agegism..เล่าสู่กันฟัง


agegism; เจตคติทางลบต่อผู้สูงอายุ
ดิฉันได้มีโอกาสเป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับ การดูแลผู้สูงอายุด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เมื่อวันที่ 18ต.ค 50ในงานวิชาการคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สิ่งหนึ่งที่ยังอยากขยายความรู้สึก และความคิดเห้นในเรื่องของคำว่า agegism เนื่องจากเมื่อเข้ามาคลุกคลีกับงานด้านนี้ คนทั่วไปอาจมองเรื่องของผู้สูงอายุ ได้หลายแง่มุม..โชดดีที่คนส่วนใหญ่หันมาใส่ใจกับปัญหาประชากรสูงอายุที่เริ่มวิกฤติ์ขึ้นทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2542 ที่ถือเป็นวันผู้สูงอายุสากลและเฉลิมพระเกียรติฯ72พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ประเทศไทยก็มีโครงการต่างๆเกิดขึ้นมากมาย มีผู้สนใจศึกษาและทำวิจัยด้านนี้มากขึ้นเรื่อยๆ แต่บางครั้งที่เมื่อกล่าวถึงเรื่องผู้สูงอายุ มักมีคนพูดเล่นๆว่า..เรื่องของคนแก่..แก่ก็อย่างงี้แหละ..ดิฉันมักถามกลับไปว่า แก่แล้วเป็นอย่างไร ตัวดิฉันเองก็เตรียมเป็นผู้สูงอายุแล้วเหมือนกัน ด้วยความรู้สึกว่า "อยากสูงวัยด้วยคุณภาพ"และมีความสุขในบั้นปลายของชีวิต (ถ้าบุญมีพอ ที่จะอยู่ถึงเวลาที่เรียกว่า..แก่ตายได้)หรือเมื่อทักดิฉัน..มักจะได้ยินว่า "ว่าไง..ผู้สูงอายุ" โดยส่วนตัว ดิฉันภูมิใจว่า เขาเห็นเรา expertงานด้านนี้(หรือเปล่านะ?เข้าข้างตัวเองเล็กๆ)แต่เพื่อนๆที่เคยเรียนด้วยกัน(อายุน้อยกว่าดิฉันมาก)มักจะโกรธ บอกว่าน้ำเสียงคล้ายล้อเลียน ดิฉันบอกพวกเขาว่า เราคิดมากไป..ดีเสียอีกที่เราเป้นผู้อาวุโสกว่าใครๆ ดิฉันเคยอ่านเอกสารวิชาการด้านผู้สูงอายุมามาก(ด้วยความสนใจส่วนตัว)พบว่าความสูงอายุที่กำหนดโดยจำนวนปี (chronological age)ซึ่งกำหนดด้วยการเกษียณอายุหรือหยุดจากงานเช่น ประเทศไทยใช้อายุ 60 ปี ส่วนบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา กำหนดที่อายุ 65 ปี และการแบ่งวัยสูงอายุด้วยจำนวนปีของอายุ ยังจำแนกวัยสูงอายุเป็น 3 กลุ่ม คือ(คัดลอกจาก การดูแลรักษาโรคผู้สูงอายุแบบสหสาขาวิชา สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ 2005) วัยสูงอายุตอนต้น (Young - old) อายุ 60-69 ปี วัยสูงอายุตอนกลาง (Medium-old) อายุ 70-79 ปี วัยสูงอายุมาก (Old-old) อายุ 80 ปีหรือมากกว่า การจำแนกผู้สูงอายุเป็น 3 กลุ่ม จึงไม่ได้ตัดสินว่าผู้สูงอายุเหมือนกันทั้งหมด (homogenous group) แต่ยังคงมี ข้อเสียเปรียบหรือลำเอียงเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่นผู้สูงอายุในกลุ่มสูงอายุมาก (old-old) ต้องการการรักษาที่ซับซ้อน และค่าใช้จ่ายสูง เพื่อการคงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพหรือปรับปรุงภาวะสุขภาพให้ดีขึ้น อาจถูกปฏิเสธหรือไม่ได้รับการพิจารณาเนื่องจากอายุมาก ดังนั้นการใช้อายุเป็นเกณฑ์จึงมีข้อเสียเปรียบและไม่ได้ใช้มุมมองด้านมนุษยธรรม และทางด้านวิชาการว่าด้วยผู้สูงอายุถูกมองว่าไม่มีคุณค่าหรือไม่สำคัญ จึงใช้เกณฑ์ของความสามารถในการทำหน้าที่ นอกจากนี้เมื่อคำจำกัดความของการพยาบาลหมายถึงการวินิจฉัยและการรักษาการตอบสนอง ของบุคคลทั้งที่เกิดขึ้นและเสี่ยง ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ดีในการใช้ความสามารถมากกว่าการวัดด้วยอายุหรือจำนวนปี สำหรับทีมสุขภาพจึงใช้เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญสำหรับผู้สูงอายุ คือสุขภาพกาย ความผาสุกทางจิตใจ ปัจจัย ทางเศรษฐานะ สังคม และความสามารถในการทำหน้าที่ เจตคติทางลบต่อผู้สูงอายุ (ageism) เป็นคำที่เริ่มใช้กันตั้งแต่ ศศ.1969 (Butler อ้างใน Miller, 1999) เป็นคำใหม่ในภาษาอังกฤษซึ่งมีความหมายว่าความลำเอียงและเหมารวมที่ใช้กับผู้สูงอายุ (stereotype)อาจมองผู้สูงอายุเป็นผู้ทุพพลภาพ ต้องพึ่งพาคนอื่น ตนน่ารังเกียจ น่าเบื่อ ซึมเศร้า หมดกำลังใจ เช่นผู้สูงอายุเองมักพูดว่า "แก่มาไม่มีอะไรดีซะอย่าง" หากเรามาช่วยกันให้สังคมมองเห็นสิ่งที่ดี มีคุณค่าที่มีอยู่ในตัวผู้สูงอายุเองแล้ว น่าจะทำให้เกิดแรงจูงใจ หรือการสร้าง empowerment ให้เกิดแก่ผู้สูงอายุ หรือแม้แต่ตัวเราเอง ที่มีหลากหลายวัย เป็นการรวมพลังเพื่องานด้านผู้สูงอายุต่อไปอย่างมั่นคง..
คำสำคัญ (Tags): #agegism
หมายเลขบันทึก: 140472เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2007 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 11:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท