ความคิดสร้างสรรค์กับการแก้ปัญหา


ความคิดสร้างสรรค์จึงเกี่ยวข้องกัน ทั้งทางศิลป และวิทยาศาสตร์
                ความคิดสร้างสรรค์ เป็นลักษณะของความคิด ที่ประกอบด้วย อารมณ์ ความรู้สึก และการรับรู้เข้าใจเชิงเหตุผล    ความคิดสร้างสรรค์จึงเกี่ยวข้องกัน ทั้งทางศิลป และวิทยาศาสตร์    กล่าวคือ
                ในเชิงรูปธรรม จะเน้นถึงการรู้  การเข้าใจ บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงตามปรากฏการณ์ ที่เป็นไปโดยธรรมชาติ    
                ในเชิงนามธรรม จะเน้นตอบสนองความรู้สึก อารมณ์ ความพอใจ ประสบการณ์ หรือความสามารถเฉพาะตัว ของผู้คิด โดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริง เพื่อการ อธิบายเป็นสำคัญ เน้นผลผลิตที่ปรากฏในการตอบสนอง ทางอารมณ์ และความรู้สึกร่วมกันมากกว่ากระบวนการของการสร้างสรรค์นั้น
               
               
ความคิดสร้างสรรค์ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา จะต้องเป็นกรณีดังนี้
              
๑.       มีการจินตนาการ หรือคาดการณ์ของปัญหาเป็นการล่วงหน้า
              
๒.     เสนอวิธีการแก้ปัญหา หรือการหาคำตอบ ที่ไม่เป็นลักษณะธรรมดา อย่างปกติที่เคยกระทำมาแล้ว   
              
๓.     ผู้แก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ มักกระทำให้เกิดผลงานที่มีคุณค่าเกินความต้องการ และ ประโยชน์ขั้นพื้นฐานของสิ่งกระทำ และคิดเสมอ                
              
ข้อสรุปที่คล้ายคลึงกัน ก็คือ ลักษณะของความคิดสร้างสรรค์ ไม่ว่าทางศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ จำเป็นต้องใช้ความรู้เดิมหรือ ประสบการณ์เก่าๆ มาใช้ใน เหตุการณ์ ใหม่หรือปัจจุบัน จนสร้างผลผลิตที่เป็น ความรู้ หรือประสบการณ์ ใหม่เกิดขึ้น ต่อตนเองและผู้อื่นที่ไม่เคยประสบมาก่อน (Bronowski, 1956)
ที่มา...http://pioneer.chula.ac.th/~yougyudh/creativity/ creativity.html
หมายเลขบันทึก: 143321เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2007 18:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แวะมาหาข้อมูลค่ะ ขอบคุณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท