Post Modern in Iraq


เลือดไม่ใช่น้ำตา:บทสรุปสงครามเลบานอน – อิสราเอล

                สรุปก็คือ  การบูรณะฟื้นฟูอิรักเป็นปัญหาใหญ่มากของอิรักยุคหลังซัดดัม  ซึ่งมิใช่เป็นปัญหาที่จะแก้ไขไปได้อย่างรวดเร็ว  เนื่องด้วยอุปสรรคนานัปการที่แวดล้อมอยู่ทุกด้านดังที่ได้กล่าวมาแล้ว                                                                                                                                                                              อารัญ เจียมอยู่ได้วิเคราะห์ถึงสงครามอิรักว่า  สงครามอิรักในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า สหรัฐฯเป็นประเทศที่มีพลังอำนาจมากที่สุดของโลก และเป็นผู้จัดระเบียบโลกตามแนวทางที่ สหรัฐฯต้องการโดยอาศัยองค์การสหประชาชาติเป็นเครื่องมือ และสหรัฐฯ ก็ยังแสดงบทบาทเพื่อทำหน้าที่แทนสหประชาชาติในการสถาปนาระบบการปกครองใหม่ในอิรัก และการมีส่วนในการบูรณะและฟื้นฟูประเทศอิรัก เพื่อต้องการผลประโยชน์ให้กับประเทศตนเอง และจำกัดบทบาทประเทศต่างๆ ที่ไม่ใช่พันธมิตรในการรบครั้งนี้คอยให้การช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมเท่านั้น
                สงครามอิรักยังแสดงให้เห็นถึงการทำลายความน่าเชื่อถือขององค์การสหประชาชาติในโครงสร้างการจัดระเบียบโลก ซึ่งจะนำไปสู่ความสับสนวุ่นวายทางการเมืองระหว่างประเทศ เพราะมีประเทศมหาอำนาจใช้เป็นแนวทางคือ การทำสงครามนั้นเป็นเครื่องมือในการตัดสินปัญหาความขัดแย้ง จึงทำให้ความร่วมมือของประเทศต่างๆ ของสหประชาชาติในการรักษาสันติภาพระหว่างประเทศก็อาจลดน้อยลงตามไปด้วย
การเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองในอิรัก แล้วสถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยขึ้นในอิรัก นั้นคงทำได้ยากหรือ ไม่ก็ทำไม่ได้เลย เนื่องจาก ในอิรักมีกลุ่มหลายกลุ่มที่หลักๆ ได้แก่ ชาวสุหนี่ ชาวชีอะห์ และชาวเคิร์ด ซึ่ง ชาวสุนีย์ กับ ชาวชีอะห์ มีความขัดแย้งตั้งแต่อดีตกาลมาแล้ว สำหรับชาวเคิร์ด ก็พร้อมที่จะแยกดินแดนออกเป็นรัฐอิสระ ส่งผลกระทบต่อความเสถียรภาพ และความมั่นคงของประเทศ  สงครามอิรักได้ตอกย้ำความรู้สึกแค้นใจของประชาชนในประเทศมุสลิม จากการที่มองว่าสหรัฐฯเป็นผู้สนับสนุนอิสราเอลในการทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์ และมองได้ว่าสหรัฐฯ ทำสงครามเพื่อหวังผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากแหล่งน้ำมันในอิรัก เป็นการรังแกชาวมุสลิมจึงมีการตอบโต้ด้วยวิธีการที่รุ่นแรง คือการก่อการร้ายในทุกรูปแบบ จากแนวโน้มของสถานการณ์ จะเห็นได้ว่ากระแสการก่อร้ายจะขยายตัวเพิ่มขึ้น และอาจกระจายไปทั่วทุก ภูมิภาคในโลกโดยเฉพาะเป้าหมายผลประโยชน์ของสหรัฐฯและพันธมิตร
สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจทำให้เกิดแนวร่วมและผู้สนับสนุนการก่อการร้ายต่อเป้าหมายผลประโยชน์ของสหรัฐฯ และพันธมิตรที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคนี้เพิ่มมากขึ้น จนทำให้สหรัฐฯ ใช้เป็นเหตุผลในการเข้ามาแทรกแซงโดยอาศัยทั้งมาตรการทางเศรษฐกิจและการทหารเพื่อการต่อต้านการก่อการร้ายดังกล่าว อีกทั้งกระแสการก่อการร้ายดังกล่าวจะทำให้ขบวนการก่อการร้ายในภูมิภาค เช่น มูจาฮีดีนมาเลเซีย เบอร์ซาตู และเจไอ ที่มีความโยงใยเกี่ยวพันกับเครือข่ายก่อการร้ายสากลซึ่งเป็นกลุ่มอัลเคด้า ใช้เป็นข้ออ้างในการเรียกร้องความยุติธรรมและความเสมอภาค หรือ การแยกดินแดนปกครองตัวเอง ซึ่งจะส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม จนนำไปสู่ปัญหาความมั่นคงในภูมิภาคได้
 อย่างไรก็ตามเมื่อวิเคราะห์ระหว่างสงครามอิรักกับสถานการณ์ไม่สงบในพื้นที่ ๓ จังหวัดภาคใต้ของไทยนั้น มีความเกี่ยวโยงกันหรือไม่ ซึ่งสามารถที่จะสรุปได้ว่าสงครามอิรักกับสถานการณ์ไม่สงบในพื้นที่ ๓ จังหวัดภาคใต้ของไทยนั้น มีความเกี่ยวโยงกันโดยทางอ้อมในลักษณะที่ว่าขบวนการก่อการร้ายข้ามชาติในตะวันออกกลางโดยเฉพาะกลุ่มอัลเคด้าของนายโอซามา บิน ลาเดน ให้การสนับสนุน ขบวนการก่อการร้ายข้ามชาติระดับภูมิภาคและขบวนการก่อการร้ายภายในประเทศ เช่น การให้ทุนการศึกษา การส่งครูมาสอนในโรงเรียนปอเนาะ การส่งคนมาช่วยในการวางแผน การให้ที่หลบซ่อนในต่างประเทศให้กับขบวนการ และ การให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ อีกทั้งสถานการณ์ไม่สงบในพื้นที่ ๓ จังหวัดภาคใต้ของไทยนั้น ยังเป็นตัวบ่งชี้ถึงการแพร่กระจายของการก่อการร้ายมายังประเทศไทย

ดังนั้นสงครามที่อิรักบอกอะไรเราได้บ้าง  สงครามอิรักบอกถึงปรากฏการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปที่มีระบบที่เรียกว่า  พหุภาคีซึ่งประสบความล้มเหลว  ความล้มเหลวในความหมายทางการเมืองจะเห็นได้ชัดเจนในโลกพหุภาคีนิยม  ที่เรียกว่า  เอกภาคีนิยม  กล่าวคือ  ประเทศหนึ่งใช้อำนาจโดยพลการแสดงสิทธิและอำนาจในการควบคุมทิศทางของโลก  ปรากฏการณ์สงครามโลกกำลังเปลี่ยน  และบางส่วนก็เปลี่ยนไปมากแล้ว            โลกนี้ยังประกอบไปด้วยโครงสร้างแบบพหุภาคีนิยมซึ่งไม่ค่อยเข้มแข็ง  แต่ในความชอบธรรมระดับโลกยังมีความเข้มแข็งอยู่ไม่น้อย  แม้ว่าการตัดสินใจในหลายเรื่องไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าไรเห็นได้ชัดเจน  แต่ความชอบธรรมของเอกภาคีนิยมคงไม่อาจที่จะปิดบังความสำคัญของกติกาที่พหุภาคีได้เห็นพ้องต้องกัน  เช่น  สหประชาชาติทำหลาย ๆ เรื่องได้  โลกกำลังอยู่ในภาวะที่เลวร้ายลงไปมาก  สงครามอิรักได้บอกเราว่าโลกอยู่ในภาวะที่ไม่แน่นอนมากยิ่งขึ้น  โลกอยู่ในภาวะซึ่งขาดเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง                               

                สงครามอิรักบอกว่าโลกนี้มันมีการใช้อำนาจรุนแรงตัดสินปัญหา  โลกหลังสงครามอิรักมันอยู่ในความไม่แน่นอน  และความไม่แน่นอนนี้มันโยงไปถึงความไม่มั่นคงในชีวิตของคนด้วย  ไม่ใช่แค่ความไม่มั่นคงในระบอบหรือในด้านเสถียรภาพระบบการเมือง  แต่มันโยงมาถึงความไม่มั่นคงในชีวิตเราด้วย 

                สังคมอเมริกาจริง ๆ แล้ว  กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างมาก  คนที่มีความคิดแตกต่างไม่ใช่แตกต่างแล้วยังคุยกันได้  แต่เดี๋ยวนี้มันมีความเกลียดชังระหว่างคนที่คิดแตกต่างกัน คือ ไม่ยอมรับคนที่คิดแตกต่างจากตนเอง  ความรุนแรงทีเกิดขึ้นมีมากขึ้น  การแตกแยกกันในอเมริกาทำให้อเมริกาเหมือนความหมายเดียวแบบประเทศอเมริกาหรือประเทศบุชอย่างเดียวไม่ได้  โลกปัจจุบันที่ไม่แน่นอนสูง  ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงอย่างมากและรวดเร็ว มักคุกคามมาถึงชีวิตเราและคุกคามมาถึงการรับรู้ของเราต่อโลกนี้ด้วย  ซึ่งเป็นความไร้ศีลธรรมของระบบการเมืองของตนเอง  ในส่วนนี้มีความจำเป็นเหมือนกันที่เราต้องถามตัวเองว่า  สงครามครั้งนี้ทำให้ผู้คนทั้งหลายยังคงดำรงความเป็นมนุษย์ปกติได้แค่ไหน หรือเรากลายเป็นผู้ชมในสงครามที่มีผู้แพ้ผู้ชนะ  ใครรู้จักฉวยโอกาส  มีความชาญฉลาดในการช่วงชิงโอกาส

                สงครามอิรักบอกอะไรกับเราบ้าง  โลกขณะนี้ที่อยู่ในกระบวนการก่อรูปก่อร่างที่หาทิศทางที่มีหลายทิศทาง  ที่เรียกว่า  เอกภาคีนิยมบวก  แต่อยู่ในกระบวนการที่ผู้นำรัฐผู้นำประเทศ  ระบบรัฐอย่างเดียว  ซึ่งไม่สามารถจะช่วยให้โลกมีเสถียรภาพได้  ผู้นำรัฐอาจจะแสดงความมีเสรีภาพระหว่างรัฐ  แต่ดูเหมือนสร้างความคุกคามกับความมีชีวิตเป็นปกติสุขของคนในสังคมกันมากขึ้น  การวิเคราะห์การเมืองที่ปราศจากศีลธรรม  คือ  การเมืองเชิงอำนาจ  ได้กลายเป็นสำนึกคิดที่ครอบงำความคิด  การมอง  แต่เราควรจะร้องถามหาการเมืองที่มีมนุษยธรรมและศีลธรรมกันมากขึ้น  ไม่ใช่แต่ตัวละครของการเป็นตัวแทนบริจาคการเลือกตั้งของนายบุชเท่านั้น  ยังมีตัวละครอื่น ๆ ที่เรียกว่า  องค์กรพัฒนาเอกชน  (NGO)  ถ้าเรียกให้กว้างหน่อย ก็คือ ประชาคมระหว่างประเทศ โลกไม่ใช่กระบวนการลอย ๆ ที่ไม่มีตัวละคร ตัวละครใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นท่ามกลางความมีศีลธรรม และการเมืองที่ใช้อำนาจเป็นตัวตัดสิน

                สงครามยังบอกอีกว่า  โลกกำลังใช้ความขัดแย้งเพิ่มขึ้น  ตอกย้ำว่า  ดูเหมือนจะมีความรุนแรงมากขึ้น  ความรุนแรงนี้ดึงมาสู่ความรุนแรงในประเทศด้วย  สังคมบางส่วนดูเหมือนจะยอมรับความรุนแรงในการแก้ปัญหา  กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการด้วย  และดูเหมือนว่าจะเป็นความชอบธรรมไปอีกด้วย                 บรรณานุกรมประทุมพร วัชรเสถียร. 2547. อิรัก: วิกฤตการณ์? 2003(ออนไลน์). สืบค้นจาก   http://www.thaiwac.ias.chula.ac.th (12 กันยายน 2549)

สำนักข่าว : ไอเอ็นเอ็น http://www.thaiislamic.com (25 กันยายน 2549)

อุทัยวรรณ เจริญวัย. ม.ป.ป. อิรัก-รัฐบาลใหม่ : จะมีไปทำไมรัฐมนตรีท่องเที่ยว? (ออนไลน์) .สืบค้นจาก http://www.prachatai.com  (1 ตุลาคม 2549)อารัญ เจียมอยู่.  2546. วิเคราะห์สงครามอิรักภายหลังวันที่ ๑ พ.ค.๔๖ (ออนไลน์). สืบค้นจาก                             http://www.navy.mi.th (26 กันยายน 2549)
คำสำคัญ (Tags): #ตะวันออกกลาง
หมายเลขบันทึก: 140093เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2007 14:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 13:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท