เงินอิเล็กทรอนิกส์(e-Money) ตอน 2


สวัสดีครับชาวblog ทุกท่าน ผมห่างหายไม่ได้เขียน blog  หลายวันเพราะยุ่งกับการเตรียมสอบป้องกันproposal นะครับ วันนี้จะเล่าเรื่องเงินอิเล็กทรอนิกส์(e-Money) ตอน 2ต่อ นะครับ

    1.  ผู้บริโภคชำระเงินล่วงหน้าให้ผู้ออกเงินอิเล็กทรอนิกส์(pre paid)

     2. มูลค่าเงินที่ชำระล่วงหน้าถูกบันทึกในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (stored value) เช่น บัตรพลาสติค หรือ สื่อคอมพิวเตอร์อื่น เช่น อินเทอร์เน็ต เป็นต้น

     3.  ผู้บริโภคสามารถนำไปซื้อสินค้าหรือบริการต่าง  ได้จากร้านค้าที่ผู้ออกเงินอิเล็กทรอนิกส์กำหนด(multi purpose)

     การใช้เงินอิเล็กทรอนิคส์จะแตกต่างจากการใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต โดยบัตรเครดิตจะมีวิธีการชำระที่จะต้องใช้ "เงินสด" ชำระจริงหลังจากซื้อขายสินค้าและบริการ หรืออาจสรุปได้ว่าเงินอิเล็กทรอนิกส์เมื่อรูดแล้วไม่มีหนี้ แต่บัตรเครดิตเมื่อรูดแล้วกลับเป็นหนี้

      ประเทศญี่ปุ่นได้มีการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์หรือ e- money เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในการทำธุรกิจและการซื้อสินค้า โดยใช้โทรศัพท์มือถือที่ส่งผ่านสัญญาณอินฟาเรดหรือการใช้ "สมาร์ทการ์ด" ที่ทำให้ผู้ใช้ e- money สามารถจ่ายเงินได้อย่างรวดเร็วและซื้อทุกอย่างได้ตั้งแต่อาหารไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์โดยไม่ต้องควักกระเป๋าสตางค์ และสามารถเพิ่มเงินลงในการ์ดหรือโทรศัพท์มือถือจากสถานีอัตโนมัตินับพันแห่งทั่วประเทศ  รวมถึงการใช้บัตรเครดิตในการเติมเงินลงใน   e- money ผ่านอินเทร์เน็ตได้ด้วย ซึ่ง  e- money ใช้ได้ทั้งในร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า ร้านกาแฟ ร้านอาหาร และตู้จำหน่ายสินค้าทั่วไป ทำให้ผู้ใช้สามารถไปชอปปิ้งได้โดยไม่ต้องพกอะไรนอกจากโทรศัพท์มือถือซึ่งจะทำให้ประเทศญี่ปุ่นก้าวสู่สังคมที่เป็น cashless

    แม้ว่าการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในประเทศไทยยังมีรูปแบบการใช้ในวงจำกัดแต่ในอนาคตเมื่อเงินอิเล็กทรอนิกส์หรือระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Payment System) แพร่หลายมากขึ้นนวัตกรรมทางการเงินเหล่านี้อาจนำมาใช้เป็นช่องทางในการชำระภาษีของกรมสรรพากรในอนาคตก็อาจจะเป็นไปได้ และเมื่อถึงเวลานั้นผู้เสียภาษีและกรมสรรพากรต่างก็ได้รับประโยชน์จากการประหยัดเวลาและต้นทุนค่าใช้จ่ายของการใช้หรือให้บริการต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี 

 

คำสำคัญ (Tags): #e-money)
หมายเลขบันทึก: 143261เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2007 13:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 23:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท