จุดประกายความคิด การจัดระดับความเหมาะสมของเว็บไซต์


ได้หารือกับกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการจัดระดับความเหมาะสมของเว็บไซต์ ข้อความคิดเบื้องต้น เราจะทำได้ไหมหนอ หรือว่า เอาแค่จัดทำให้เกิดชุมชนเว็บไซต์ หรือ จะเอาอย่าง ICRA ที่มีฉลากบอกระดับความรุนแรงของเว็บไซต์ดี แต่ที่สำคัญก็คือ เราพยายามที่จะทำให้เกิดกระบวนการของการมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชนในการร่วมคิด ร่วมสร้าง

          วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๐ ได้เข้าร่วมประชุมกับศูนย์อินเทอร์เน็ตสร้างสรรค์และปลอดภัยเพื่อเยาวชน กระทรวงศึกษาธิการ โดยหัวข้อในการประชุมหารือก็คือ การจัดเวทีห้องทดลองเชิงปฏิบัติการในการจัดระเบียบเว็บไซต์ อีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ท้าทายในโลกยุคดิจิตอล

         หากพิจารณาจากจำนวนตัวเลขของปริมาณเว็บไซต์ที่มีจำนวนกว่า ๓๕ ล้านเว็บไซต์ทั่วโลก (จากการสำรวจของ http://www.internetworldstats.com/stats.htm)นอกจากนั้น ยังมีวิธีการใช้งานในหลายรูปแบบ ทั้งการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) การสดงความคิดเห็นในกระดานข่าว (Webboard) อีกทั้ง กระดานข่าวแบบโพสต์รูป โพสต์คลิปวีดีโอในเว็บนั้นๆ รวมไปถึง การสนทนาออนไลน์ 

            ในบรรดาเว็บไซต์ที่มีมากมายเหล่านั้น ย่อมมีทั้งเว็บไซต์ที่เป็นประโยชน์ และ เว็บไซต์ที่ต้องระวังมากมายครับ ในต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีองค์กรหนึ่งที่เรียกว่า สมาคมจัดระดับความเหมาะสมของสื่ออินเทอร์เน็ต (Internet Content Rating Association) เป็นองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรที่เข้ามาช่วยจัดทำโปรแกรมสำเร็จรูปในการให้ผู้ดูแลเว็บไซต์ (ที่เรียกว่า เว็บมาสเตอร์นั่นเอง) หรือ เจ้าของเว็บไซต์ ในการเข้ามาจัดระดับความเหมาะสมของเว็บไซต์ของตนเอง หลังจากที่ผู้ดูแลเว็บไซต์เข้ามากรอกรายละเอียดในเว็บไซต์ของสมาคมนี้แล้ว  (www.esrb.org) ทางสมาคมโดยระบบเว็บไซต์นี้จะทำการออก “ฉลาก” ระบุว่าเว็บไซต์นั้น มีประเด็นการนำเสนอเรื่องอะไรที่ต้องระมัดระวัง            เรื่องที่ต้องระมัดระวังนั้น มีอยู่ด้วยกัน ๓ เรื่อง ก็คือ ประเด็นเรื่องเพศ  (Sex) ภาษา (Language) และ ความรุนแรง (Violence)

            จะเห็นได้ว่า เป็นเรื่องในมาตรฐานสากลที่นำไปใช้กับเรื่องเกมคอมพิวเตอร์ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ได้ แต่ว่ารายละเอียดจะมีความต่างกัน

          สำหรับประเทศไทย ยังมีข้อถกเถียงเกี่ยวกับการจัดระเบียบให้เว็บไซต์ที่มีอยู่จำนวนมาก อีกทั้งปัญหาเรื่องเสรีภาพในการสื่อสารในโลกไร้พรมแดน ทำให้หลายฝ่ายยังคงชั่งใจกับการจัดระดับความเหมาะสมของเว็บไซต์

        อย่างไรก็ตาม มีข้อเสนอที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การจัดชุมชนเว็บไซต์ในแต่ละกลุ่ม ซึ่งในส่วนนี้ทางกระทรวงศึกษาธิการ กำลังเริ่มต้นที่จะเข้ามาดำเนินการจัดระบบเว็บไซต์ ด้วยการจัดห้องทดลองเชิงปฏิบัติการกับเยาวชนจำนวน ๑๐๐ คน

         เวทีห้องทดลองเชิงปฏิบัติการ จะเริ่มต้นด้วยการจุดประกายความคิดเกี่ยวกับแนวทางการจัดระดับความเหมาะสมของเว็บไซต์ ซึ่งจะให้ผู้ทีเกี่ยวข้องจาก ๔ ภาคส่วน ทั้งวิชาการด้านจิตแพทย์ (คุณหมอพรรณพิมล) ภาคปฏิบัติการ (คุณวันฉัตร จาก pantip.com รวมไปถึง คุณปรเมศร์ จากสมาคมผู้ดูแลเว็บ) ภาคองค์กรพัฒนาเอกชน (พี่ศรีดา) รวมไปถึง ภาคนโยบาย (คุณสุรางคณาง จากเนคเทค)

         โดยตุ๊กตาของการทำงานก็จะทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีจำนวนคนเข้ามากที่สุดจำนวน ๑๐๐ เว็บไซต์ จากฐานข้อมูลของ www.truehits.net นำมาให้นักเรียนได้ลองจัดกลุ่มประเภทของเว็บไซต์หลักๆว่ามีอยู่กี่กลุ่มหลัก เช่น

  • กลุ่มความรู้ด้านการศึกษา
  • กลุ่มบันเทิง
  • กลุ่มสื่อทางเพศ
  • กลุ่มกระดานข่าวแสดงความคิดเห็น

         หลังจากนั้น ก็จะเริ่มจัดระดับความเข้มข้นของความรุนแรงของเนื้อหาของเว็บไซต์ในแต่ละกลุ่ม เพื่อค้นเกณฑ์ในการชี้วัดระดับความรุนแรงของเนื้อหา ผลลัพธที่ได้ก็คือ กลุ่มเว็บไซต์ และ รายชื่อเว็บไซต์เรียงลำดับความรุนแรงของเนื้อหา เพื่อเป็นต้นแบบของกิจกรรมการสร้างความรู้เท่าทันระวังในเว็บไซต์ กิจกรรมนี้ กำลังจะเริ่มต้นในเดือนหน้า

        เป็นอย่างไร ติดตามกันต่อได้

หมายเลขบันทึก: 141552เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2007 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คิดได้ลึกซึ้งมากขึ้นนะคะโก๋

อันที่จริงอยากชวนอาจารย์มาตั้งวงในเวทีด้วยครับ วันที่ 12 พย นี้ ถ้าอาจารย์ว่างอยากให้อาจารย์มาพูดถึงเรื่องเสรีภาพในการเข้าถึงการสื่อสารออนไลน์ เพื่อให้เราได้เห็นแนวคิดเร่ิมต้นครับ นะ อาจารย์นะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท