การวางแผนงานคุณภาพด้วยระเบียบวิธี PDCA


PDCA == (P) การวางแผนคุณภาพ / (D) การปฏิบัติตามแผนงานคุณภาพ / (C) การตรวจสอบคุณภาพ / (A) การปรับปรุงการแก้ไขผลผลิตหรือผลงาน

การวางแผนงานคุณภาพด้วยระเบียบวิธี PDCA

การวางแผนงานคุณภาพด้วยระเบียบวิธี PDCA  ประกอบด้วย

1.  (P)  การวางแผนคุณภาพ (Quality Planning Methodology) มีแนวทางดำเนินการดังนี้

1.1    ปัจจัยด้านข้อมูลหรือปัจจัยนำเข้า (Quality Planning Input) มีการบริหารงานด้านข้อมูลโดย

         1.  จัดหาข้อมูลด้านความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การกำหนดคุณภาพ

         2.  พิจารณาลักษณะของผลิตภัณฑ์หรืองานบริการที่มีอยู่หรือที่กำลังดำเนินการตรงกับความต้องการมากน้อยมีส่วนใดบ้างต้องทำการปรับปรุงและพัฒนา

         3.  ใช้ข้อมูลเดิม ข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมาควรจะรวบรวมจากบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้แนวทางการวางแผนที่ถูกต้อง

         4.  เลือกจังหวะ เวลา หรือโอกาสที่เหมาะสมกับการดำเนินงาน โดยนำข้อมูลทั้งหมดดังกล่าวข้างต้นมาทำการประเมินความเสี่ยง และหาแนวทางดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

1.2   กำหนดคุณภาพ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน

1.3   ในแผนงานควรมีขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน กำหนด วัน เวลาการทำงาน กำหนดผู้รับผิดชอบ สถานที่ทำงานและอื่นๆ

1.4   มีการประเมินแผนงานก่อนการนำไปใช้ ทำได้  3 แนวคือ        

        1. การประเมินจากการทดลองการปฏิบัติ         

        2. การประเมินจากการร่วมพิจารณาของผู้มีประสบการณ์ทำงานมาก่อน        

        3. การประเมินจากสภาพการแข่งขันการตลาด

2.  (D)  การปฏิบัติตามแผนงานคุณภาพ จะประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายมากหรือน้อย ขึ้นอยู่ปัจจัยดังต่อไปนี้

2.1  ผู้มีอำนาจและรับผิดชอบการบริหารแผนงาน แผนที่ได้เขียนขึ้นมีองค์ประกอบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน

2.2  ทักษะและความสามารถของผู้ปฏิบัติตามแผนงานหรือบุคลากรที่รับผิดชอบงานต่างๆ ต้องคำนึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้

      1.  ความรู้ความสามารถของบุคลากร

      2.  บุคลิกภาพมีความเหมาะสมกับงานที่มอบหมาย

      3.  ความสนใจหรือความคาดหวังของบุคลากรต่องานที่ได้รับมอบหมาย

      4.  แรงจูงใจที่มีให้กับบุคลากร

      5.  ทัศนคติของบุคลากรกับงานที่มอบหมายและเพื่อนร่วมงาน

2.3    ทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์สำนักงานเทคโนโลยีต่างๆ มีความพร้อมปฏิบัติ ก็ทำให้ผลงานเป็นไปตามเป้าหมาย

2.4   การจัดซื้อ-จัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีแต่ราคาต่ำ ก็จะทำให้ได้ผลผลิตที่คุณภาพดีราคาถูก2.5  มีระบบการสื่อสารระหว่างบุคคลหรือหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ คือ สื่อได้ชัดเจนและรวดเร็ว เพื่อสร้างความเข้าใจและเชื่อมโยงระบบงานอย่างต่อเนื่อง

3.  (C)  การตรวจสอบคุณภาพ  มีแนวทางการตรวจสอบดังนี้

3.1   ตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินงานได้แก่

        -    ขั้นการศึกษาข้อมูล มีการศึกษาข้อมูลได้ครบถ้วน

        -    ขั้นการเตรียมงาน การเตรียมงานตามแผนงานมีความพร้อมหรือไม่

        -    ขั้นดำเนินงาน มีบุคลากรและทรัพยากรหรือไม่

        -    ขั้นตอนการประเมิน มีเครื่องมือและขั้นตอนการประเมินผลที่เหมาะสม

3.2   ตรวจผลงานตามเกณฑ์ที่กำหนด

 3.3   ตรวจสอบคุณภาพโดยใช้มาตรฐานสินค้าหรือผลิตภัณฑ์โดยหน่วยราชการ กระทรวงอุตสาหกรรม มาตรฐานการบริหารงาน ISO:9000,ISO 14000

3.4   ตรวจสอบความพึงพอใจของลูกค้า สามารถตรวจสอบได้จากข้อมูลการสั่งซื้อ การติ การชมจากลูกค้าโดยตรง

3.5   การตรวจสอบคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ดำเนินการดังนี้

       -    ตรวจสอบด้านบุคลากร มีคุณสมบัติ เหมาะสมกับงาน

       -    การตรวจสอบเครื่องจักร อุปกรณ์สำนักงาน เครื่องจักรมีขีดความสามารถที่เหมาะสมและสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ

       -    การตรวจสอบวัตถุดิบหรืออะไหล่ ได้แก่ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในสำนักงาน มีเพียงพอหรือมีมากเกินความจำเป็น หรือยังใช้คุ้มค่า

       -    การตรวจสอบระบบการทำงาน เช่น ระบบการให้บริการลูกค้า  ระบบการสื่อสารภายในองค์กร มีความเหมาะสมมากพอกับการบรรลุเป้าหมายคุณภาพหรือไม่

       -    การตรวจสอบระบบการบริหารงาน ประกอบด้วย โครงสร้าง องค์กรการบริหารด้านการผลิต และกำหนดเป้าหมายทางธุรกิจ เป็นเป้าหมายที่มุ่งหวังผลกำไร

       -    การตรวจสอบตลาดหรือความต้องการของลูกค้า ได้แก่ ผลของการโฆษณาประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการขาย

      -   การตรวจสอบเวลา เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการผลิตแบบทันเวลาพอดีหรือไม่     

      -    การตรวจงบประมาณ ที่ใช้ลงทุน มีความจำเป็น และเพียงพอกับการสร้างคุณภาพหรือไม่

      -   การตรวจสอบทัศนคติ ของบุคลากร มีความกระตือรือร้นต่อการทำงานของบุคลากรเหล่านี้จะช่วยสร้างงานคุณภาพ

      -   การตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบ ว่าสามารถวัดได้ตรงตามความเป็นจริง และสภาพที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่

การจัดทำรายงานผลการตรวจสอบ

           เมื่อดำเนินงานตรวจสอบคุณภาพแล้ว คณะผู้ตรวจสอบจัดทำรายงานผลการตรวจสอบต่อฝ่ายบริหารเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพ มีส่วนประกอบดังนี้

1.       เป้าหมายการตรวจสอบ

2.       ข้อบ่งชี้ที่ใช้ในการตรวจสอบ

3.       หลักเกณฑ์การประเมิน หรือวัดผล

4.       ระยะเวลาที่ได้ดำเนินการตรวจสอบ

5.       สถิติเปรียบเทียบผลการตรวจสอบ

6.       ข้อจำกัดในขณะที่ทำการตรวจสอบ

7.       สรุปการตรวจสอบ

8.       ข้อเสนอแนะแนวทางการตรวจสอบครั้งต่อไป

4.  (A)  การปรับปรุงการแก้ไขผลผลิตหรือผลงาน

            การปรับปรุงแก้ไขผลผลิตหรือผลงาน เกิดจากการพิจารณารายงานผลการตรวจสอบคุณภาพ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

4.1  การวิเคราะห์ข้อมูลจากการรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพ

4.2  เมื่อยอมรับผลการตรวจสอบคุณภาพแล้วทราบจุดบกพร่องแล้ว ขั้นตอนต่อไปต้องพิจารณาถึงกระบวนการ

4.3  การตรวจสอบผลกระทบของปัญหา

       -   ความพึงพอใจของลูกค้า

       -   คุณภาพและมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้

       -   ต้นทุนการผลิต

       -   การส่งมอบทันเวลา

4.4     วิธีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาขึ้นอยู่กีบระดับของปัญหา

ปัญหาในระดับบุคคล แนวทางการปรับปรุงก็ทำได้ง่าย

       -     การตักเตือน อบรม หรือสร้างความตระหนักรู้

       -     การเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่การงาน

       -     การให้ออก  เป็นการแก้ปัญหาสุดท้ายที่ไม่อาจใช้วิธีอื่นได้   

ปัญหาในระดับกลุ่มหรือหน่วยงาน ใช้กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ ได้แก่

       -    กิจกรรม 5 ส

       -    กิจกรรม QCC

       -    กิจกรรมข้อเสนอแนะปรับปรุงงาน

4.5    เริ่มการวางแผนการปรับปรุงงาน ซึ่งต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องตามวงจรการบริหารงานคุณภาพ                               

4.6    การดำเนินการปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง มีเป้าหมายกำหนดปัญหาหรือสาเหตุของการทำผิดเงื่อนไขที่ทำให้ไม่ได้มาตรฐาน การดำเนินการปรับปรุงการแก้ไขจะต้องคำนึงผลกระทบดังต่อไปนี้

      1.    ผลการแก้ไขกระทบต่อลูกค้า

      2.    ผลการแก้ไขกระทบต่อบุคคล     

      3.  ผลกระทบด้านบริการที่เคยสร้างความประทับใจแก่ลูกค้า

      4. ผลกระทบต่อภาพพจน์ต่อองค์กร มีหรือไม่5. การปรับปรุงแก้ไขต้องใช้ต้นทุนเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่

4.7     การจัดทำมาตรฐานและคู่มือป้องกันการบกพร่อง  คือ ผลสรุปที่ได้รับจากกระบวนการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ประเภทของแผนงาน

1. การวางแผนงานตามระยะเวลา

1.1  แผนงานประจำปี เป็นแผนงานที่เขียนขึ้นเพื่อวางแนวทางการปฏิบัติงานตลอดทั้งปี 

1.2  แผนงานประจำไตรมาส  เป็นแผนงานที่เขียนขึ้นเพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานระยะเวลา 3 เดือน

2. การแบ่งงานตามความรับผิดชอบ ได้แก่

2.1 แผนงานส่วนบุคคล บุคคลที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพจะต้องมีแผนงานของตนเอง

2.2 แผนงานขององค์กร หรือหน่วยงาน

3.  การแบ่งแผนงานตามลักษณะการใช้งาน

3.1 แผนงานหลัก เป็นแผนงานขององค์กร ได้กำหนดเป้าหมายนโยบาย

3.2 แผนปฏิบัติการ เป็นแผนปฎิบัติงานเฉพาะส่วนเฉพาะงาน

3.3 แผนกลยุทธ์ เป็นแผนปฏิบัติงานที่เขียนขึ้นอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยมิได้คาดหมาย

3.4 แผนปรับปรุงงาน

 

คำสำคัญ (Tags): #การวางแผน pdca
หมายเลขบันทึก: 143196เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2007 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณสำหรับข้อความนี้นะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท