Tony2007
นาย พูลศักดิ์ ศุกลรัตน์มณีกร

สิทธิผู้ป่วยในการบันทึกเวชระเบียนของแพทย์


สิทธิผู้ป่วยในการบันทึกเวชระเบียนของแพทย์
สิทธิผู้ป่วยในการบันทึกเวชระเบียนของแพทย์ผู้ที่ทำหน้าที่ในการดูแลหรือเกี่ยวข้องกับเวชระเบียนย่อมจะทราบเป็นอย่างดีถึงความต้องการการอ้างถึง การอ้างอิง การขอสำเนา ขอเอกสารรับรองที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับเวชระเบียนว่า นับวันก็จะยิ่งมีมากขึ้น และมาจากบุคคลฝ่ายต่างๆ หน่วยงาน องค์กร สถาบัน ฯลฯ หลากหลายมากขึ้น จนแทบจะไม่รู้ว่าเป็นใครต่อใครบ้าง ทั้งนี้เพราะเวชระเบียนในปัจจุบันนี้มีความสำคัญในฐานะพยานเอกสารมากขึ้นทุกขณะ โดยเฉพาะในยุคข้อมูลข่าวสาร ยุคสิทธิเสรีภาพเบ่งบานตามรัฐธรรมนูญ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และในบางครั้งเวชระเบียนเป็นสิ่งที่จะทำให้ "คดี" หรือ "กรณีพิพาท" หนึ่งๆ แพ้หรือชนะได้เลยทีเดียว ด้วยความสำคัญในเรื่องต่างๆ มากขึ้นนี่เอง จึงมิใช่เพียงเฉพาะแพทย์เท่านั้นที่ต้องการทราบถึงเนื้อหา ในเวชระเบียนเกี่ยวกับประวัติการเป็นโรค การเปลี่ยนแปลง การดำเนินการรักษา การป้องกันโรค ฯลฯ เพื่อการดำเนินการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้ป่วยเอง และยังอาจมีประโยชน์เกี่ยวข้องกับบุคคล หรือสถาบันภายนอกอย่างมากมายอีกด้วย ทั้งนี้เพราะมีการอ้างถึงเวชระเบียนอยู่เป็นประจำ เนื่องจากประวัติของผู้ป่วยเป็นเอกสารที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง จึงมีความต้องการเพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ มากมาย เช่น 1. ในการฟ้องร้องทางศาล 1.1 เพื่อใช้ประกอบสำนวนการฟ้องร้องในทางอาญา 1.2 เพื่อใช้ประโยชน์ทางแพ่ง 1.2.1 การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน 1.2.2 การพิสูจน์ตัวบุคคล 1.2.3 การพิสูจน์ว่ามีการดูแลผู้ป่วยหรือไม่ 1.2.4 การพิสูจน์ผู้เหมาะสมที่จะเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยต่อไป 2. ในการร้องเรียนทางจริยธรรม สามารถใช้พิสูจน์การประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าถูกต้องตามมาตรฐาน หรืออย่างหนึ่งอย่างใดในทางจริยธรรมได้ 3. ในทางประกันภัย สามารถใช้ประโยชน์ในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรืองดเว้นการจ่ายค่าสินไหมทดแทน 4. สำหรับหน่วยงานที่ต้องจ่ายค่าทดแทน ใช้ประโยชน์ในการจ่ายค่าทดแทน เช่น ในข้อพิพาทแรงงาน 5. อื่นๆ สิ่งใดก็ตามที่ปรากฏในเวชระเบียนจึงอาจมีผลต่อเจ้าของประวัติ ผู้มีส่วนทำบันทึกประวัติโดยตรง และสถานพยาบาลที่จัดทำบันทึกประวัตินั้นๆ รวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำประวัติดังกล่าวด้วยในทางอ้อม ทั้งนี้เพราะสิ่งที่บันทึกอยู่ในเวชระเบียนอาจเป็นสิ่งที่ชี้หรือพิสูจน์ให้เกิดผลอันไม่พึงประสงค์ตามมาได้ เช่น อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวผู้ป่วยตามมาได้ เช่น อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวผู้ป่วย ซึ่งเป็นเจ้าของประวัติที่ถูกบันทึกในเวชระเบียนนั้นได้ ยิ่งถ้าเป็นกรณีที่เป็นการบันทึกรายละเอียดไม่เหมาะสม และไม่สมควรด้วยแล้ว ยิ่งจะเกิดผลเสียได้ง่ายขึ้น 
หมายเลขบันทึก: 142959เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2007 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท