ผลกระทบจากการก่อการร้าย


ผลกระทบจากการก่อการร้าย

ผลกระทบจากการก่อการร้าย

สหรัฐอเมริกากับความมั่นคงแห่งชาติของไทย

• การสิ้นสุดของสงครามเย็น ระเบียบโลกใหม่ และระบบขั้วเดียว
- มีการวิเคราะห์ว่าการสิ้นสุดของสงครามเย็นอาจเริ่มจากการที่ ปธน. Gorbachev แห่งสหภาพโซเวียต กับ ปธน. George H.W. Bush (ผู้พ่อ) ได้ร่วมตกลง U.S. – Soviet Strategic partnership เมื่อเดือน ก.ค. 2534 รวมทั้ง การที่ทั้งสองประเทศได้ร่วมรบในสงครามอ่าวเปอร์เซีย
- การเผชิญหน้าระหว่าง 2 ค่ายอุดมการณ์ทางการเมืองได้ยุติลงอย่างชัดเจน ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเมื่อเดือน ธ.ค. 2534  ซึ่งติดตามมาด้วยการก่อตั้ง Commonwealth of Independence States (CIS) และการยกเลิกสนธิสัญญากรุงวอร์ซอร์ ซึ่งส่งผลทำให้สหรัฐฯ กลายเป็นมหาอำนาจหนึ่งเดียวในโลก
- ระเบียบโลกใหม่ (new world order) ซึ่ง ปธน. Bush (ผู้พ่อ) เคยกล่าวไว้ถึงความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศต่างๆ รวมทั้ง สหภาพโซเวียต และองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อขจัดภัยก่อการร้ายและสร้างความสมานฉันท์ของประเทศต่างๆในโลก กลับกลายเป็นโลกที่สหรัฐฯ ในฐานะ sole superpower เป็นผู้นำโลก
ในลักษณะขั้วเดียว (uni polar system)
- การวิเคราะห์สถานการณ์ความมั่นคงของโลกหลังสงครามเย็นแบ่งเป็นสองทางได้แก่ 1) แนวคิดที่ว่าโลกจะมีความสงบสุขมากขึ้นจากการปลอดความขัดแย้งระหว่างค่ายอุดมการณ์ และอิทธิพลของสหรัฐฯ ที่เข้าควบคุมความสงบสุข ในฐานะตำรวจโลก โดยมีสหประชาชาติเป็นศาลยุติธรรม 2) แนวคิดว่าโลกจะมีความขัดแย้งระดับภูมิภาคกระจายไปทั่วโลก เนื่องจากขาดการกำกับจากมหาอำนาจ
- สหรัฐฯ เห็นว่าจากแนวคิดข้างต้น จะสามารถสร้างสันติสุขได้จากบทบาทนำของสหรัฐฯ ที่จะควบคุมความขัดแย้งในภูมิภาคต่าง สหรัฐฯ จึงได้เข้าไปมีบทบาทจัดการเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ในภูมิภาคต่างๆ ของโลกมากขึ้น โดยเห็นได้ชัดว่าในสมัย ปธน. Clinton สหรัฐฯ ได้เข้าไปแก้ไขในยุโรปกลางและตะวันออก ซึ่งยังคงมีการแย่งชิงอำนาจ อาทิ การแก้ปัญหาบอสเนีย-เฮอร์ซิโกวีนา ซึ่งนำไปสู่การจัดทำ Dayton Peace Accords (ผู้มีบทบาทสำคัญได้แก่ นาย Richard Holbrook ซึ่งมีผู้ช่วยได้แก่นาย Christopher Hill) การแก้ผลักดันให้มีการลงนาม Declaration of Principles (DOP) หรือ Oslo Accord ระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ เมื่อปี 1993 และข้อตกลงระหว่างอิสราเอลกับจอร์แดน เมื่อปี 1994 การสนับสนุนการหยุดยิงในไอร์แลนด์เหนือ และข้อตกลงให้เกาหลีเหนือยุติโครงการนิวเคลียร์ โดยมีข้อแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนด้านพลังงาน (1994) ตลอดจน ส่งปฏิบัติการทางการทหารในโซมาเลีย ซูดาน เฮติ อัฟกานิสถาน ซึ่งหลายกรณีถูกวิจารณ์ว่าขัดกับกฏหมายระหว่างประเทศ
- ภายหลังการสิ้นสุดสงครามเย็น การแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศเปลี่ยนแปลงจากอำนาจทางทหารและอุดมการณ์ทางการเมือง และโน้มเอียงไปเป็นการแข่งขันทางเศรษฐกิจการค้า  สหรัฐฯ ได้ให้ความสนใจต่อการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศต่าง อาทิ การจัดทำ ความตกลง NAFTA เมื่อปี 1994 และส่งเสริมผลประโยชน์ของตนในองค์การการค้าโลก (WTO)


• ไทยกับสหรัฐฯ หลังสงครามเย็น
- การที่สหรัฐฯ มุ่งความสนใจปัญหาในยุโรป ตะวันออกกลาง เกาหลีเหนือ และการพัฒนาความสัมพันธ์กับจีน ประกอบการกับการบรรลุข้อตกลงในกัมพูชา (Agreement on a Comprehensive Political Settlement of the Cambodia Conflict ต.ค. 1991) จึงไม่ได้ให้ความสนใจของสหรัฐฯ ต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในด้านความมั่นคงเหมือนในสมัยสงครามเย็น  ในช่วงต้น ความเปลี่ยนแปลงจึงได้ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อไทย กล่าวคือไทยลดความจำเป็นในการพึ่งพามหาอำนาจชาติใด ชาติหนึ่งในการปกป้องรักษาความมั่นคง จึงมีอิสระในการดำเนินนโยบายต่างประเทศมากขึ้น
- อย่างไรก็ตาม ต่อมา สภาพการณ์กลับส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทยกับสหรัฐฯ ในเชิงลบ โดยเหตุการณ์ที่มักจะนำมาเป็นตัวอย่างก็คือ การที่สหรัฐฯ มีบทบาทน้อยกว่าที่ควรจะเป็นในการให้ความช่วยเหลือประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเงินในเอเชีย ซึ่งจากการประชุม APEC ที่กัวลาลัมเปอร์ สหรัฐฯ ได้ร่วมกับญี่ปุ่นกำหนดแผน Asian Growth and Recovery เพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจของประเทศที่ประสบปัญหา ซึ่งมีข้อสังเกตว่าเงินช่วยเหลือดังกล่าวไม่ใช่การให้เปล่า แต่เป็นการกู้ยืมที่มีดอกเบี้ย นอกจากนั้น ยังไม่ได้รับทันที ต้องรอการหารือของผู้เชี่ยวชาญสหรัฐฯ กับญี่ปุ่นก่อน ทั้งนี้ สหรัฐฯ ยังให้เงินความช่วยเหลือน้อยกว่าญี่ปุ่นอีกด้วย และอีกเหตุการณ์หนึ่งคือการที่สหรัฐฯ ยืนยันที่จะผลักดันนาย Michael Moore อดีต นรม. นิวซีแลนด์เพื่อการดำรงตำแหน่ง ผอ. ใหญ่ WTO ขณะที่ไทยเองมีผู้สมัครซึ่งมีความสามารถและเป็นที่ยอมรับอยู่แล้ว ส่งผลให้ต้องแบ่งวาระการดำรงตำแหน่งกัน
- ทั้งไทยและสหรัฐฯ ต่างตระหนักในเวลาต่อมา ว่าการสร้างความมั่นคงนั้น มิได้จำกัดเฉพาะด้านการเมืองและทหาร แต่ครอบคลุมไปถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจด้วย ทั้งนี้ ในการหารือระหว่าง ปธน. Clinton กับ นรม. ชวน เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 1998 จึงเสนอความช่วยเหลือให้แก่ไทยให้แก่ไทยเพิ่มเติม อาทิ การยกเลิกการซื้อเครื่องบิน F-16 การให้นักศึกษาไทยในสหรัฐฯ ทำงานได้
- ในสมัยของ ปธน. Clinton ไทยยังคงมีความร่วมมือด้านความมั่นคง แต่ได้ให้น้ำหนักไปยังการปราบปรามยาเสพติด ตามนโยบาย War on Drug ของ ปธน. Clinton ซึ่งตรงกับช่วงที่ประเทศไทยเริ่มมีปัญหาการระบาดของยาเสพติดที่ไม่ใช่เฮโรอีน อาทิ ยาบ้า (methamphetamine) ซึ่งลักลอบนำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีความร่วมมือระว่าง DEA และ Narcotics Affairs Section-NAS ของ สอท. สหรัฐฯ กับ ปปส. และ กระทรวงสาธารณสุข ทั้งในด้านการป้องกัน การบำบัดรักษา การฟื้นฟู และให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และเมื่อเดือน ก.ย. 1998 รมว. สุรินทร์ฯ กับ ออท. สหรัฐฯ ได้ร่วมลงนามจัดตั้งสถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย (International Law Enforcement Academy - ILEA) เพื่อสนับสนุนความร่วมมือในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษในประเด็นการต่อต้านยาเสพติด


• ผลกระทบจากการก่อการร้าย
- เป็นที่สังเกตว่าแม้สหรัฐฯ จะกล่าวถึงการปราบปรามการก่อการร้ายมาก่อนหน้านี้ แต่การดำเนินการยังคงไม่ต่อเนื่อง ดังจะเห็นจากภายหลังที่ สอท. สหรัฐฯ ในเคนยา และแทนซาเนีย ถูกผู้ก่อการร้ายระเบิดเมื่อเดือน ส.ค. 1998 สหรัฐฯ เพียงแต่ใช้ Cruise missiles ยิงทำลายฐานที่ตั้งผู้ก่อการร้ายในอัฟกานิสถานและซูดาน โดยมีได้มีปฏิบัติการทางทหารต่อเนื่อง แม้ว่านาย Osama bin Laden ซึ่งสหรัฐฯ เชื่อว่าอยู่เบื้องหลังการก่อการร้ายในครั้งนั้นยังรอดชีวิตจากการโจมตีของสหรัฐฯ การดำเนินการที่ค่อนข้างจำกัดของ ปธน. Clinton ในครั้งนั้นถูกวิจารณ์ในเวลาต่อมาว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ 11 ก.ย. ด้วย
- เหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2544 ทำให้นโยบายของสหรัฐฯ มุ่งความสนใจเกือบทั้งหมดไปยังการต่อต้านการก่อการร้าย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการภายในประเทศนั้น สหรัฐฯ ได้มีมาตรการต่างๆ ได้แก่โดยออกกฎหมาย Patriot Act (Oct 24, 2001) การก่อตั้งกระทรวง Homeland Security เพื่อดูแลงานด้านการป้องกันการก่อการร้ายและรักษาความปลอดภัยของประเทศโดยเฉพาะ โดยมีการปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างหน่วยงานด้านการรักษาความปลอดภัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีความเป็นเอกภาพ โดยรวมถึงการก่อตั้ง Office of the Director of National Intelligence ที่เป็นหน่วยงานกลางเพื่อประสานหน่วยงานความมั่นคง ทหารและ

• การเพิ่มอิทธิพลของ Neo Conservative
- กลุ่ม neo conservative ได้กลับเข้ามามีบทบาทสำคัญอีกครั้งในฝ่ายบริหารของสหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงด้านการระหว่างประเทศ หลังจากที่กลุ่มแนวคิดนี้มีอิทธิพลลดลงในการกำหนดนโยบายต่างประเทศในช่วงของอดีต ปธน. บุช (ผู้พ่อ) และ ปธน. Clinton รวมทั้งช่วงต้นของ ปธน. Bush ซึ่งสหรัฐฯ ใช้นโยบายการทูตส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีกับรัสเซีย ไม่ได้ให้ความสนับสนุนอย่างพอเพียงต่ออิสราเอล และการมี non-confrontational policy ต่อจีน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่สหรัฐฯ มีหนังสือแสดงความเสียใจกรณีเครื่องบิน EP-3 บินเข้าน่านฟ้าจีนและลงจอดโดยไม่ได้รับอนุญาต และรู้สึกเสียใจอย่างมาก-very sorry-ต่อการสูญเสียนักบินจีน เมื่อเครื่องบินจีนชนกับเครื่องบินสอดแนมสหรัฐฯ เมื่อเดือน ส.ค. 2001) ตลอดจนการลดงบประมาณทางทหาร
- กลุ่ม neo conservative มีแนวคิดมุ่งรักษาผลประโยชน์ ความมั่นคงของสหรัฐฯ เป็นเป้าหมายสูงสุดโดยดำเนินการในทุกวิถีทาง ซึ่งบางครั้งอาจยอมรับกติการะหว่างประเทศหากสนับสนุนผลประโยชน์ของตน แต่ก็พร้อมจะดำเนินการฝ่ายเดียวหากกติกาเหล่านั้นไม่เป็นไปตามที่สหรัฐฯ ต้องการซึ่งจะเห็นได้จากการปฏิบัติการโจมตีอัฟกานิสถานหลังเหตุการณ์ 9/11 และอิรักหลังจากเห็นว่า IAEA ยังไม่พบอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงในอิรัก อย่างไรก็ตาม เพื่อสร้างความชอบธรรม (legitimacy) นโยบายเหล่านี้มักถูกนำเสนอต่อสาธารณะในลักษณะหลักนิยมหรือลัทธิ (doctrine)
- เอกสาร National Security Strategy of the United States of America เมื่อเดือน ก.ย. 2002 ถูกกล่าวว่าสะท้อนถึงสิ่งที่เรียกว่า Bush Doctrine สรุปได้ ดังนี้
 1. Preemption ให้สหรัฐฯ มีสิทธิโจมตีก่อนหากพบว่ามีการคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยของสหรัฐฯ
 2. Unilateralism สหรัฐฯ จะมีปฏิบัติการทางทหาร หากการดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยพหุภาคีล้มเหลว
 3. Strength beyond Challenge สร้างเสริมกำลังทหารของสหรัฐฯ ให้สูงกว่าภัยคุกคาม ซึ่งหมายถึงการดำรงฐานะมหาอำนาจหนึ่งเดียวของโลก (ลักษณะเดียวกับในสมัยที่สหราชอาณาจักรขยายอำนาจทาทะเล โดยกำหนดว่ากองเรือสหราชอาณาจักรจะต้องใหญ่กว่า กองเรือของประเทศมหาอำนาจทางทะเลอันดับ 2 และ 3 รวมกัน)
 4. Extending Democracy, Liberty, and Security to all Regions สหรัฐฯ เชื่อว่าการส่งเสริมประชาธิปไตยในภูมิภาคต่างๆ จะเป็นการส่งเสริมความมั่นคงของสหรัฐฯ


• ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ หลังการก่อการร้าย 11 กันยายน 2544 ความมั่นคงทางการเมืองการทหาร การต่อต้านการก่อการร้าย
- เพื่อรักษาความมั่นคงของสหรัฐฯ ไม่ให้ภัยคุกคามเข้าถึงผืนแผ่นดินสหรัฐฯ สหรัฐฯ ตระหนักว่าจำเป็นต้องเพิ่มความร่วมมือกับมิตรประเทศมากขึ้น ซึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น สหรัฐฯ เห็นว่ายังคงมีความเสี่ยงจากการขยายตัวของเครือข่ายการก่อการร้าย อาทิ JI และเป็นทางผ่านของการก่อการร้ายเนื่องจากเป็นประเทศเปิด
- การที่ นรม. เดินทางเยือนสหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 13-19 ธ.ค. 2541 ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ดีขึ้น โดยสหรัฐฯ ตระหนักถึงมิตรภาพในยามยาก นรม. ได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และได้แสดงความพร้อมที่จะให้ความสนับสนุนสหรัฐฯ และนานาชาติในการต่อสู้กับการก่อการร้าย และการฟื้นฟูอัฟกานิสถาน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกันพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
- สหรัฐฯ เพิ่มความร่วมมือกับไทยด้านการต่อต้านการก่อการร้ายมากขึ้น ทั้งในกรอบทวิภาคี และในกรอบ APEC ซึ่งประกอบด้วย Personal Identification Secured Comparison and Evaluation System: PISCES/ Container Security Initiative: CSI /และ ในกรอบ APEC ได้แก่ Advance Passenger Information: API/ Secure Trade in APEC Region (STAR)/ Bangkok/Leam Chabang Efficient and Secure Trade: BEST โดยไทยได้รับประโยชน์จากความร่วมมือดังกล่าวอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม การขยายความร่วมมือในด้านนี้ ต้องคำนึงถึงความละเอียดอ่อน การทหาร
- ในด้านการทหาร ไทยได้ส่ง กองร้อยทหารช่างเฉพาะกิจ 975 ไทย/อัฟกานิสถาน  จำนวน 130 นาย ไปสนับสนุนการบูรณะฟื้นฟูประเทศอัฟกานิสถาน ตามการร้องขอของสหรัฐฯ ระยะเวลาการปฏิบัติภารกิจ 6 เดือน ตั้งแต่ มี.ค. - ก.ย. 2546  ปฏิบัติภารกิจซ่อมแซมท่าอากาศยานบากรัม และการจัดชุดแพทย์สนับสนุนหน่วยทหารช่างของสหรัฐฯ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ตลอดจนการจัดชุดแพทย์ร่วมกับหน่วยเกาหลีใต้ ให้การรักษาพยาบาลประชาชนชาวอัฟกานิสถาน บริเวณพื้นที่หมู่บ้านโดยรอบสนามบินบาแกรม และพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย ผลการปฏิบัติงานโดยรวมของหน่วย ต่อมาไทยจัดส่ง  กกล.ฉก. 976 443 นาย ไปปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมในเมืองคาบาลาของอิรัก ตั้งแต่เดือน ก.ย. 46- ก.ย. 47 (2 ผลัด) ทั้งนี้ การที่ไทยยังคงปฏิบัติหน้าที่จนครบวาระแม้จะสูญเสียกำลังพล 2 นาย (ธ.ค. 2546) ทำให้สหรัฐฯ มีความซาบซึ้งต่อความมุ่งมั่นของไทยอย่างมาก
- การความร่วมมือดังกล่าวข้างต้นประกอบกับความใกล้ชิดทางทหารระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงการฝึกซ้อม Cobra Gold (จะครบรอบ 25 ปี ในปี 2006) ทำให้สหรัฐฯ ประกาศมอบสถานะ Major Non NATO Ally (MNNA) ให้แก่ไทยระหว่างการเยือนไทยในฐานะพระราชอาคันตุกะในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และการเข้าร่วมประชุม APEC 2003 เมื่อเดือน ต.ค. 2546
- เพื่อตอบโต้กับภัยคุกคามรูปแบบใหม่สหรัฐฯ ปธน. บุช ได้ประกาศเมื่อวันที่ ปธน. Bush  ทบทวนยุทธศาสตร์การจัดวางกำลังทหาร (US Global Posture Review) โดยจะลดกำลังทหาร 6-7 หมื่นนายทั้งจากยุโรปและเอเชียภายใน 10 ปีข้างหน้า โดยหันมาพึ่งพาการใช้กองกำลังเคลื่อนที่เร็วขนาดเล็กที่มีความยืดหยุ่นสูงแทน อย่างไรก็ตาม สอท. สหรัฐฯ ได้แจ้งต่อกรมอเมริกาฯ ว่าสหรัฐฯ ยังคงยึดมั่นในพันธะด้านความมั่นคงที่มีต่อพันธมิตรรวมทั้งไทย
  การปรับเปลี่ยนครั้งนี้ อาจส่งผลให้สหรัฐฯ จำเป็นต้องแสวงหาความร่วมมือจากพันธมิตรมากขึ้น อาทิการขอใช้สิ่งอำนวยความสะดวกทางทหาร หรือ การจัดการฝึกร่วมเพื่อให้สามารถลดกำลังพลในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบสถานะของไทยในภูมิภาคและสถานการณ์ภายในประเทศได้ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
- ไทยกับสหรัฐฯ มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดทางเศรษฐกิจ โดยสหรัฐฯ เป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย โดยเมื่อปี 2547 การค้ารวมระหว่างกันมีมูลค่า 22,714 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.9 ของการค้าต่างประเทศของไทยทั้งหมด โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า 8,302 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
- เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2546 ปธน. Bush และ นรม.  ได้ประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะเจรจาจัดทำ FTA ไทย – สหรัฐฯ โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2545 ไทยได้ลงนามกรอบความตกลงด้านการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Framework Agreement - TIFA) กับสหรัฐฯ แล้ว ซึ่งจากการแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศอื่น ๆ เช่น จีนและเม็กซิโกในตลาด สหรัฐฯ สินค้าไทยมีแนวโน้มจะแข่งขันได้ยากขึ้น ไทยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดทำ FTA กับสหรัฐฯ เพื่อรักษาตลาดสหรัฐฯ ตลอดจนขยายตลาดในสินค้าและบริการที่ไทยมีศักยภาพ โดยคาดว่า FTA กับสหรัฐฯ จะช่วยขยายความสัมพันธ์ ทางเศรษฐกิจ ในระยะยาว ลดอุปสรรคทางการค้า และดึงดูดการลงทุนจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
- ในส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปธน. Bush ประกาศนโยบาย Enterprise for ASEAN Initiative เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาการค้ากับประเทศสมาชิกอาเซียน โดยได้ลงนามความตกลง FTA กับสิงคโปร์และลงนามความตกลง Trade and Investment Framework Agreement (TIFA) หลายประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และไทย ซึ่งในส่วนของไทยได้พัฒนาต่อเป็นการเจรจาเพื่อจัดทำความตกลง FTA รวมทั้ง การมี Normal Trade Relation (NTR) กับเวียดนามและกัมพูชาภาวะปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต
- ไทยตระหนักดีว่าบทบาทของสหรัฐฯ มีความสำคัญต่อความมั่นคงของไทยและภูมิภาคทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการดำเนินความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ แม้ฝ่ายไทยจะได้รับประโยชน์ อาทิ ในประเด็นการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติซึ่งถือเป็นปัญหาสากลและเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของไทย แต่ก็ต้องมีความระมัดระวังต่อสถานะของไทยและความสมดุลในภูมิภาค และความละเอียดอ่อนของสถานการณ์ภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผ่านมาสหรัฐฯ ยึดมั่นในการดำเนินการแบบ unilateralism อย่างรุนแรง ซึ่งมีอิทธิพลจากกลุ่ม neoconservative ซึ่งทำให้บางครั้งสร้างความกดดันให้กับไทย
- ในภาวะปัจจุบันที่สหรัฐฯ ประสบความสูญเสียในอิรักที่ยังคงยืดเยื้อ โดยยังไม่สามารถหา exit strategy ได้ ซึ่งมีผลกระทบต่อคะแนนความนิยมของ ปธน. Bush ซึ่งยังคงตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง (เหลือ 39% จากที่เคยสูงถึง 90% ภายหลังเหตุการณ์ 11 ก.ย.) ทำให้คณะบริหารของ ปธน. Bush ต้องตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกับนานาชาติมากขึ้น โดยไม่อาจใช้นโยบายแข็งกร้าวฝ่ายเดียวได้ต่อไป ซึ่งจะเห็นได้จากการผลักดันการเจรจา 6 ฝ่ายกรณีเกาหลีเหนือก็ต้องได้รับความร่วมมือจากจีน การเจรจาแก้ไขปัญหาตะวันออกกลางที่ต้องได้รับความร่วมมือจากยุโรปและรัสเซีย และแม้กระทั่งการรับมือกับผลกระทบของพายุเฮอริเคน Katrina คณะผู้บริหารสหรัฐฯ ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสาธารณชนอย่างมากว่าไม่ตอบสนองต่อความช่วยเหลือจากต่างประเทศอย่างพอเพียงและทันท่วงที
- สภาวะการณ์ข้างต้น น่าจะทำให้ไทยดำเนินนโยบายอย่างเป็นอิสระมากขึ้นซึ่งจะเป็นผลดีต่อการส่งเสริมความมั่นคงของทั้งสองฝ่าย สหรัฐฯ เองก็มีความเข้าใจสภาพการณ์ของไทยมากขึ้น อาทิ ไม่ได้ขอร้องให้ไทยเข้าร่วมส่ง จนท. ไปในอิรัก การลดแรงกดดันต่อไทยกรณีพม่า การไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับสถานการณ์ภาคใต้ และการยอมรับอิทธิพลของจีนในภูมิภาค ทั้งนี้ การรักษาระยะความใกล้ชิดกับสหรัฐฯ น่าจะเป็นประโยชน์กับสหรัฐฯ มากกว่าที่ไทยจะถูกระบุว่าเป็นฝ่ายสหรัฐฯ ในลักษณะเดียวกับสิงคโปร์หรือญี่ปุ่น ซึ่งจะทำให้ความน่าเชื่อถือของไทยในภูมิภาคลดลงและความสามารถเป็นตัวเชื่อมให้กับสหรัฐฯ ก็จะลดลงเช่นกัน
- การพบหารือระหว่าง นรม. กับ ปธน. Bush ที่ทำเนียบขาวเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2548 ได้สะท้อนถึงการยอมรับไทยอย่างจริงจังในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ โดยได้ตกลงที่จะจัดทำ Plan of Action ผลักดันให้การเจรจา FTA บรรลุผลในปี 2549 รวมถึงให้มีการหารือยุทธศาสตร์ความสัมพันธ์ ไทย-สหรัฐฯ ซึ่งได้หารือไปเมื่อวันที่ 7-8 พ.ย. 2548 การดำเนินการเหล่านี้ได้ครอบคลุมถึงการส่งเสริมความร่วมมือในมิติที่นอกเหนือไปจากประเด็นทางทหาร แต่ครอบคลุมไปยังมิติทางเศรษฐกิจ การสร้างความเข้าใจผ่านการศึกษา การต่อต้านโรคระบาด และการสร้างความมั่นคงของมนุษย์
- แนวโน้มในอนาคตนั้น ยังคงต้องโน้มน้าวให้สหรัฐฯ เห็นความสำคัญที่จะคงบทบาทที่สร้างสรรค์ในภูมิภาคซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายความมั่นคงของโลก โดยไทยสามารถสนับสนุนสหรัฐฯ ในฐานะที่เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างสหรัฐฯ กับภูมิภาค (ไทยเป็น coordinator ระหว่างสหรัฐฯ กับอาเซียน) การผลักดันให้เกิดการพบหารือระหว่าง ปธน. Bush กับผู้นำอาเซียนที่ APEC 2005 ปูซาน เป็นการยืนยันถึงศักยภาพของไทย  อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมบทบาทของไทย ควบคู่กับการสร้างสมดุลของอำนาจอื่นในภูมิภาค อาทิ จีน อินเดีย และอาเซียน (ซึ่งได้ประกาศกระชับ คสพ. เป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูน- Enhanced Partnership เมื่อ 28 ก.ค. 48) จะเป็นการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการดำเนินการนโยบายต่างประเทศของไทยไปในทิศทางส่งเสริมเสถียรภาพมั่นคงของไทยมากที่สุด

หมายเลขบันทึก: 140319เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2007 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท