ความฉลาดทางอารมณ์


องค์ประกอบทั้ง 5 ของความฉลาดทางอารมณ์ ประกอบด้วย

1. การรู้จักตนเอง (Salf awareness)   คือ การเข้าใจความรู้สึกของตนเอง และจุดมุ่งหมายของชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนการรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของตนเองอย่างไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง ซึ่งเมื่อการเข้าข้างตนเองลดลง การเปิดรับฟังผู้อื่นจะมีมากขึ้น ปัญหาต่าง ๆ ในการทำงานก็จะลดลง

2. การจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ (Manage-emotion) เป็นความสามารถในการควบคุมอารมณ์ และแสดงออกทางอารมณ์ทั้งดีและไม่ดีอย่างเหมาะสมกับบุคคลและกาลเทศะ ซึ่งอารมณ์ของคนเรามีส่วนสำคัญที่ทำให้การดำรงชีวิตประจำวันประสบผลสำเร็จ หรือมีความสุขได้ ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว

3. ความสามารถจูงใจตนเอง (Self motivation) เป็นการมองแง่ดีของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและสร้างความเชื่อมั่นว่าจะสามารถอยู่กับสิ่งนั้นได้ สามารถทำได้เพื่อให้กำลังใจที่จะสร้างสรรค์ในสิ่งที่ดีมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ในการทำงานจึงควรมองแต่แง่ดีว่าเพราะเหตุใดคุณจึงมาทำงานที่นี่ คุณต้องการอะไร เมื่อเป้าหมายชัดเจน แรงจูงใจที่ดีก็จะตามมา

4. การเข้าใจสภาวะอารมณ์ของผู้อื่น (Empathy) ปกติคนทั่วไปมักไม่ได้ทำงานคนเดียว แต่ต้องติดต่อหรือพูดคุยกับคนรอบข้าง ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ความสามารถในการเข้าใจสภาวะอารมณ์ของผู้อื่น จะทำให้การติดต่อพูดคุยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน คือความสามารถเข้าใจจิตใจของผู้อื่นว่าอยู่ในสภาวะเช่นไร มีความเห็นอกเห็นใจ ห่วงใยอาทรผู้อื่น ว่าง่าย ๆ คือ เอาใจเขามาใส่ใจเรา

5. การรู้จักสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่น (Human relationships) เป็นสิ่งสำคัญทั้งในครอบครัวในการทำงาน และสังคมการมีความสัมพันธ์ที่ดีจะทำให้ตนเองอยู่ในสังคมได้อย่างมีความหมายและอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีจะเกิดจากการแสดงออกของคุณ  โดยสร้างอารมณ์ที่ดีต่อกันเสมออย่าแสดงอารมณ์ที่ไม่ดีออกไป มีน้ำใจ ให้เกียรติ และช่วยเหลือผู้อื่น

หมายเลขบันทึก: 141914เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2007 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท