กลุ่มที่ ๖(รุ่งอรุณ)ศูนย์การเรียนรู้เชียงใหม่ ๑
กลุ่มที่ ๖ (รุ่งอรุณ) ศูนย์การเรียนรู้เชียงใหม่ ๑(ดอยสะเก็ด) ด.ต.ธีรกานต์ กลุ่มที่ ๖(รุ่งอรุณ)ศูนย์การเรียนรู้เชียงใหม่ ๑

นาข้าวซามูไร การจัดการทรัพยากรอย่างสร้างสรรค์


การจัดการทุน (นาข้าว) อย่างสร้างสรรค์

Images

%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%8b%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%b9%e0%b9%84%e0%b8%a3

การจัดการองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการปลูกข้าว ของประเทศชั้นนำของการจัดการองค์ความรู้ KM อย่างญี่ปุ่น  ในภาพที่เห็น คือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่  อาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสานกับกับภูมิปัญญาสากล  มีการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญ  มีการพึ่งพาตนเองได้เป็นเป้าหมายสุดยอด  การปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตสูง  นั้นเป็นเรื่องธรรมดา  เพราะได้เรียนรู้อย่างรอบด้าน จนเกิดทักษะความชำนาญ ไม่มีอะไรจะหยุดยั้งแนวคิดอย่างสร้างสรรค์นาข้าว ของชาวนาหัวก้าวหน้ากลุ่มนี้ได้   บทสรุป  คือ เจ้าของนาข้าวแห่งนี้สามารถจัดการทุนของตนเองอย่างสร้างสรรค์  จนได้องค์ความรู้ใหม่ที่เป็นเลิศ  (The Best  Practice  )  ถ้าเมืองไทยปลูกข้าวก่ำผสมกับข้าวดอ พันธุ์ข้าวอีกหลายชนิด  สลับสองแถว สามแถวขึ้นไปเป็นรูปร่างได้ โดยเฉพาะข้าวไร่บนดอย  ก็คือสุดยอดของการจัดการองค์ความรู้ได้เช่นกัน   สามารถจัดการเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ให้ชุมชน เช่นเดียวกับ  ทุ่งบัวตอง , ทุ่งทานตะวัน   แต่อย่างไรก็ตามการปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตไว้บริโภคโดยไม่มีโรคแมลงและไม่ใช้สารเคมี นั้นก็ยากเกินพอสำหรับชาวนาไทย

ธีรกานต์ฯ /รายงาน

%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a7

Getattachment


 
คำสำคัญ (Tags): #ศิลปะบนนาข้าว
หมายเลขบันทึก: 139971เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2007 07:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท