จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ..Age friendly health care service "KKU model"


Age friendly

แนวคิดการดูแลผู้สูงอายุของ WHO ที่ได้นำมาพัฒนาเพื่อให้เกิดการดูแลอย่างเอื้ออาทร หรือ age friendly อย่างที่เคยเล่าให้ฟัง..ดิฉันได้นำไปใช้ในหอผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ในขั้นของการค้นหาปัญหาและความต้องการทั้งจากผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการ โดยการสอบถาม สังเกต และจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อวันที่ 24 ,29 ต.ค ที่ผ่านมา พบประเด็นที่น่าสนใจในมุมมองของทีมการพยาบาล ผ่านแว่นตาของผู้สูงอายุ(ตามสำนวนของท่านอาจารย์ ผ่องพรรณ อรุณแสง ผู้เป็นอาจารย์ของดิฉันเอง): เพราะพยาบาล/ผู้ช่วยพยาบาล แม้แต่พนักงานการแพทย์ สะท้อนภาพของปัญหาผู้สูงอายุได้อย่างน่าฟังว่า..." ผู้สูงอายุต้องการให้เรารับฟังปัญหา และอยากเล่าเรื่องราวต่างๆของท่านให้เราฟัง แลดูว่าท่านเหล่านี้มีความสุข แต่เรากลับไม่มีเวลาให้ผู้สูงอายุ เพราะภาระงานต่างๆที่ทำให้เรามองข้ามไป และบางครั้งเราเองก็ไม่ได้เห็นความสำคัญ ถ้าเป็นไปได้... อยากให้จัดระบบที่เอื้อต่อการดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ เช่น จัดสิ่งแวดล้อม แหล่งความรู้สำหรับบุคลากรระดับต่างๆ อุปกรณ์ช่วยเหลือ รวมทั้งการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาร่วมกัน หรือแม้แต่คำทักทาย.."สวัสดีค่ะ คุณตา หรืออรุณสวัสดิ์ค่ะ"ในตอนเช้าตรของเวรดึกู เมื่อเข้าช่วยเหลือเช็ดตัวให้ผู้สูงอาย ซึ่งเป็นปิยะวาจาที่เกิดศิริมงคลทั้งต่อผู้พูด และผู้ที่ได้ฟัง

เพียงแค่บางตอนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของทัมการพยาบาลทุกระดับ ทำให้ดิฉันมีกำลังใจในการดำเนินการพัฒนาต่อไป เพื่อจุดมุ่งหมายที่จะได้แนวทางในการบริการพยาบาลที่เอื้อต่อการดูแลผู้สูงอายในระยะฟื้นฟูสภาพเหล่านี้....ุ

หมายเลขบันทึก: 143400เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2007 23:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท