โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีการห้ามมิให้นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้ามาในราชอาณาจักร
|
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.
๒๔๙๐ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา
๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฏหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
|
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "
พระราชกฤษฎีกาห้ามมิให้นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้ามาในราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๔๗ "
|
มาตรา
๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
|
มาตรา ๓
ให้ยกเลิก
|
|
(๑) พระราชกฤษฎีกาห้ามมิให้นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้ามาในราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๒๕
(๒) พระราชกฤษฎีกาห้ามมิให้นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้ามาในราชอาณาจักร
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๖
|
|
มาตรา
๔ ห้ามมิให้บุคคลใดนำสัตว์น้ำที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกานี้เข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาต
จากพนักงานเจ้าหน้าที่
|
มาตรา
๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
|
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
|
|
หมายเหตุ
:-
|
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้
คือ
เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาห้ามมิให้นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้ามา
ในราชอาณาจักรที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่ครอบคลุมถึงการนำสัตว์น้ำที่ไม่มีชีวิตเข้ามาในราชอาณาจักร ทำให้มีผู้นำสัตว์น้ำ
ทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นจำนวนมาก โดยไม่มีมาตรการ
ตรวจสอบเรื่องสุขอนามัย และทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคของสัตว์น้ำหลายชนิด ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำมีชีวิตอื่นๆ
และอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ประกอบกับสมควรรวมพระราชกฤษฎีกาห้ามมิให้นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้ามาในราชอาณาจักร
ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไว้เป็นฉบับเดียวเพื่อความสะดวกในการใช้กฎหมาย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
|