ครูในศตวรรษที่ 21New


Instructor in Globalization

  
    กระแสโลกาภิวัฒน์ทำให้สังคมประเทศและสังคมโลกเปลี่ยนแปลงด้านพลังอำนาจของชาติด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตสงครามเย็นยุติ  มหาอำนาจทางทหารเหลือหนึ่งเดียว คือ สหรัฐอเมริกา  การแข่งขันด้านเศรษฐกิจมีความรุนแรง  โดย แยกเป็น  3  ขั้วอำนาจ  คือ สหรัฐอเมริกา  สหภาพยุโรป  และเอเชีย  โดยเฉพาะญี่ปุ่นและจีนประเทศต่าง ๆ  สร้างความเข็มแข็งให้เยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติให้ได้  มาตรฐาน   เรียนรู้   คิดเป็น    สร้างนวัตกรรมได้  เพื่อความอยู่รอดของชาติและเผ่าพันธุ์ตนเองที่แท้จริงในอนาคต  ในสังคมใหม่มีการกล่าวถึงคำว่า “ การครอบโลก” คือการสั่งการโดยอำนาจทางเศรษฐกิจของมหาอำนาจต่าง  ๆ  พิเชียร  คุระทอง  (2541:2)  กล่าวว่าเห็นด้วยกับ  กมล  กมลตระกูล  ที่ได้ให้ความหมายด้านมืดของ  โลกาภิวัฒน์   (Globalization)  ว่าเป็น  “การครอบงำโลก”   ถ้าไม่มองโลกาภิวัฒน์    2  ด้าน แล้วไม่สร้างภูมิต้านทานให้ตนเองหลงใหลตามกระแสโลกทั้งหมด  ประเทศโลกที่ 3  ที่ยากจนจะถูกระแสโลกฉุดกระชากไปสู่ความหายนะ   อนาคตความอยู่รอดของชาติและเผ่าพันธุ์ของชาติ  กลับแปรเปลี่ยนเป็น  “ทรัพยากรมนุษย์”  ที่ต้องมีความรู้รอบด้านและมีสมรรถนะด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีต่าง ๆ  ที่ทันสมัยและสามารถแสวงหาความรู้ได้เองจากสื่อทุกประเภท  เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่  ความรู้ใหม่  โดยการวิจัยทดลอง  การลองผิดลองถูกเพื่อเป็นทรัพย์สมบัติของชาติตน  ดังแนวทางของชาวยุโรปได้เคยกระทำมาแล้วในอดีตเมื่อ  100  กว่าปีที่ผ่านมาลองผิดลองถูก  ทำการวิจัยตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ผลที่ได้เป็นศาสตร์ใหม่ นวัตกรรมใหม่และทุกคนยอมรับเป็นมาตรฐานสากล  ดังนั้นการดำเนินการพัฒนาดังกล่าว  ครูและบุคลากรทางการศึกษาจึงเป็นบุคคลที่มีความสำคัญโดยตรงและโดยอ้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ความสามารถแก่ศิษย์  ทั้ง  4   ด้าน  คือ  ด้านความรู้  ความคิด  หรือพุทธพิสัย   (Cognitive  Domain)       ด้านความรู้สึก  อารมณ์  สังคมหรือด้านจิตพิสัย  ( Affective  Domain)    ด้านทักษะปฏิบัติหรือทักษะพิสัย (Psychomotor  Domain)      ด้านทักษะการจัดการหรือทักษะกระบวนการ(Management  Skill) ซึ่งเป็นความจำเป็น  4  ประการในการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ  และประสิทธิภาพ
คุณลักษณะของครูและผู้สนับสนุนการศึกษายุคใหม่จึงน่าจะประกอบด้วยคุณลักษณะต่าง ๆ เช่น    คุณลักษณะของผู้นำทางการศึกษาที่มีวิสัยทัศน์  คุณลักษณะทางเทคโนโลยีทางการศึกษา  และคุณลักษณะของผู้มีคุณธรรมตามแนวทางคำสอนของทุกศาสนา
1. คุณลักษณะของผู้นำ ที่มีวิสัยทัศน์ 
มีคำกล่าวว่า  “ผู้นำต้องสอนผู้นำ”    และเอกสารวิจัย ทำนุ  พรหมาพันธ์ (2529: ค) กล่าวถึงการถ่ายทอดทางทหารเป็นลักษณะบอกเล่าประสบการณ์ทางทหารต่อ ๆ กัน   พีระศักดิ์  ทวีคูณ (2529 :ข)  ได้สรุปว่าผลการวิจัยเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของผู้นำทางทหารที่ต้องการไว้ดังนี้  “ผู้นำทางทหารที่ประสบผลสำเร็จในการบริหารหน่วยงาน  จะต้องเป็นผู้บริหารที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา  ไม่หยุด หมั่นศึกษาหาความรู้  ปรับตนเองเข้ากับสถานการณ์  ทันต่อเหตุการณ์เป็นพลวัต  โดยใช้วิธีการ  ระบบสารสนเทศที่ถูกต้องรวดเร็วและนวัตกรรม  ทางเทคโนโลยีสมัยใหม่  เป็นเครื่องมือช่วยในการบริหารงาน”  จากที่กล่าวมาแล้ว ครูจึงน่าต้องเป็นผู้นำด้วย  การเป็นผู้นำหรือภาวะผู้นำ  ที่ยอดเยี่ยมและประจักษ์โดยทั่วไปในปัจจุบันคงต้องกล่าวถึง The  West point สถาบันทางทหารที่ผลิตนายทหารสัญญาบัตรและพลเรือนชั้นนำของ ประเทศสหรัฐอเมริกา  โดยทั่วไปคุณสมบัติของผู้นำพลเรือนและพวกทหารก็มีความคล้ายคลึงกันเพียงแต่ว่าฝ่ายไหนจะเน้นคุณสมบัติข้อไหนท่านั้น  เมื่อภาระหน้าที่ที่ทำเกี่ยวข้องกับความเป็นความตายอย่างเช่นในยามสงคราม ต้องเรียนรู้ที่จะปฏิบัติหน้าที่อย่างเอาจริงเอาจัง  รู้จักให้ความสนใจกับคนรอบข้างและตนเองต้องไม่มองข้ามความสำคัญของทุกสิ่งรอบตัว คุณสมบัติเหล่านี้ต้องมีให้ครบ  ในสถานการณ์เสี่ยงภัยแบบนั้นจะสอนให้คนมีปฏืกิริยาบางอย่างเร็วขึ้นกว่าในภาวะปกติกว่าแบบการทำงานในองค์กรพลเรือน  พฤติกรรมที่ว่านี้คือจะมีการเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาสูง  มีความจงรักภักดี  มีความตั้งอกตั้งใจ รู้จักเสียสละและมีความซื่อสัตย์ แต่ในปัจจุบันนี้ในวงการ  ธุรกิจเอกชนที่มีการแข่งขันกันมากราวกับการสู้รบในสมรภูมิ  การเรียนรู้คุณสมบัติเหล่านี้ให้รวดเร็วทันการณ์ก็จะพบว่าเป็นประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง  อำนาจกำลังรบที่ไม่มีตัวตน  ซึ่งหมายความถึงภาวะทางจิตที่ต้องสร้างให้คนมีความอดทน เชื่อฟัง  คล้อยตามต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ จนชำนาญไม่ตื่นตระหนกสามารถเข้าทำการรบได้จริงเมื่อมีสถานการณ์ หรือปฏิบัติการณ์ที่สำคัญ  ๆ ได้โดยจิตวิญญาณนักรบของทุกชั้นยศซึ่งยอมรับด้วยเกียรติยศที่ห้ามหยามหมิ่นเป็นสิ่งที่ผู้นำทางทหารทั่วไปให้ความสำคัญกว่าพลเรือน ผู้นำที่สามารถชี้นำกลุ่มกระทำการได้บรรลุผลสำเร็จ  สามารถแก้ไขเหตการณ์ในภาวะคับขันในภาวะคับขันด้วยการสร้างสรร  ไม่ทำลายโดยขาดสติถือว่าเป็นผู้นำชั้นยอด  และหากเหตุการณ์เดียวกันผู้นำตัดสินใจผิดพลาดก็ไม่ต่างกับฆาตรกรที่ทำลายองค์กรและกลุ่ม   ชื่อเสียงของ The  West point  ช่วงตลอดอายุอันยาวนานเกือบเท่าอายุประเทศสหรัฐอเมริกาของสถาบันแห่งนี้  ผู้ที่เคยผ่านรั้วเวสต์  ปอยด์   มีทั้งผู้นำทางทหารหลายต่อหลายคน อาทิ ดั้กลาส  แมกอาเธอร์  ดไวท์  ดี ไอเซนเฮาว์   นายพลห้าดาวผู้ลือลั่นสมัยสงครามโลกครั้งที่  2    นอร์แมน  ชว็อซคอฟ  แห่งยุทธการการพายุทะเลทราย  มาถึงรุ่นล่าสุด  คอลลิน  เพาเวลล์  รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสหรัฐอเมริกาและผู้นำพลเรือนอย่าง  โรเบร์ต  วู้ดแห่งเซียร์  โรบั้ค  แรนด์  อราชค็อก  ประธานบริษัทไอทีที   แฟรงค์  บอร์แมนอดีตนักบินอวกาศและอดีตประธานบริษัทอีสเทอร์น  แอร์ไลน์  ตลอดจนบริษัทใหญ่อีกหลายแห่ง  ปรัชญาการฝึกฝนและปฏิบัติของชาวเวสต์  ปอยด์     จึงยังคงความขลังอยู่เสมอให้บุคคลผู้ปราถนาจะเป็นผู้นำที่ประสบผลสำเร็จในการได้เรียนรู้  ซึมซับและเข้าใจแก่นแท้ของความคิดตลอดจนการฝึกฝนเคี่ยวกรำอย่างหนักที่หล่อหลอมให้นักเรียนนายร้อยเวสต์  ปอยด์  เป็นผู้มีบุคลิกภาพและคุณลักษณะพิเศษ  Col. Larry R.Donnithorne ( 1994 ) อดีตอาจารย์นักเรียนนายร้อยเวสต์  ปอยด์กล่าวถึง  ผู้นำที่มีคุณลักษณะหมายถึง ลักษณะผู้นำที่ต้องการให้นักเรียนนายร้อยเวสต์  ปอยด์  มี ดังนี้   ความมั่นใจ  ความทะเยอทะยาน  ความกล้าหาญ  ความเฉลียวฉลาด  มีวาทะจูงใจ   ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์    ความเมตตาและที่ควรมีตัวผผู้นำทางทหารอย่างมากที่ไม่ควรมองข้ามคือความซื่อสัตย์ เป็นที่ไว้วางใจอย่างไม่มีข้อกังขาใด ๆแม้ในภาวะคับขันและคุณลักษณะอีกอันหนึ่งที่ผู้นำควรมีคือ     ความก้าวร้าว   ผู้นำทุกคนต้องประสบกับการเสี่ยงภัย   ยิ่งต้องเสี่ยงมากระดับความกลัวก็มากขึ้น     วิธีที่ดีที่สุดที่จะฝึกตัวเองให้จัดการกับความกลัวได้        เมื่อต้องอยู่กับความเสี่ยงสูงก็คือ  เอาชนะความกลัวให้ได้ในสภาวะคับขัน  ผู้นำทุกคนจำเป็น (Needs) จะต้องมีความก้าวร้าว  แต่ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักควบคุมความก้าวร้าว  ต้องไม่มีการระเบิดวาจาออกมาเพราะขาดการควบคุมตนเอง  ผู้นำทุกคนต้องเสียสละอย่างสุดชีวิตเพื่อนำองค์กรของตนเองไปสู่ชัยชนะ  ความก้าวร้าว  เป็นบุคลิกอันหนึ่งที่ผู้นำต้องใช้เมื่อเป้าหมายคือชัยชนะ  แต่ผู้นำมีคุณลักษณะที่ดีทั้งทางพลเรือนและทหารต้องเข้าใจว่าชัยชนะจะต้องได้มาด้วยวิธีการที่ขาวสะอาด  Col.  Larry  R.Donnithorne ( 1994:48) 
2. คุณลักษณะของเทคโนโลยีทางการศึกษา 
เทคโนโลยีทางการศึกษา  หมายถึง  การสื่อสารเพื่อการถ่ายทอดทางการศึกษาแก่ผู้เรียนด้วยสื่อ   เช่น   คอมพิวเตอร์  มัลติมีเดีย (สื่อประสม)  ฯลฯ       มัลติมีเดีย      หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้งานกับ คอมพิวเตอร์
 พรพิไล  เลิศวิชา (2544)  กล่าวถึงการใช้มัลติมีเดีย   ว่าควรใช้ดังนี้
เป็นเครื่องมือสร้างภาพแทนข้อมูลตัวเลขในรูปกราฟ ต่าง ๆ อธิบายหลักการคณิตศาสตร์
 สมการ และการพิสูจน์ต่าง ๆ
ใช้แสดงผลของความสัมพันธ์ที่สามารถกำหนดเงื่อนไขและค่าตัวแปรต่าง  ๆ  ได้ เพื่อทดลอง
สังเกตและฝึกแก้ปัญหา
3.  ใช้ตารางคำนวณ  (Spread  Sheet)
4.  ใช้ในงานข้อมูล  งานสถิติ ใช้เปรียบเทียบประมวลผลข้อมูลในงานต่าง ๆ
5.  ใช้เป็นฐานข้อมูลบันทึกรวบรวมคัดเลือกแยกหมวดหมู่ข้อมูลต่าง ๆ ทำดัชนีและระบบค้นหา
ใช้สร้างงานสารานุกรมบนจอคอมพิวเตอร์ที่มีระบบเน้นอักษรขยายความ
 (Multimedia Interartive Hypertext Encyclopaedia) ทำให้การค้นคว้าทำได้เร็วและได้ผลดี
7.  เป็น  database  search engine สำหรับค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เนต
ใช้สร้างสิ่งแวดล้อมจำลองสถานการณ์ (Simulation) สร้างสภาพการทำงานจำลอง 
จำลองกระบวนการผลิตแบบอุตสาหกรรม  และจำลองอื่น ๆ
9.  เป็นเครื่องมือในการสาธิตระบบโต้ตอบต่าง ๆ
10.  เป็น Word  Processer  เตรียมเอกสาร หรือเตรียมเนื้อหาต่าง ๆ สำหรับงานพิมพ์
11.  เป็นเครื่องมือสร้างดนตรี  งานศิลปและงานสร้างสรรต่าง ๆ
ใช้เป็นเครื่องมือช่วยออกแบบระบบกลไกและอุปกรณ์ไฟฟ้า  ออกแบบโครงการ
 งานสถาปัตยกรรม หรือแม้กระทั่งออกแบบโมเลกุลสารอินทรีย์ในระดับซับซ้อน
13.  เป็นเครื่องมือสำหรับนักเรียนใช้ฝึกเขียนโปรแกรม
ใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างครู  ผู้ปกครอง ผู้เชี่ยวชาญ  นักเรียน นักศึกษาและสมาชิก
ของชุมชน
สถาบันชั้นนำทางทหารของโลก  อีกแห่งหนึ่งคือ โรงเรียนนายร้อยแซนเฮสต์   (Royal  Military  Academy  Sandhurst)  ของประเทศอังกฤษ ที่กล่าวถึงคุณลักษณะด้านการสื่อสารเพื่อการศึกษา   (Communication  Studies Competency )  ในตัวนายทหารหนุ่ม (young  officer) ว่าเป็นความต้องการจำเป็น (needs) น่าจะรู้และเข้าใจวิถีของผู้นำและความสามารถในการสื่อสาร (Communication ) ให้ชัดเจนในทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  ( All  professional  context ) เช่น การสัมมนา (Seminar)  การจดบันทึกข้อมูล (lectures)  เป็นต้น  รายการตัวบ่งชี้ที่พอจะจัดเข้ามาในกลุ่มเพื่อกระทำ (Performance )เป็นสมรรถนะด้านนี้คือ
การแสดงผลงาน  (Presentation Skills)
การใช้ภาษาอังกฤษ  (Written  English)
การสัมภาษณ์ (Interviewing)
การเจรจาต่อรอง  (Negotiation)
การติดต่อใกล้ชิดของสื่อทางการทหารและสื่อมวลชน (Military/Media
 Relations and Media hanging)
การใช้คอมพิวเตอร์ (Basic  Computer Skills)
ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Interpersonal  Skills)
 
ทฤษฏีการเรียนรู้                แนวคอนสตรัคติวิสม์     Constructiovism
ปิอาเช่ต์   ( Jean  Piaget) เสนอว่า  ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นมา  เมื่อเขาลงมือทำ  แสวงหาเหตุผล  ค่อย ๆ ทำความเข้าใจจนได้ข้อสรุป  ได้ความรู้มาด้วยการลงมือเอง  ผู้เรียนได้ความรู้มาโดยผ่านกระบวนการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมของผู้เรียนเอง  ตัวผู้เรียนเองค่อยสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับโลกของตัวเขา  ทฤษฎีใหม่ ๆ ในใจของผู้เรียนจะเพิ่มพูนขึ้นเข็มแข็งขึ้น เรื่อย ๆ  ซึ่งได้มาโดยอาศัยตรรกต่าง ๆ ที่เขาค่อย ๆ สะสมขึ้นมาจากการเรียนรู้เอง  (Concept)
                ทฤษฏีคอนสตรัคติวิสม์  นั้นได้รับการกล่าวถึงและเผยแพร่กว้างขวางโดยอาจารย์  ซีมัวร์  เพเพิร์ต (Seymour  Papert) ทฤษฏีคอนสตรัคติวิสม์ ได้ขยายความหมายของ  Constructivism ออกไปโดยที่อธิบายว่า  การศึกษาต้องเน้นให้เด็กสร้างความรู้ขึ้นมาเอง ถ้าเด็กมี อะไร อยู่ข้างในเป็นฐานแล้ว   จากสัมพันธภาพกับสิ่งต่าง ๆ   เด็กต้องสร้างสิ่งอื่น ๆ ขึ้นมาใหม่  อันเป็นบันไดขั้นถัดไปจากการแสวงหาความรู้เบื้องต้น
        สิ่งแวดล้อมที่ช่วยสร้างบรรยากาศในการสร้างความรู้ของเด็กในความคิดของ Papert  คือ 1.  บรรยากาศและเงื่อนไขที่เปิดโอกาสให้เด็กสร้างสรรค์สิ่งที่เขาสนใจได้อย่างแท้จริง
2.   สภาพแวดล้อมสังคมที่มีความหลากหลายเอื้อให้เด็กได้ร่วมมือร่วมคิดกับคนอื่น
3. คุณลักษณะของผู้มีคุณธรรมตามแนวทางคำสอนของทุกศาสนา
    หลักศาสนาทุกศาสนานั้นมีคำสอนที่ดีเพื่อให้มนุษย์เมื่อเกิดมาอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข  สร้างความดี  ไม่เบียดเบียน  ละเว้นความชั่ว  อบายมุขทั้งปวง  ตลอดทั้งขัดเกลาจิตใจของมนุษย์ให้อยู่ในกรอบของความดีงามตั้งแต่เด็กจนเติบโต   ผู้นำที่ดีต้องมีคุณธรรมและจรรยาบรรณเป็นของตนเอง   ขอยกเอาหลักการฝึกสอนผู้นำของเวสต์ ปอยต์  เป็นหลักการที่เยี่ยมมากและมีเนื้อหาครอบคลุมสิ่งต่าง  ๆ  อย่างกว้างขวางขั้นตอนที่ใช้ก็สมเหตุสมผล  เป็นหลักการที่ดีทั้งในทางทฤษฏีและในทางปฏิบัติ  แต่สิ่งที่ทำให้หลักสูตรของเวสต์  ปอยต์    เด่นที่สุดคือเป้าหมายของการเรียนการสอนการเป็นผู้นำการ  “นำ”  ของผู้นำจากเวสต์ ปอยต์    มีรากฐานแห่งศีลธรรมจรรยาเป็นหลัก  รากฐานที่ได้รับการปลูกฝังไว้อย่างแน่นหนา  นักเรียนนายร้อยที่สำเร็จการศึกษาแบบเวสต์ ปอยต์   จะกลายเป็นผู้นำที่มีคุณลักษณะ    ที่   เวสต์  ปอยด์  ผู้นำทุกคนต้องถือความสำคัญของวาจาเท่าเทียมกับการกระทำของเขา  และการรักษาคุณธรรมประจำสถาบันเหนือความสัมพันธ์อันเหนี่ยวแน่นของพวกพ้อง  กฎของเวสต์  ปอยด์  ข้อหนึ่ง  กล่าวว่า  “  คุณธรรมขององค์กรมีความสำคัญเหนือความจงรักภักดีในระหว่างพวกพ้อง”   Col.  Larry  R.Donnithorne ( 1994:66)     ถ้าเวสต์  ปอยด์  ละเว้นกฎข้อนี้แล้ว  การจะสร้างให้องค์กรมีประสิทธิภาพย่อมเป็นไปไม่ได้  อันตรายของการที่พวกพ้องเกาะกลุ่มกันเหนียวแน่นก็คือจะทำให้เป้าหมายของกลุ่มมีความสำคัญกว่าเป้าหมายขององค์กรที่พวกเขามีส่วนร่วมอยู่องค์กรจะกลายเป็นของ  "พวกเขา”  ไปแทนที่จะเป็น  “ พวกเรา”  เวสต์  ปอยด์  เริ่มต้นการสอนหลักศีลธรรมจรรยาและวิชาอื่น  ๆ  ด้วยการให้เขาเรียนรู้กฎระเบียบก่อนกฎแห่งคำสัตย์ปฏิญาณเมื่อผู้นำนักเรียนนายร้อยย่างเข้ามาในโรงเรียนแล้ว  เขาต้องเข้าพิธีสาบานตน  รับคำสัตย์ปฏิญาณที่มีเนื้อหาฟังดูอ่อนหวานและตรงไปตรงมา  มีใจความว่า  “นักเรียนนายร้อยจะต้องไม่โกหก  ไม่คดโกง  ไม่ขโมยและจะต้องไม่ยินยอมให้ผู้ใดกระทำการเหล่านี้ “  และนั้นคือแห่งถ้อยคำเกียรติยศ  และสอดแทรกการอบรมศิลธรรมโดยอนุศาสนาจารย์ที่เป็นสายเลือด  ที่ผ่านการศึกษาด้านจิตวิทยาในระดับสูง
                จากที่ผู้เขียนได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดเป็นแนวความคิดของผู้เขียนที่รวบรวมจากเอกสาร  สื่อ  หลายแบบเพื่อเป็นแนวคิด   ด้านการพัฒนาคุณลักษณะของครูและผู้สนับสนุนการศึกษายุคใหม่ที่น่าจะประกอบด้วยคุณลักษณะต่าง ๆ เช่น    คุณลักษณะของผู้นำทางการศึกษา  คุณลักษณะทางเทคโนโลยีทางการศึกษา  และคุณลักษณะของผู้มีคุณธรรมตามแนวทางคำสอนของทุกศาสนา   โดยยกตัวอย่างของ The  West point  สถาบันทางทหารที่ผลิตนายทหารสัญญาบัตรและพลเรือนชั้นนำของ  ประเทศสหรัฐอเมริกา           คงพอสรุปเป็นภาพรวมตอนท้ายนี้ได้ว่า  อนาคตของเยาวชนของชาติก็คืออนาคตของประเทศ  น่าจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับใครคนใดคนหนึ่งรับผิดชอบในการพัฒนาคุณภาพ  ประสิทธิภาพ ไม่ว่าทั้งโรงเรียน  ครอบครัว  ฯลฯ  แต่คงจะต้องผูกพันกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกระทำ    จากการกำหนดนโยบาย  การปฎิบัติ   การตรวจสอบ  การประเมินประสิทธิผล   ซึ่งคงจะต้องตามความเปลี่ยนแปลงในกระแสของโลก  ที่จะกำหนดตัวบ่งชี้  มาตรฐานของทุกสิ่งที่เกิดมาว่า  “ควรอยู่ต่อไป”   หรือ   “ควรพัฒนาขึ้นไปอีก”  ผู้เขียนขอกล่าวถึง คำว่า มาตรฐาน  มาตรฐานระดับสากล    หรือ  ISO (International  Standroid  organization)  ซึ่งมีความเป็นมาของ ISO  ดังนี้  
                มาตรฐาน ISO เริ่มต้นจาก องค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน  ISO (International  Standarad  OrgaiZation) สำนักงานตั้งอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์  เพื่อให้แต่ละประเทศในโลกได้นำไปจัดทำเป็นมาตรฐานภายใต้ภาษาของประเทศนั้น ๆ  เอาเองตามความเหมาะสม
                -ปี พ.ศ.2518                 เริ่มจัดทำมาตรฐานการบริหารระบบคุณภาพ  BS5750
                -ปี พ.ศ.2522                 จัดทำมาตรฐานนานาชาติโดยคณะกรรมการชุด  TC176
                -ปี พ.ศ.2530                 ประกาศใช้มาตรฐานตระกูล  ISO 9000
                -ปี พ.ศ.2537                ปรับปรุงแก้ไขมาตรฐาน   ISO 9000 ครั้งแรก
                -ปี พ.ศ.2543                 กำหนดปรับปรุง  ISO 9000    ใหม่
                สำหรับประเทศไทยเรานั้น  สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ย่อว่า  “สมอ.”)ได้รับมาตรฐานมาใช้ภายใต้ชื่อที่เรียกว่า “มอก.- ISO 9000” (TIS/ISO  9000) เมื่อปี  พ.ศ.2534  โดยมีเนื้อหาสาระเหมือนกับ  ISO 9000  ทุกอย่าง เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็นำข้อกำหนดและอนุกรมมาตรฐาน  ISO 9000  มาระบุไว้ทั้งหมด  โดยไม่มีการตัดทอนเพิ่มเติมข้อความใด ๆ  เลยในฉบับปรับปรุงใหม่  และประกาศในปี  พ.ศ.2539  เป็นต้นมาจนปัจจุบัน 
เอกสารอ้างอิง

สุพักตร์   พิบูลย์ ,การวิจัยในชั้นเรียน  , 2544 
Col. Larry  R.Donnithorne,Col.(Ret) ผู้นำแบบเวสต์ปอยต์ โดย วี ประสงค์  แปลจาก   The  Westpoint  way  of  leadership  ยงวรา  ,1995.John,Matthew.“Royal Military Academy Sandhuist”    ”ComunicationStudies”[Online],2001RMAS Available:http://www.aira.mod.uk/     aira/rmas/academic/cs.html [Accessed February  21,2003]
เวบไซท์
 www.pca.or.th
www.usma.edu
www.vmi.edu
 
 
 
 
 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14229เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2006 12:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท