การสร้างเครือข่ายงานประกันคุณภาพ QAKU


แลกเปลี่ยนเรียนรู้
********************
ระบบประกันคุณภาพการศึกษา เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการองค์กรภายในสถาบันอุดมศึกษา ภายใต้องค์ประกอบที่มีดัชนีชี้วัดความสำเร็จ โดยองค์กรสามารถกำหนดเป้าหมายความสำเร็จขององค์กรได้ ตามกรอบของมหาวิทยาลัย  ฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ระบบประกันคุณภาพ ต้องได้รับความร่วมมือและเล็งเห็นความสำคัญ ในการสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบประกันคุณภาพ โดยเริ่มต้นจากนโยบายของผู้บริหาร มาถึงการจัดทำแผนกลยุทธ์การประกันคุณภาพ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายประกันคุณภาพภายในองค์กร ปัจจุบันการดำเนินการประกันคุณภาพเป็นการติดต่อสื่อสารรับส่งข้อมูลระหว่างสำนักประกันคุณภาพและหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการสนิทสนม คุ้นเคยกัน มากกว่าที่จะเป็นการแต่งตั้งหรือทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างจริงจัง อีกทั้งบุคลากรในบางหน่วยงานที่รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการประกันคุณภาพไม่ใช่ผู้ปฏิบัติการประกันคุณภาพอย่างแท้จริง ซึ่งส่งผลให้การประกันคุณภาพดำเนินการไม่ต่อเนื่อง ชัดเจน หัวใจสำคัญที่จะสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ นั้น จึงต้องอาศัยเครือข่ายในการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร การแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน  การมีส่วนร่วมระหว่างกัน โดยมุ่งให้เห็นประโยชน์ที่แต่ละหน่วยงานจะได้รับและสามารถนำไปใช้ได้จริง  โดยมีกลยุทธ์ในการสร้างเครือข่าย ประการแรก ต้องสร้างความเข้าใจร่วมกันและตรงกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ  และแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเครือข่าย รวมทั้งประโยชน์ที่จะได้รับร่วมกัน โดยจะเป็นรูปแบบของโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้างเครือข่ายประกันคุณภาพตั้งแต่ระดับภาควิชา ไปจนถึงระดับคณะวิชา  และทุกระดับหน่วยงานภายใน
*การสร้างเครือข่าย   หมายถึง การทำให้มีการติดต่อและการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยน ข้อมูลข่าวสาร และการร่วมมือกันด้วยความสมัครใจ การสร้างเครือข่ายควรสนับสนุนและอำนวยความสะดวก ให้สมาชิกในเครือข่ายมีความสัมพันธ์กันฉันท์เพื่อน ที่ต่างก็มีความเป็นอิสระมากกว่าสร้างการคบค้าสมาคมแบบพึ่งพิง นอกจากนี้การสร้างเครือข่ายต้องไม่ใช่การสร้างระบบการการติดต่อเผยแพร่ข่าวสารแบบทางเดียว ดังนั้นเครือข่ายจึงไม่ใช่การส่งจดหมายข่าวไปให้สมาชิกตามรายชื่อเท่านั้น แต่ต้องมีการแลกเปลี่ยน ข่าวสารข้อมูลระหว่างกันด้วย    (* กองส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย ; กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
* องค์ประกอบหลักของการเป็นเครือข่าย สามารถแบ่งได้เป็น 7 ลักษณะ คือ
Ë    การรับรู้มุมมองร่วมกัน (Common perception)  คือ  สมาชิกที่เข้ามาอยู่ในเครือข่าย ต้องมีความรู้สึกนึกคิดและการรับรู้ร่วมกันถึงเหตุผลการเข้าร่วมเป็น เครือข่าย
Ë    การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Common Vision) คือ   วิสัยทัศน์ร่วม เป็นการมองเห็นภาพของจุดมุ่งหมายในอนาคตร่วมกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม การรับรู้เข้าใจถึงทิศทางทิศทางเดียวกัน และการมีเป้าหมายที่จะไปด้วยกัน
Ë    การเกิดผลประโยชน์และความสนใจร่วมกัน ( mutual interests/benefits) คือ  การรวมเป็นเครือข่ายจึงต้องตั้งอยู่บนฐานของผลประโยชน์ที่มีร่วมกัน ซึ่งผลประโยชน์ในที่นี้ครอบคลุมทั้งผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินและผลประโยชน์ไม่ใช่ตัวเงินด้วย  อาทิเกียรติยศ ชื่อเสียง การยอมรับโอกาสในความก้าวหน้า ความสุข ความพึงพอใจ ฯลฯ
Ë    การมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่ายอย่างกว้างขวาง ( all stakehoders participation)  คือ  การมีส่วนร่วมของสมาชิกในเครือข่าย นับเป็นกระบวนการที่สำคัญมากในการพัฒนาความเข้มแข็ง ของเครือข่าย เพราะกระบวนการมีส่วนร่วมทุกฝ่ายในเครือข่าย (all stakehoders in network) ย่อมเป็นเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการร่วมรับรู้ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ และร่วมลงมือกระทำอย่างเข้มแข็ง ดังนั้น สถานะของสมาชิกในเครือข่าย จึงควรเป็นไปในลักษณะของความเท่าเทียมกัน (equal status)
Ë    การเสริมสร้างซึ่งกันและกัน ( complementary relationship) คือ  องค์ประกอบที่จะทำให้เครือข่ายดำเนินไปอย่างต่อเนื่องก็คือ การที่สมาชิกของเครือข่ายต่างก็ต้องเสริมสร้างซึ่งกันและกันโดยที่จุดแข็งของฝ่ายหนึ่งไปช่วยแก้ไขจุดอ่อนของอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนหรือผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวเป็น เครือข่าย
Ë    การพึงพิงอิงร่วมกัน ( interdependence )  คือ สมาชิกต่างจำเป็นต้องพึ่งพาซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกในเครือข่ายเพื่อให้เกิดการเสริมสร้างซึ่งกันและกัน
Ë    การ ปฎิสัมพันธ์  เชิงแลกเปลี่ยน ( interaction )  คือ สมาชิกในเครือข่ายต้องทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อให้เกิดการปฎิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกด้วยกัน  จะเป็นลักษณะความสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยนระหว่างกัน (reciprocal exchange) มิใช่ปฎิสัมพันธ์ฝ่ายเดียว (unilateral exchange)
แหล่งอ้างอิง : (* กองส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย ; กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
จากการศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยนเรศวร พบว่ามีการสร้างระบบการสร้างเครือข่ายของมหาวิทยาลัย โดยอยู่ในรูปแบบของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และทุกหน่วยงานจะมีตัวแทนของหน่วยงานเข้าร่วม ซึ่งตัวแทนดังกล่าวจะเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพของหน่วยงาน โดยอยู่ในรูปแบบของโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นการประชุมแบบ Cocktail Meeting ร่วมกันประชุม ปรึกษาหารือ รวมทั้งการแสดงความความคิดเห็นในเรื่องเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคของแต่ละหน่วยงาน เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขร่วมกัน และเข้าใจตรงกันในระหว่างหน่วยงาน นอกจากนี้ที่ได้จากการศึกษาดูงานที่ศูนย์ฝึกอบรมและควบคุมระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ของมหาวิทยาลัยนเรศวร หรือเรียกว่า Center of Information Technology Communication (Citcoms)  ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดทำและดูแลข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ  พบว่า ได้มีการนำโครงการที่ดำเนินการเรียบร้อยขึ้นบนเว็บของหน่วยงานซึ่งแยกตามปีงบประมาณ รวมทั้งจัดเป็นฐานข้อมูลในการทำรายงานประเมินตนเอง (SAR) ของมหาวิทยาลัย โดยจะเป็นฐานข้อมูลส่วนกลาง และให้ทุกหน่วยงานกรอกข้อมูลเข้าไป เพื่อรวบรวมข้อมูล
จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และการแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างผู้ปฏิบัติหรือเจ้าหน้าที่ด้านการประกันคุณภาพ นั้น ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายประการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนงานประกันคุณภาพในสถาบันอุดมศึกษาให้เกิดเป็นวัฒนธรรมการประกันคุณภาพและ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุน ร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาการประกันคุณภาพ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพต้องมีความรับผิดชอบ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และมีการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน จะส่งผลให้การประกันคุณภาพ เกิดการเจริญเติบโตเป็นกลุ่มอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนขององค์กรต่อไป
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14129เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2006 11:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การสร้างเครือข่ายก่อให้เกิดการปฏิบัติงานร่วมกัน มุ่งสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาร่วมกัน เป็นประโยชน์กับการศึกษาของชาติ โดยแท้จริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท