ความสำเร็จในจัดประชุมวิชาการที่กรุงเทพ โดยนักวิชาการภาคใต้ (ต่อ)


การให้ แบบไม่มีการกั๊ก

ต่อจากบันทึกก่อน เกี่ยวกับประสบการณ์การจัดประชุมวิชาการของนักวิชาการภาคใต้ แบบฉายเดี่ยว ที่ กทม. โดย รศ.นพ.สีลม แจ่มอุลิครัตน์   

อาจารย์สีลม   เริ่มเล่า ด้วยการวิเคราะห์ ประเด็นปัญหาเชิงท้าทายที่ว่า  “คิดอย่างไร?  จึงจัดประชุมที่ กทม ” (โดยนักวิชาการภาคใต้) ไม่รู้หรือว่า ....

  • ไม่ใช่พื้นที่เรา
  • ความยืดหยุ่นจำกัด
  • ค่าใช้จ่ายสูง
  • ไม่ได้รับความช่วยเหลือ
  • คนทางใต้ไม่ได้รับความสนใจ

และคำถามที่ว่า “คิดอย่างไร?  มีผู้บรรยายคนเดียว”   ไม่รู้หรือว่า….

  • คนจะเบื่อหน่าย
  • ไม่มีความเห็นหลากหลาย
  • จะมีใครมาฟัง

แต่อาจารย์ก็คิดว่า  มีเหตุผลเพียงพอ ที่จะจัดที่ กทม. และตั้งเป้าผู้เข้าประชุมไว้ที่ 500 คน

เหตุผลคือ  ยังมีผู้ต้องการความรู้และความช่วยเหลือในการแก้ปัญหาด้านนี้อยู่มาก   ในเมื่อผู้เข้าอบรมมาหาเราไม่ได้ ด้วยความรู้สึกไม่ปลอดภัย หรือด้วยกฎระเบียบบางอย่าง เช่น ไม่ให้ประชุมไกลกว่า กทม.   ก็ต้องไปหาผู้เข้าอบรมแทน

ผลที่ออกมาคือ มีคนมาประชุมล้นหลามเกินเป้า

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในงานครั้งนี้ (critical success factors) ก็คือ....  

  1. ตอบสนอง needs  : งานควบคุมการติดเชื้อใน รพ. เป็นงานสำคัญต่อความอยู่รอดของ รพ. เป็นงานที่ต้องการความชำนาญสูง   ที่เป็นอยู่ คนทำงาน ถูกสั่งให้รับผิดชอบงาน แต่ไม่ได้รับการอบรมที่เพียงพอ
  2. ได้ software ฟรี : อาจารย์ได้จ้างทำ software ในการทำระบบ เฝ้าระวัง  ด้วยต้นทุนสูงถึง 80,000 บาท แต่ผู้เข้าประชุมจะได้  software  ฟรี ด้วยค่าลงทะเบียนเพียง 1,800 บาท เรียกว่า ยิ่งกว่าคุ้ม
  3. การทำ CRM ที่ผ่านมา :  เนื่องจากอาจารย์ได้บรรยายหลายแห่ง และเคยจัดประชุมด้านนี้มาบ้างแล้ว  จึงได้ทำ customer database ไว้  มีบริการหลังการขาย โดยการ update ความรู้ ต่างๆ ผ่าน mailing list  การบรรยายต่างๆ ก็จะแจก CD ที่มี slides พร้อมคำบรรยายโดยละเอียด
  4. Utilized the advance technology:  การจัดประชุมครั้งนี้ มีการใช้ IT เข้ามาช่วยในการติดต่อประสานงานกับผู้เข้าร่วมประชุม ทั้ง Website ,  email , Electronic banking , Computer database ทั้ง ลงทะเบียน และ การตอบรับการลงทะเบียน  ฯลฯ

นั่นเป็นส่วนที่อาจารย์สีลม สรุป critical success factors ในมุมมองของอาจารย์

แต่ในมุมมองของตัวเอง  คิดว่า งานนี้ สำเร็จเพราะ ..

  • การให้  แบบไม่มีการกั๊ก
  • คิดถึงความต้องการลูกค้าเป็นสำคัญ
  • ไม่หวังผลกำไรเป็นตัวเงิน

และทั้งหมดนี้  คิดเอาเองว่า เพราะอาจารย์มีเป้าหมายที่ใหญ่กว่า  นั่นเป็นประโยชน์ของส่วนรวม ระบบ IC (Infectious control) ที่ดี เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วย   จึงทำให้เกิดวิธีการดีๆ และผลงานที่สำเร็จ

และที่น่ายินดี ปิดท้ายบันทึกนี้ คือ อาจารย์ได้เปิด blog Silom   และ planet Infectious control  เพื่อเป็นพื้นที่ ลปรร. คนทำงานด้าน IC  ใน Gotoknow แล้วด้วย 

 

หมายเลขบันทึก: 142566เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2007 16:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะ สำหรับเรื่องที่น่าชื่นชมของอาจารย์แพทย์ของเรา การเปิดบล็อกนี่เป็นเป็นผลงานการชักชวนของอาจารย์ด้วยหรือเปล่าคะ :-)

คุณโอ๋

พอดีนั่งติดกับอาจารย์ในวันนั้น  หลังฟังอาจารย์พูด ก็เลยชักชวนและแนะนำวิธีการใช้กันเดี๋ยวนั้นเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท