ผลกระทบจากการก่อการร้าย สหรัฐอเมริกา


ผลกระทบจากการก่อการร้าย สหรัฐอเมริกา

การก่อการร้ายต่อสหรัฐอเมริกาและผลกระทบต่อประเทศไทย

          การปฏิบัติการช็อกโลกของกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่จี้บังคับเครื่องบินโดยสารของสหรัฐฯ พุ่งชนอาคารแฝดสูง ๑๑๐ ชั้น ของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในมหานครนิวยอร์ก อันเป็นสัญลักษณ์สำคัญทางเศรษฐกิจและการค้าของสหรัฐฯ และอาคารกระทรวงกลาโหมหรือตึกเพนตากอนที่เป็นสัญลักษณ์ทางการทหารของสหรัฐฯ เมื่อ ๑๑ กันยายน ๒๕๔๔ จนพังทลายยับเยิน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายเป็นจำนวนมาก ยังไม่นับความเสียหายทางเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลและผลกระทบทางด้านสังคมจิตวิทยาต่อประชาชนสหรัฐฯ ที่ต้องตกอยู่ในความหวาดกลัวและรู้สึกถึงความไม่มั่นคงปลอดภัยอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน          เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้สหรัฐฯ ประกาศสงครามกับการก่อการร้ายโดยพุ่งเป้าไปที่นายโอซามา บินลาเดน ผู้นำของเครือข่ายอัลเคด้า และผู้นำกลุ่มตาลิบันในประเทศอัฟกานิสถานที่ให้แหล่งพักพิงแก่ขบวนการก่อการร้าย โดยสหรัฐฯ ได้ทุ่มเททรัพยากรและดำเนินการทุกด้าน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และการทหาร อย่างเป็นขั้นตอน ตั้งแต่การแสวงหาการสนับสนุนจากพันธมิตรและแนวร่วมจากมิตรประเทศเพื่อโดดเดี่ยวกลุ่มผู้สนับสนุนการก่อการร้าย การอายัดและยึดทรัพย์สินเพื่อตัดแหล่งสนับสนุนทางการเงิน และล่าสุดการปฏิบัติการโจมตีทางทหาร ซึ่งเริ่มตั้งแต่ ตุลาคม ๒๕๔๔ และดูเหมือนว่าจะยืดเยื้อไม่ยุติลงง่าย           การปฏิบัติการตอบโต้ของสหรัฐฯ ย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศต่าง ในทุกภูมิภาคทั่วโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลาม และประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจผูกโยงกับสหรัฐฯ   รวมทั้งต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานน้ำมันจากต่างประเทศ บทความนี้จะวิเคราะห์ถึงผลกระทบดังกล่าวต่อประเทศไทย  รวมทั้งจะชี้ว่าไทยควรจะดำเนินยุทธศาสตร์อย่างไรต่อสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปลำดับเหตุการณ์และการปฏิบัติของสหรัฐฯ          นับจากวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๔๔ เวลา ๐๘๔๕ ที่เครื่องบินโดยสารลำแรกถูกกลุ่มผู้ก่อการร้ายจี้บังคับเข้าพุ่งชนอาคารเหนือของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ และอีก ๑๘ นาทีต่อมา อาคารใต้ก็ถูกเครื่องบินโดยสารเข้าพุ่งชนในลักษณะเดียวกัน โดยเครื่องบินโดยสารลำที่สามถูกจี้บังคับเข้าพุ่งชนอาคารกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือตึกเพนตากอนในเวลา ๐๙๔๓ และเครื่องบินที่ถูกจี้บังคับลำที่สี่ตกที่ซัมเมอร์เซ็ตเคาน์ตี้ มลรัฐเพนซิลวาเนีย ในเวลาประมาณ ๑๐๑๐ จนส่งผลให้อาคารที่ถูกชนพังทลายลงมา มีคนเสียชีวิตและสูญหายในเหตุการณ์นี้ถึงประมาณเกือบ ,๐๐๐ คน  สหรัฐฯ ก็ได้ประกาศสงครามกับการก่อการร้ายในทันที โดยถึงแม้จะไม่มีกลุ่มหรือขบวนการใด ออกมาประกาศเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีดังกล่าว แต่จากแนวทางการสืบสวนของหน่วยสืบสวนกลางหรือเอฟบีไอบ่งชี้ว่านายโอซามา บินลาเดน และเครือข่ายอัลเคด้ามีความเกี่ยวข้องเป็นอย่างมากกับการก่อการร้ายครั้งนี้ สหรัฐฯ จึงเริ่มปฏิบัติการตอบโต้ในทุก ด้าน อย่างเป็นขั้นตอนและเป็นรูปธรรม          เริ่มจากดำเนินมาตรการทางการทูต เรียกร้องให้รัฐบาลตาลีบันที่ปกครองประเทศอัฟกานิสถานอันเป็นแหล่งซ่องสุมที่กบดานของนายบินลาเดนและกลุ่มเครือข่ายอัลเคด้า ส่งมอบตัวนายบินลาเดนให้กับสหรัฐฯ โดยแสดงเจตนาชัดเจนว่าจะใช้กำลังทหารและดำเนินมาตรการทั้งปวงเพื่อบีบบังคับ แต่ข้อเรียกร้องดังกล่าวก็ถูกรัฐบาลตาลิบันปฏิเสธอย่างแข็งกร้าว สหรัฐฯ จึงดำเนินการทางการทูตเพื่อให้ได้การสนับสนุนจากนานาชาติทั้งที่เป็นพันธมิตร มิตรประเทศ และแม้แต่กลุ่มประเทศที่เคยเป็นอริกันมาก่อน อย่างเช่นกลุ่มประเทศในอดีตสหภาพโซเวียตที่มีพรมแดนติดกับอัฟกานิสถาน ได้แก่ อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน เป็นต้น  รวมทั้งรัสเซียและจีนเองก็ออกมาประกาศสนับสนุนการตอบโต้การก่อการร้ายของสหรัฐฯ    โดยเฉพาะประเทศปากีสถานและอินเดีย ซึ่งถูกสหรัฐฯ คว่ำบาตรทางเศรษฐกิจหลังจากทดลองระเบิดนิวเคลียร์ในปี ..๒๕๔๑ ถึงกับยินยอมให้ความร่วมมือและให้การสนับสนุนทางด้านข่าวกรองและการใช้ฐานบินเพื่อการโจมตีทางทหารอีกด้วย          ขณะเดียวกัน    สหรัฐฯ ก็ดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจโดยโน้มน้าวให้สหประชาชาติและพันธมิตรร่วมมือกับสหรัฐฯ ในการอายัดและยึดทรัพย์สินที่สงสัยว่าจะเป็นแหล่งสนับสนุนทางการเงินให้กับเครือข่ายการก่อการร้าย พร้อมทั้งเตรียมการปฏิบัติการทางทหารโดยเรียกระดมกำลังกองหนุนถึง ๕๐,๐๐๐ คน และเคลื่อนย้ายวางกำลังเตรียมพร้อมที่จะโจมตีเป้าหมายกลุ่มตาลีบันและขบวนการก่อการร้ายในอัฟกานิสถาน  ตลอดจนประสานเตรียมการสนับสนุนทางทหารแก่กลุ่มพันธมิตรฝ่ายเหนือ ซึ่งเป็นฝ่ายต่อต้านกลุ่มตาลิบันในอัฟกานิสถานเอง หลังจากดำเนินมาตรการทั้งบีบบังคับและข่มขู่  รวมทั้งโดดเดี่ยวกลุ่มตาลิบันอย่างเต็มที่แล้ว ยังไม่ได้รับการสนองตอบในการส่งตัวนายบินลาเดน สหรัฐฯ จึงเริ่มปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่อเป้าหมาย โดยเน้นใน เมืองใหญ่ ของอัฟกานิสถานคือ คาบุล  กันดาฮาร์  และจาลาลาบัด ตั้งแต่ ตุลาคม ๒๕๔๔ และปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องทุกวัน ทั้งกลางวันและกลางคืน คาดว่าเมื่อโจมตีทางอากาศจนกลุ่มตาลีบันอ่อนล้าเต็มที่แล้ว  สหรัฐฯ และพันธมิตรจะใช้กำลังทางบกปฏิบัติการกวาดล้างกลุ่มตาลิบันและขบวนการก่อการร้ายอัลเคด้า แล้วสถาปนาแนวร่วมรัฐบาลใหม่ขึ้นมาปกครองประเทศอัฟกานิสถานต่อไปปฏิกิริยาของนานาประเทศ          ภาพเครื่องบินโดยสารพุ่งชนอาคารแฝดของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์และอาคารกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ จนพังถล่มเป็นกองซากปรักหักพัง ซึ่งสร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน  รวมทั้งผลกระทบอื่น ที่ตามมาอย่างมหาศาล ทำให้ประเทศต่าง ทั่วโลกพลอยตื่นตระหนก และรู้สึกถึงความน่าสะพรึงกลัวของภัยคุกคามจากการก่อการร้าย เมื่อสหรัฐฯ ประกาศสงครามกับเครือข่ายการก่อการร้ายสากล โดยเฉพาะกลุ่มอัลเคด้าที่มีนายโอซามา บินลาเดน เป็นผู้นำ  จึงมีเสียงขานรับในเชิงสนับสนุนอย่างกว้างขวาง ทั้งประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ  นำโดยอังกฤษ และกลุ่มสนธิสัญญาป้องกัน
แอตแลนติกเหนือหรือนาโต และประเทศที่รายล้อมประเทศอัฟกานิสถาน อันมีปากีสถานเป็นหลัก  รวมทั้งอินเดีย  จีน  รัสเซีย  ประเทศในตะวันออกกลางและภูมิภาคอาเซียน อันรวมถึงประเทศไทยเองด้วย  บางประเทศถึงกับประกาศจะให้ความร่วมมือทั้งด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรองเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของเครือข่ายการก่อการร้าย และการให้ใช้ฐานทัพเพื่อการปฏิบัติการโจมตีทางทหาร ทั้งนี้เพราะประเทศเหล่านี้ต่างก็เป็นเป้าหมายการก่อการร้ายของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนหรือจ้องล้มล้างรัฐบาลที่อาศัยข้ออ้างทางศาสนาไม่มากก็น้อยด้วยเหมือนกัน          อย่างไรก็ตามเมื่อสหรัฐฯ แสดงเจตนาที่จะโจมตีอัฟกานิสถาน ก็เริ่มมีเสียงคัดค้านจากกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลามในประเทศต่าง ที่ประกาศให้การสนับสนุนสหรัฐฯ โดยเฉพาะในประเทศปากีสถานซึ่งรัฐบาลสนับสนุนการปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ แต่กลุ่มฝ่ายค้านกลับปลุกระดมมวลชนเดินขบวนต่อต้านสหรัฐฯ อย่างรุนแรง การสนับสนุนการปราบปรามการก่อการร้ายของสหรัฐฯ ในบางประเทศจึงลดความแข็งขันลงและเป็นไปด้วยความระมัดระวัง คงมีเพียงพันธมิตรกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก ที่ประกาศเคียงบ่าเคียงไหล่กับสหรัฐฯ จนถึงขั้นส่งกำลังทหารเข้าร่วมรบด้วย          หลังจากที่สหรัฐฯ เริ่มโจมตีทางอากาศต่ออัฟกานิสถาน ถึงแม้เสียงสนับสนุนการต่อต้านการก่อการร้ายจะยังคงอยู่แต่มีเสียงสะท้อนแสดงความห่วงใยในชะตากรรมของชาวอัฟกันที่ไม่เกี่ยวข้องมากขึ้น กลุ่มมุสลิมในประเทศต่าง ก็ยิ่งแสดงความไม่เห็นด้วยเพิ่มมากขึ้น เป็นแรงกดดันที่สำคัญต่อการตัดสินใจของรัฐบาลในการให้การสนับสนุนใด ต่อการปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ ยิ่งการปฏิบัติการยืดเยื้อและมีพลเรือนชาวอัฟกันสูญเสียมากขึ้นการสนับสนุนจากประเทศในภูมิภาคอาจแผ่วลง จนเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการปฏิบัติการตอบโต้ขบวนการก่อการร้ายสากลของสหรัฐฯผลกระทบโดยตรงต่อสหรัฐฯ          การโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายนอกจากสร้างความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงแก่สหรัฐฯ แล้ว ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อสหรัฐฯ ในหลาย ด้าน เป็นต้นว่า ทางด้านการเมืองภายในประเทศจะเห็นถึงความร่วมมือร่วมใจเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันของทุกองค์กร ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างรัฐบาลกับพรรคฝ่ายค้าน รัฐสภาให้การสนับสนุนและมอบอำนาจแก่ประธานาธิบดีในการดำเนินการตอบโต้การก่อการร้ายอย่างเต็มที่ มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารเพื่อความเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพในการป้องกันการก่อการร้ายโดยตั้งหน่วยงานลักษณะทบวงความมั่นคงภายใน (Homeland Security Office) กำกับดูแลการปฏิบัติงานของหน่วยเกี่ยวข้องต่าง ถึงประมาณ ๔๐ หน่วย          ทางด้านการเมืองระหว่างประเทศ เนื่องจากสหรัฐฯ ต้องการความสนับสนุนของประเทศต่าง ในการตอบโต้เครือข่ายก่อการร้ายสากล จึงพักค่านิยมในการจัดระเบียบโลกใหม่ ที่ชูประเด็นประชาธิปไตย การค้าเสรี และสิทธิมนุษยชน
ที่ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตั้งแต่ยุคสงครามเย็นสิ้นสุดลงไว้ก่อน โดยประกาศจุดยืนที่ชัดเจนเกี่ยวกับการทำสงครามกับเครือข่ายก่อการร้ายและรัฐบาลประเทศที่ให้การสนับสนุน ให้ประเทศต่าง เลือกว่าจะสนับสนุนการปราบปรามการก่อการร้ายหรือเป็นศัตรูกับสหรัฐฯ แต่ก็ระมัดระวังการปฏิบัติโดยแยกกลุ่มก่อการร้ายออกจากลัทธิความเชื่อของศาสนาอิสลาม เพื่อไม่ให้ความขัดแย้งบานปลายจนกลายเป็นสงครามศาสนา นอกจากนั้นสหรัฐฯ ยังคงใช้วิธีให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่เป็นรูปธรรมแก่ประเทศที่ให้การสนับสนุนในทันที เช่น การยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อ ปากีสถานและอินเดีย เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็แสวงหาความชอบธรรมในการปฏิบัติการตอบโต้กลุ่มก่อการร้าย  โดยแสดงหลักฐานการเกี่ยวโยงระหว่างกลุ่มก่อการร้ายกับเครือข่ายอัลเคด้าผ่านทางองค์การ
สหประชาชาติ พันธมิตร และประเทศที่ให้การสนับสนุนต่าง           ทางด้านเศรษฐกิจความเสียหายจากการโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายที่นักวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์คาดว่าจะมีประมาณ ๑๐๕,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คงไม่ส่งผลกระทบทางการเงินมากนัก แต่ผลกระทบทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภคที่จะชะลอการจับจ่ายใช้สอย และภาวะการว่างงานที่จะตามมาประมาณกว่า ๑๐๐,๐๐๐ ตำแหน่ง อันเป็นผลพวงจากภาวะการขาดทุนของภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการก่อการร้าย โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น สายการบิน โรงแรม และภัตตาคาร เป็นต้น  รวมทั้งสหรัฐฯ ยังต้องทุ่มเทงบประมาณมูลค่ามหาศาลเพื่อการสงครามต่อต้านการก่อการร้ายที่จะไม่ยุติในเวลาอันสั้น สภาวะดังกล่าวนี้คาดว่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐฯ ชะลอตัวลง ซึ่งจะกระทบต่อประเทศที่ระบบเศรษฐกิจพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) และการส่งออกไปยังสหรัฐฯ          ทางด้านการทหาร ในทันทีที่สหรัฐฯ ประกาศทำสงครามกับเครือข่ายก่อการร้ายสากลที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ และตึกเพนตากอน ก็ได้มีการเรียกระดมกำลังสำรองถึง ๕๐,๐๐๐ คน และรัฐสภายังอนุมัติงบประมาณสำหรับการปฏิบัติการทางทหารเป็นการเฉพาะเพิ่มให้อีก ,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อพุ่งเป้าหมายไปที่เครือข่ายอัลเคด้าของนายบินลาเดน ในอัฟกานิสถาน สหรัฐฯ จึงเคลื่อนย้ายและวางกำลังพร้อมที่จะปฏิบัติการโจมตีทั้งตามแบบและนอกรูปแบบ อย่างไรก็ตามการโจมตีอัฟกานิสถานคงเป็นเพียงการเริ่มต้นของสงครามต่อต้านการก่อการร้ายเท่านั้น เนื่องจากสงครามดังกล่าวประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็ยอมรับเองว่าเป็นสงครามที่ไม่มีสนามรบหรือหัวหาดให้ยึดเป็นสงคราม
ที่ยืดเยื้อ  ซึ่งสหรัฐฯ เองก็ได้รับบทเรียนที่เจ็บปวดจากสงครามเวียดนามมาแล้ว  ดังนั้นทางด้านการทหารจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนหลักนิยมและอาวุธยุทโธปกรณ์รองรับภัยคุกคามจากการก่อการร้ายในอนาคต ซึ่งอาจเป็นรูปแบบของการนำสงครามเคมี ชีวภ
หมายเลขบันทึก: 140323เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2007 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท