ปัญหาสังคม


ปัญหาสังคม หมายถึง สภาพการณ์ที่กระทบกระเทือนบุคคลจำนวนมาก โดยเป็นที่ไม่ต้องการและมีความรู้สึกว่าควรจะมาร่วมกันแก้ไขปัญหาเหล่านั้นให้ดีขึ้น

ลักษณะของปัญหาสังคม
1. สภาพการณ์ที่กระทบกระเทือนบุคคลจำนวนมาก
2. เป็นวิธีการที่ไม่ชอบธรรมหรือถูกต้อง
3. รู้สึกว่าสามารถจะจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดได้
4. ในรูปของการกระทำร่วมกัน

สาเหตุของการเกิดปัญหาสังคม
1. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
2. ความไม่เป็นระเบียบในสังคมและพฤติกรรมเบี่ยงเบน
3. บุคลิกภาพหรือพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้

ปัญหาในสังคมไทยปัจจุบัน
1. ปัญหาความยากจน สาเหตุมักมาจากความผิดปกติของร่างกายและจิตใจ การเจ็บป่วย การศึกษาต่ำ ขาดความชำนาญ ความเกียจคร้าน การแตกแยกของครอบครัว อุบัติเหตุจากอุตสาหกรรม ภัยธรรมชาติ การว่างงาน และมีบุตรมากเกินไป
2. ปัญหายาเสพติดให้โทษ สาเหตุมักเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์การชักนำตามอย่าง ตลอดจนเพื่อผ่อนคลายเครียดของปัญหาชีวิตเป็นต้น
3. ปัญหาโรคเอดส์ สาเหตุมักมาจากความสำส่อนทางเพศ การขาดความรู้ ความยากจน ยาเสพติด และค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง

วิธีการป้องกันและแก้ปัญหา
1. ให้การศึกษาแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง
2. รัฐต้องให้สวัสดิการที่ดีแก่ประชาชน
3. มีการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น พัฒนาทรัพยากร ส่งเสริมการลงทน ให้ความช่วยเหลือ เกษตร เป็นต้น
4. มีการพัฒนาสังคม โดยเฉพาะในครอบครัว

หมายเลขบันทึก: 139886เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2007 20:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 14:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท