ถอดความจากการสัมมนาวิชาการ(ต่อ)


เลือดไม่ใช่น้ำตา:บทสรุปสงครามเลบานอน – อิสราเอล
 

                คุณฮาฟิซ สาและ: อาจารย์มีคำถามที่จะตอบอีกไหม

                อาจารย์.ดร.อับดุลรอนิง สือแต: ส่วนใหญ่เป็นคำถามที่เหมือนๆกัน

                คุณฮาฟิซ สาและ: มีคำถามหนึ่งที่ถามว่า นอกจากผลประโยชน์แล้วอเมริกาต้องการอะไรอีกในภูมิภาคตะวันออกกลาง ผลประโยชน์ตรงนี้อาจจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่พูดถึงและได้ให้คำถามนี้กับอาจารย์ดัรวิช ซึ่งผมจะสรุปคือ ผลประโยชน์ที่อเมริกาต้องการจากภูมิภาคตะวันออกกลางนั้นแน่นอนประการแรกคือ น้ำมันจนถึงตัวเลขทางเศรษฐกิจและที่สำคัญที่สุดก็คือน้ำมันแต่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องหลัก เรื่องที่อยู่เบื้องหลังคือการต้องการที่จะครอบครองดินแดนปาเลสไตน์ ดินแดนที่เขาเชื่อว่าเป็นดินแดนที่เคยสัญญาไว้ ในทัศนะของชาวคริสเตียนและชาวยิว สิ่งเหล่านี้เองเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้อเมริกาเข้ามาตรงนี้ และตรงจุดนี้ผมก็ขอเสริมตามที่ผมได้ทำรายงานเรื่องผลประโยชน์ของอเมริกาในทุกที่ทั่วทุกมุมโลก นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจุบันไม่เคยเปลี่ยนแปลง เช่นในสงครามเย็น คือเราต้องมองว่าเป้าหมายคือผลประโยชน์ทางตัวเลขทางเศรษฐกิจ ที่จะไปสนับสนุนคนในประเทศของเขาแน่นอนนี้คือเป้าหมายอันดับแรก อันดับที่สอง อาจจะไม่ใช่เป้าหมายเนื่องจากยอดสุดของอเมริกาคือผลประโยชน์ดังนั้นสิ่งที่มาขัดขวางเพื่อไม่ให้เข้าไปถึงผลประโยชน์นั้นคืออะไร ต้องมองเป้าหมายทางเศรษฐกิจ ความร่ำรวย อำนาจต่าง ๆ ทางการเมืองที่จะต้องมีด้วย และอำนาจทางการเมืองของคู่แข่งที่จะเข้ามาทำลาย ขัดขวาง เพื่อมิให้ได้ผลประโยชน์ตรงนั้น ซึ่งก็คืออุดมการณ์ต่าง ๆ ดังเช่นในอดีตก็มีพวกคอมมิวนิสม์ที่เป็นศัตรูในช่วงสงครามเย็น สหรัฐเองก็มองว่าเป็นศัตรูก็เลยใช้วิธีการนี้ในการปราบ ถ้าเรามามองภาพยนตร์ฮอลลีวู๊ดในอดีต ตัวร้ายก็คือ คนรัสเซีย แต่ปัจจุบันตัวร้ายกลับกลายมาเป็น คนไว้เครายาว นี้คือความจริงหลังจากคอมมิวนิสม์ได้ถูกโค่นล้ม ศัตรูตัวใหม่ของอเมริกาก็ผงาดขึ้นมาทันทีบนกำแพงของคอมมิวนิสม์ที่ถูกทำลาย ซึ่งมีอยู่กลุ่มหนึ่งที่ไม่ยอมจำนนต่อทุนนิยม กลุ่มหนึ่งที่ยังเคร่งศาสนา และกลุ่มหนึ่งที่ยังไม่ไหลไปตามกระแสตะวันตก เห็นได้เด่นชัดมาก ก็คือมุสลิมนั้นเอง และนี้ก็คือเป้าหมายต่อไปของอเมริกา ซึ่งผมได้มีโอกาสอ่านใน State Government ในเวบไซต์กระทรวงการต่างประเทศของอเมริกา ได้เห็นนโยบายที่ผมได้ทำรายงานเกี่ยวกับนโยบายการต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐในทวีปเอเชีย ซึ่งนโยบายนี้ไม่แตกต่างกันเลยกับสงครามเย็นในอดีต และยังมีนโยบายที่จะให้ทุนการศึกษาแก่คนในปากีสถาน คนในประเทศไทย และหลาย ๆ ประเทศในแถบนี้ ที่เสี่ยงต่อแนวคิดคอมมิวนิสม์ให้ไปเรียนในอเมริกา เมื่อกลับมาแล้วก็จะได้เป็นกระบอกเสียงให้กับอเมริกา ดังเช่น นักวิชาการรุ่นอายุ 50 กว่าปีขึ้นไป ในปัจจุบันของประเทศไทย ซึ่งนั้นก็เป็นผลพวงจากนโยบายของเอมริการในยุคนั้น และ State Government นโยบายของอเมริกาล่าสุดในการต่อต้านการก่อการร้าย ระบุว่าจะให้ทุนแก่คนมุสลิมในตะวันออกกลาง ทวีปเอเซีย  และประเทศไทยด้วย ซึ่งในสมัยทีผมเป็นนักศึกษาทำกิกรรมก็เคยได้รับเชิญจากสถานทูตอเมริกาให้ไปกินข้าวแล้วก็บอกว่าจะให้ทุน ใครที่หัวอ่อนก็จะให้ไปดูงาน เคยมีเม็ดเงินที่ลงมาที่มอ.ปัตตานี ให้ไปดูงานที่อเมริกาแล้วกลับมาบอกว่า ประชาธิปไตยนั้นดีอย่างโน้นดีอย่างนี้ อันนี้คือภาพสะท้อนถึงผมประโยชน์หนึ่งของอเมริกา เช่นดียวกันในตะวันออกกลาง เป็นภัยอันดับหนึ่ง ณ ปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่มีแนวความคิดอิสลามที่เด่นชัดที่เขากลัว อย่างเช่นในประเทศไทยที่รัฐบาลไม่เคยควบคุม สามารถที่จะดะวะฮฺอย่างเสรี ในส่วนของมาเลเซียเขาไม่กลัวเพราะมีรัฐบาลคุมอยู่ และในอียิปต์นั้นก้ไม่กลัวเพราะมีรัฐบาลอำนาจนิยมคุมอยู่ แต่ในส่วนตะวันออกกกลางในหลายประเทศอย่างที่อาจารย์ดัรวิชที่เขาได้ทำนายว่าหลังจากซัดดัมจะเกิดความวุ่วาย เมื่อเกิดความวุ่นวายตรงนั้นก็จะมีพระเอกตัวใหม่ขึ้นมา ก็คือคนที่มีแนวคิดแบบอิสลามที่ทำงานเคลื่อนไหวอยู่ แล้วก็ สุดท้ายก็ขอยกตัวอย่างเช่นพวกฮามาสเป็นสิ่งที่สะกิดต่อมความสนใจของสหรัฐ เราจะสังเกตว่าตามที่อาจารย์ ดร.อับดุลรอนิง กล่าวว่า ฮามาสมีแนวคิดการสร้างสังคมแบบอิสลาม แล้วผู้นำฮามาส อิสมาอีล อีลียะห์ ที่ได้แสดงให้เห็นคือ ยกตัวอย่างในกรณีที่ ท่านมีลูกชายซึ่งเป็นหัวหน้าองค์กรหนึ่งที่อยู่ในหน่วยงานราชการ มีความสามารถที่จะขึ้นมาเป็นหัวหน้า ปรากฏว่าท่านอิสมาอีล อีลียะห์ได้ทำการปลดลูกชายมิให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว เพราะกลัวว่าตนเองจะถูกมองว่าใช้อำนาจในทางที่ผิด นี้คือการพยายามที่จะนำหลักการอิสลามมาธำรงรักษาไว้ และเรายังจะได้เห็นภาพที่ประธานาธิบดีในบางประเทศขึ้นอ่านคุฏบะห์ละหมาดวันศุกร์โดยมีไมค์เป็นร้อย ๆ ตัว ซึ่งเราไม่เคยเห็นภาพเหล่านี้ในอดีต และนั้นเป็นสัญญาณร้ายที่อเมริกากลัวที่สุด นี้ก็เป็นส่วนที่ผมได้เสริม อาจารย์อับดุลรอนิงมีอะไรเสริมอีกหรือไม่

 

                อาจารย์ ดร.อับดุลรอนิง สือแต: สำหรับคำถามที่ถามว่า ทำไมอาหรับไม่สามารถที่จะรวมตัวกันได้ ทั้งที่ในอดีตก็เคยรวมตัวกันมาแล้ว อันที่จริงคำถามนี้สามารถตอบได้อย่างง่ายดายมาก ว่าเคยรวมตัวกันอย่างไร สาเหตุอะไรที่เคยรวมตัวกัน และรวมตัวกันด้วยอะไร และเราก็กลับไปหาสิ่งนั้นใหม่ ไม่ทราบว่าเข้าใจหรือเปล่า ก็คือว่า ตามที่อุลามาอฺซัยยิด กุฏฏุบว่ามุสลิมและอิสลามมีแหล่งตาน้ำตาเดียวที่พวกเขาได้กิน ได้บริโภค ได้สร้างสรรค์สังคม และได้รวมกันเป็นปึกแผ่นอิสลามที่ยิ่งใหญ่ ต่อจากนั้นก็เป็นอาณาจักรอิสลามอันกว้างใหญ่ไพศาลทั่วโลก เพราะฉะนั้นการที่พวกเขาแตก ก็เพราะว่าเขาไม่ได้ดื่มกินสายน้ำตานี้ เพราะฉะนั้นการที่จะกลับมาสู่เป็นหนึ่งเดียวกันก็ต้องกลับไปสู่ตาน้ำตาเดิม ผมคิดว่าน่าจะชัดเจนแล้วในส่วนนี้ คงไม่ต้องอธิบายมากไปกว่านี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบายที่พวกเขาต้องการในยุคใหม่ พอดีว่าผมได้มีโอกาสเขียนเรื่องนโยบายของสหรัฐ ซึ่งผมได้พูดไปแล้วในช่วงแรกว่า นโยบายแรกที่ทางอเมริกาต้องการคือ การที่จะป้องปรามหรือการที่จะให้รัสเซียออกไปจากพื้นที่ในเขตตะวันออกกลาง จริง ๆ แล้วมันรวมไปถึงพื้นที่ของโลกทั้งหมด แล้วสหรัฐก็เคยประสบความสำเร็จมาแล้วในปี 1990 ,1991 ในช่วงสงครามเย็น ที่จริงแล้วในส่วนของนโยบายเดิมที่เคยพูดว่าเยาวชนมุสลิมเป็นคนที่มีความคิดเป็นแบบอิสลามนั้น คือนโยบายอันต่อไปที่พยายามจะเอามาสร้างในทุก ๆ เขตของโลก ในการที่จะป้อมปราบและในการที่จะป้องกัน ถ้าไม่ได้ก็จะทำการคุม โดยเฉพาะในแง่ข่าวสารต่าง ๆ นักวิจารณ์ นักข่าว นักหนังสือพิมพ์ ไม่ค่อยให้ความสนใจมากนักกับกลุ่มขบวนการที่ไม่ได้อิงกับรูปแบบของศาสนา เพราะฉะนั้นกลุ่มที่พวกเขาต้องการมากที่สุด ขบวนการมุสลิมที่อิงกับอิสลามเป็นขบวนการที่เขาเพ่งเล็งมากที่สุด ถ้าหากเราได้เปิดเวบไซต์ต่าง ๆ จะเห็นว่า จะมีการมุ่งประเด็นไปสู่มุสลิม และอิสลามโดยเฉพาะในเยาวชนมุสลิม และนักวิชาการที่เป็นมุสลิมอย่างแท้จริง และจะได้รับความสนใจอย่างยิ่ง ดังนั้นส่วนนี้ก็เป็นหน้าที่และโอกาสของพวกเราที่จะได้รับใช้ในสิ่งที่พวกเรากำลังถามหา คิดว่าในส่วนผมก็มีเพียงเท่านี้ วาบิลลาฮฺฮีเตาฟิกวัลฮีดายะห์วัสสาลามูอาลัยกุม วาเราะมาตุลลอฮฺฮีวาบารอกาตุฮฺ

 

                คุณฮาฟิซ สาและ: มาถึงช่วงท้ายของการสัมมนาในภาคเช้าบนเวทีแห่งนี้ ผมอยากฝากประเด็นสั้น ๆ ให้เราได้ไปศึกษาในฐานะที่หลายคนเป็นนักศึกษาแผนกตะวันออกกลางศึกษา ว่าเราสมควรที่จะต้องรู้ว่า Islamization ว่าเป็นอะไร ผมไม่ขอพูด ณ ที่นี้ Islamic Poltical ที่ตะวันตกพูดกันคืออะไร Fundamentalism คืออะไร ที่เขาพูดกันสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องทำความเข้าใจ และตอบคำถาม และผมจะขอจบลงด้วยคำพูดของอาจารย์ดัรวิซที่ได้ฝากให้กับพวกเราว่า อิสลามเป็นศาสนาแห่งความสวยงาม เป็นศาสนาที่เต็มไปด้วยความรัก เต็มไปด้วยความอดทน การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เป็นสิ่งที่เราจะต้องนำความสวยงามเหล่านี้ มาให้เพื่อมนุษย์ได้เห็น ในขณะเดียวกันอิสลามไม่ได้ปฏิเสธ ไม่ได้สนับสนุนการใช้ความรุนแรง แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธการใช้กำลัง อิสลามเป็นศาสนาที่พอดีที่สุด เป็นศาสนาที่ปฏิบัติได้จริง ดังนั้นก็อยากให้เราศึกษานำสิ่งเหล่านี้มาปฏิบัติ และบอกต่อ ดะห์วะห์ เชิญชวนกับเพื่อนมนุษย์ ก็ขอจบสัมมนาพียงเท่านี้วาบิลลาฮฺฮีเตาฟิกวัลฮีดายะห์วัสสาลามูอาลัยกุม วาเราะมาตุลลอฮฺฮีวาบารอกาตุฮฺ

                 พิธีกร: ก็ต้องขอขอบคุณอาจารย์ทั้งสองท่านและผู้ดำเนินรายการที่ได้ให้ความรู้และความกระจ่างให้เราในวันนี้แล้วก็ขอให้เอกองค์อัลลอฮฺทรงประทานความดีงามทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ก่อนที่จะจบการสัมมนาในช่วงนี้กระผมก็ขอเรียนเชิญอาจารย์มูหัมมัดรอฟลี แวหะมะ มอบของที่ระลึกให้กับ อาจารย์ ดร.อับดุลรอนิง, อาจารย์ ดัรวิช มูอาวัด และคุณฮาฟิซ สาและ สุดท้ายก็ต้องขอขอบคุณผู้เข้าร่วมสัมมนา วิทยากรทั้ง 3 ท่าน ขอขอบคุณอาจารย์ ดร.ซาฝีอี อาดำ และอาจารย์มูหัมมัดรอฟลี แวหะมะ และนักศึกษาแผนกตะวันออกกลางศึกษาทุกชั้นปี และรวมไปถึงสมาคมนิสิตนักศึกษาไทยมุสลิม’49 ที่ได้สนับสนุนงบประมาณในการจัดโครงการนี้ขึ้นมา และในส่วนภาคเช้าก็ขอจบเพียงเท่านี้ในส่วนตอนบ่ายก็ยังคงเป็นไปตามกำหนดการเดิมแต่จะย้ายไปที่ห้องสัมมนาและสุดท้ายก็ขอปิดการสัมมนาด้วยดุอาอฺกิฟารัต และซุเราะฮฺวัลอัสรีและเชิญรับประทานอาหารว่างข้างนอกครับ
คำสำคัญ (Tags): #ตะวันออกกลาง
หมายเลขบันทึก: 140044เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2007 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท