ปฏิรูปการศึกษาทำไม ?


                              ปฏิรูปการศึกษาทำไม  ?

        กระผมได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังบรรยายพิเศษ  เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาไทย  โดยผู้บรรยายคือ  ศาสตราจารย์  ดร.เกษม  วัฒนชัย  องคมนตรี  ณ ห้องบอลรูม  เมืองทองธานี เมื่อวันอาทิตย์ที่  8  กันยายน พ.ศ.2545 มีรายละเอียดที่น่าสนใจจากเอกสารพอสรุปได้ดังนี้กระแสโลกาภิวัฒน์ทำให้สังคมโลกเปลี่ยนแปลงด้านพลังอำนาจของชาติต่าง ๆ  อย่างรวดเร็วหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต  สงครามเย็นยุติ  (พ.ศ.2533)  มหาอำนาจทางทหารเหลือหนึ่งเดียว คือ สหรัฐอเมริกา  การแข่งขันด้านเศรษฐกิจมีความรุนแรง   แยกเป็น  3  ขั้วอำนาจคือ สหรัฐอเมริกา  สหภาพยุโรป  และเอเชียโดยเฉพาะญี่ปุ่นและจีนประเทศต่าง ๆ  สร้างความเข็มแข็งให้เยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติเป็นมาตรฐาน ให้เรียนรู้และคิดเป็นสร้างนวัตกรรมได้  เพื่อความอยู่รอดของชาติและเผ่าพันธุ์ตนเองในอนาคต  ในสังคมใหม่การครอบโลกคือการสั่งการโดยอำนาจทางเศรษฐกิจของมหาอำนาจต่าง  ๆ  ความอยู่รอดของชาติและเผ่าพันธุ์  กลับแปรเปลี่ยนเป็น ทรัพยากรมนุษย์  ที่มีความรู้รอบด้านและมีประสิทธิภาพ  ด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีต่าง ๆ  ที่แสวงหาความรู้ได้เองจากสื่อทุกประเภท  เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่  ความรู้ใหม่  โดยการวิจัย  ทดลอง  การลองผิดลองถูกเพื่อเป็นทรัพย์สมบัติของชาติตน  ดังแนวทางของชาวยุโรปได้เคยกระทำมาแล้วในอดีตเมื่อ  100  กว่าปีที่ผ่านมาลองผิดลองถูก  วิจัย  ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ผลออกมาได้เป็นศาสตร์และทุกคนยอมรับเป็นมาตรฐานสากล
ประเทศไทยเคยปฏิรูปการศึกษามาแล้วครั้งหนึ่ง  เมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 5 ครั้งนั้นกระทำเพื่อจัดระบบการศึกษาใหม่ให้ทันสมัยนิยม  ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่ประเทศไทยต้องปฎิรูปการศึกษาครั้งใหญ่  ตามเจตนารมณ์ใน  พรบ.การศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.2542   ที่ระบุให้สถานศึกษาทุกแห่ง  ต้องพัฒนาตนเองให้ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับจากสากล  โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบในการตรวจสอบและประเมิน  คือ  สมศ. (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา) ทั้งนี้เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน  ตามแนวทางหลากหลายของแต่สถาบันที่ระบุตามกฎหมายให้ผลิต  โดยทั้งหมดมุ่งเพื่อ  ให้ คนในชาติ  มี ทุนความรู้  ในการขยายโอกาสในการสร้าง  ความรู้ใหม่ รู้จักคิดเป็น  มีจินตนาการและความคิดสร้าง สรร  ซึ่งจะส่งผลให้คนในสังคมการเรียนรู้นั้นหยั่งรู้วิธีการประยุกต์ความรู้  คือการ  พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ    สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ  อย่างต่อเนื่อง และหลากหลาย  เส้นทางทุกสายจึงมุ่งที่ผู้เรียน เรียนรู้  และคิดเป็น  และมีส่วนประกอบสำคัญ คือ คุณธรรม  จริยธรรม  และคิดดี    เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของชาติ  คือ
1.การเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตของประชาชน
2.ประโยชน์และการพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจของชาติ
3.การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรของชาติ
            กระบวนการเรียนรู้  ที่ดีมีมาตรฐาน ก่อให้เกิดความรู้  เทคโนโลยีจากตะวันตกเกิดจากการลองผิดลองถูก  และประสบการณ์บรรพชน  ในแนวทางวิทยาศาสตร์  ที่มีการพิสูจน์  วิจัย  ค้นคว้าทดลองจึงทำให้ความรู้และเทคโนโลยีก้าวกระโดดไปไกลในช่วง  100  ปีที่ผ่านมา  หากนำวิธีการดังกล่าวมาใช้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นของประเทศไทยก็น่าจะทำให้เกิดความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ  ในประเทศไทยได้เช่นกันการปฎิรูปการศึกษาคืออนาคตของชาติ  คนรุ่นใหม่  เยาวชนไทยในอนาคตต้องเข็มแข็งด้วยความรู้  วิสัยทัศน์ที่กว้างไกล  รู้รักษาชาติและเผ่าพันธุ์ให้อยู่รอด  จากยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย   สังคมใหม่คือสังคมความรู้ที่รวดเร็วฉับใว และต้องแม่นยำ  การปรับเปลี่ยนที่สัมพันธ์กันเสมอ  เช่น  อาชญากรข้ามชาติ  เศรษฐกิจระบบใหม่  การเมืองที่แปรปรวน  การกลืนภาษาและวัฒนธรรม  การเกิดชนชั้นรุ่นใหม่  คำกล่าวการเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมชาติของสรรพสิ่งเป็นคำกล่าวที่เป็นอมตะตลอดไป  สรรพสิ่งต้องปรับตนเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ที่เปลี่ยนไป  หากสิ่งใดทำไม่ได้ก็จะสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้  การปรับเปลียนต้องเกิดขึ้นในการบริหารองค์กร  คนยุคใหม่คิดให้ไกลตัวและแยก อัตตาคือความเห็นแก่ตัวออกไปให้มากที่สุด  และคิดให้ดีให้ไกล  เช่นความคิดรู้คุณท่าน ครู  อาจารย์  ชาติ   คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม    ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก  คิดถึงการจัดระเบียบวินัยชุมชน    คิดต่อผู้อื่นในเรื่องดี ๆ  ยึดผู้รับบริการเป็นสำคัญ  และคิดเชื่อมโยงอดีต  ปัจจุบัน  เพื่อคาดการณ์อนาคต  เตรียมรับมือสิ่งต่าง ๆ  ให้พร้อมที่สุดทุกประเทศเน้นการสร้าง “ทุนมนุษย์” ให้เรียนรู้และคิดเป็นเพื่อ “สร้างนวัตกรรมใหม่”   คนไทยพร้อมกันหรือยัง

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14226เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2006 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท