให้การสนับสนุนในการจัดทำโครงการดังกล่าว นอกเหนือจากความรู้ทางวิชาการแล้ว ยังมีเงินอีกจำนวนประมาณ 33 ล้านบาท ในการจัดทำโครงการต่างๆ เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือที่ยั่งยืน

แหล่งที่มา

http://www.nicaonline.com/webboard/index.php?board=4;action=display;threadid=3793
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14351เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2006 00:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท