ห้องเรียนพ่อแม่ ใครจะเป็นคนสอน?


ไม่มีครูมาบอกให้นอนและปลุกให้ตื่นเสียด้วย แล้วพ่อแม่จะทำอย่างไร

ลูกไม่ยอมกินผัก ลูกกลัวคนแปลกหน้า ลูกชอบนอนดึกตื่นสาย ฯลฯ ...โรงเรียนก็ไม่มีวิชาสอนกินผัก สอนให้รู้จักทักทายคนแปลกหน้า ยิ่งไม่มีครูมาบอกให้นอนและปลุกให้ตื่นเสียด้วย แล้วพ่อแม่จะทำอย่างไร

พ่อแม่ ผู้ปกครองของโรงเรียนเพลินพัฒนา มีวิธีช่วยกันเรียนรู้การแก้ปัญหา และพัฒนาลูกๆ ร่วมกัน ด้วยเครื่องมือที่เราเรียกกันว่า "ห้องเรียนพ่อแม่"

 

จากความเข้มแข็งของกลุ่มผู้ปกครอง ทำให้มีระบบของการอยู่รวมกัน คือ องค์กรครอบครัวเพลินพัฒนา ที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นผู้ปกครอง มีการเลือกตั้งตัวแทนห้องเรียน (เราเรียกกันว่า สส.) เลือกประธานสภา และคณะกรรมการบริหารฯ ภายใต้ธรรมนูญ (ข้อบังคับ) ที่ผู้ปกครองช่วยกันร่างขึ้นมากับโรงเรียน เป้าหมาย คือ การร่วมกันสร้างสังคมเข้มแข็งที่ดีงาม

 

ระบบนี้เป็นตัวขับเคลื่อนทำให้ "การจัดการความรู้" ในส่วนของผู้ปกครอง ขยายตัวในโรงเรียนขึ้นทุกวัน

 

 

ผู้ปกครองที่เพลินพัฒนา "จัดการความรู้" กันอย่างไร

 

ไม่มีอะไรดีไปกว่า ไปฟังเรื่องเล่าเร้าพลังจากผู้ปกครองเอง จึงขอคัดเรื่องของคุณพ่อท่านหนึ่ง ที่เป็นคณะกรรมการบริหารสภาครอบครัว มือใหม่ เพิ่งได้รับการเลือกตั้งขึ้นมาสดๆ ร้อนๆ มาสองเดือนนี้เองค่ะ

 

".........ผมอยากเสนอความคิดสำหรับงานพบปะส..และคณะกรรมการฯเพิ่มเติมครับ

แต่ก่อนอื่นผมขอเขียนถึงบรรยากาศงานพบปะของพ่อแม่ห้อง1/4ก่อน

นะครับ

เมื่อวันจันทร์ที่ 8 .. ห้อง1/4

คือห้องลูกสาวของผมมีงานชื่นใจ (หมายถึงงานแสดงการเรียนรู้ของนักเรียน) และคุณนก

(กรรมการผู้ช่วยเลขาฯและส..ห้อง1/4) แม่ของน้องอายซึ่งลูกอยู่ห้องเดียวกัน

ได้ชักชวนพ่อแม่ห้อง1/4

ให้มาทานอาหารกลางวันร่วมกันก่อนที่จะเริ่มงานชื่นใจของลูก



โดยในช่วงแรกที่พ่อแม่ทยอยกันมาก็นั่งทานอาหาร(นั่งพื้นนะครับ)

และคุยกันเป็นกลุ่มย่อยๆ ก็ยังเขินๆกันอยู่

หลังจากทานอาหารกันเสร็จ

เราก็ชวนให้ทุกคนล้อมวงแนะนำตัวเอง

จากนั้นก็เล่นเกมส์ตบมือเรียกชื่อวนกันไป 2รอบ ย้อนกลับ

1รอบเปลี่ยนเป็นชื่อลูกอีกรอบ จากนั้นก็แบ่งเป็น2

กลุ่มแข่งกันหันหน้ามาดวลกันใครเรียกชื่อฝ่ายตรงข้ามได้เร็วกว่ามากกว่าก็ชนะ

พอจบ 2 เกมส์นี้เราก็จำชื่อพ่อแม่และลูกๆได้หมด

และบรรยากาศก็ผ่อนคลายมีเสียงหัวเราะเป็นกันเองมากขึ้น



จากนั้นก็เป็นการแนะนำตัวส..ให้กับพ่อแม่รู้จัก

และให้ส..กล่าวชักชวนและให้พ่อแม่เห็นประโยชน์ของการร่วมกันดูแลเด็กๆทุกคนในห้องเหมือนเป็นครอบครัวใหญ่

(ยืมคำพูดของ อ.เกียรติยง* มาเล่าให้ฟังอยู่หลายประโยค) (คุณเกียรติยง ประวีณวรกุล นักจิตวิทยาคลีนิค)

จากนั้นพ่อแม่หลายคนก็เริ่มแสดงความคิดเห็น

และคำแนะนำออกมามากมาย

ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพ่อแม่ในห้อง

ซึ่งส.สก็ได้รวบรวมเอาไว้แล้ว แต่เนื่องด้วยเวลาจำกัด

ทุกคนต้องไปชื่นใจลูก

เราจึงหยุดไว้ก่อนแล้วก็มีการถ่ายรูปร่วมกัน



ที่เขียนมายาวก็เพราะอยากเล่าบรรยากาศ

ห้องเรียนพ่อแม่ของ1/4 ที่ผมคิดว่าได้เกิดขึ้นแล้ว

และในฐานะที่ผมอยู่ในงานก็รู้สึกว่า

งานผ่านไปด้วยดีและบรรลุวัตถุประสงค์

คือพ่อแม่ได้รู้จักกันหมด

มีความพร้อมที่จะร่วมมือช่วยเหลือกัน

และเริ่มเข้าใจและเห็นความสำคัญของตัวแทน(..)ของห้องตัวเอง


พอนึกถึงงานวันนั้นซึ่งมีวัตถุประสงค์คล้ายกับงานพบปะส..กับคณะกรรมการฯที่กำลังจะเกิดขึ้น

ผมเลยอยากขอเปลียนแปลงบางอย่างครับ

ผมอยากให้จัดงานแยกเป็น 3 ครั้งหรือ 4ครั้ง

โดยจะจัดกลุ่มไหนก่อนก็ได้ คือ

แยกจัดเฉพาะกลุ่มแรกส..ของระดับอนุบาล ซึ่งมี สส.

ประมาณ32 คน กลุ่มสอง ส..ของชั้น1-ชั้น3 ประมาณ 24 คน

กลุ่มสามส..ของชั้น4-ชั้น9 ประมาณ16 คน ส่วนครั้งที่4

อาจจะจัดรวมแบบสบายๆตอนหลังเพื่อขอบคุณที่ช่วยกันเสียสละทำงานก็ได้ครับ..."

 

เรื่องนี้ทำให้เราเห็นพลังของมนต์แห่งการจัดการความรู้ ที่ทำให้เกิดพลัง กำลังใจ และเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ได้ทุกที่จริงๆ

คำสำคัญ (Tags): #no tag
หมายเลขบันทึก: 142183เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2007 22:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 12:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท