ประวัติพิธีตรุษ


ตรุษ

พิธีตรุษ

         

                คำว่าตรุษสงกรานต์  เป็นคำรวมประเพณี ๒ อย่างคือ ตรุษอย่าง ๑ สงกรานต์ ๑โดยมาก  เรียกรวมไปว่า ตรุษสงกรานต์  ในที่นี้จะแยกกล่าวเป็นอย่าง ๆ ไป                ตรุษนั้น  แปลว่า  ยินดีบ้าง  โดยความหมายว่า  ชีวิตได้ผ่านพ้นอุปสรรคและพ้นภัยอันตราย  รอดชีวิตยั่งยืนมาได้จนถึงวันนั้น  การทำพิธีตรุษ  จึงเท่ากับแสดงความยินดีต่อความยั่งยืนแห่งชีวิต  และทำบุญสุนทาน  เป็นการไม่ประมาทในชีวิต                อีกนัยหนึ่ง  ตรุษนั้น  แปลว่า  ขาด หรือ ตัด  โดยความหมายว่า  ปีเก่าขาดตอนไปแล้ว  การทำพิธีตรุษ  ก็เป็นการทำเพื่อจุดประสงค์ดังกล่าวแล้วข้างต้นเหมือนกัน                สรุปความว่า  พิธีตรุษ  เป็นพิธีเนื่องด้วยชีวิตที่จำเริญยั่งยืนสืบมาได้ในปีหนึ่ง ๆ                                                                               

ประวัติพิธีตรุษ                                คือ เมื่อพวกทมิฬได้ปกครองลังกา  คงได้ประกอบพิธีเป็นทางราชการ  และชาวลังกาตัดว่าโดยประวัติ  พิธีตรุษ  เป็นพิธีของชาวลังกา  ซึ่งรับมาจากพวกทมิฬอีกทอดหนึ่งแปลงให้เข้ากับคติพุทธศาสนา  วิธีทำนั้น  ได้ความว่า  จัดตั้งเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย  นิมนต์พระมาสวดมนต์และฉัน ๓ วัน  ในวันสุดท้าย  อุทิศส่วนบุญกุศลให้แก่สรรพสัตว์และขอพรชัยให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข                โดยทางสันนิษฐาน  ผู้รู้ได้สันนิษฐานไว้ว่า  คงได้มีพระสงฆ์ไทยไปถึงลังกา  และเห็นเขาทำพิธีตรุษ  จึงหาโอกาสศึกษาพิธีทำตรุษนั้นจนสามารถทำได้  และได้นำตำรับตำราเข้ามาสู่เมืองไทย                  บางท่านได้สันนิษฐานว่า  คงเข้ามาสู่ทางนครศรีธรรมราชก่อนแห่งอื่น  เพราะเป็นหัวเมืองตั้งอยู่ชายทะเล  และเคยเป็นประเทศราช  ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี               
คำสำคัญ (Tags): #ประวัติ#ตรุษ
หมายเลขบันทึก: 141499เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2007 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 10:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท