ประเภทของสันโดษ


ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องปฏิบัติธรรมข้อสันโดษอย่างจริงจังโดยไม่ต้องเดินตามแนวคิดแบบบริโภคนิยม วัตถุนิยมซึ่งเป็นแนวคิดที่ส่งเสริมให้เกิดความทุกข์ร้อนแก่ผู้คนซึ่งหลักแห่งสันโดษมี ๓ ประการ คือ

                .ยถาลาภสันโดษ ยินดีในสิ่งที่ตนได้มาด้วยความพากเพียรอย่างถูกต้อง ไม่ทะเยอทะยานปรารถนาในสิ่งที่ตนเองไม่มีคนที่ขาดสันโดษข้อนี้มักจะเป็นผู้ที่มองว่าตนเองด้อยกว่าเขา จนกว่าเขาต้องเดือดร้อนกระวนกระวายอยากได้สิ่งอื่นที่ตนไม่มีจึงเป็นทุกข์เพราะเป็นหนี้บ้าง ถูกยึดรถ ถูกยึดบ้านบ้าง ก็เพราะการไม่ยินดีในสิ่งที่ตนมี

                .ยถาพลสันโดษยินดีตามกำลังของตนที่จะพึงมีพึงได้เราสามารถหาได้ขนาดไหน ก็พึงพอใจและยินดีในความสามารถของเราให้รู้จักประมาณของตนการที่แสวงหาเกินความจำเป็นของตน ก็จะนำมาซึ่งความทุกข์ความวุ่นวายเท่านั้น               

.ยถาสารุปสันโดษยินดีตามฐานะของตนเองพิจารณาดูว่าเราเองมีฐานะความเป็นอยู่อย่างไร  ควรยินดีกับการใช้สอยบริโภคให้เหมาะสมตามฐานะนั้นๆ ไม่เป็นอยู่เกินฐานะ  ความเป็นอยู่ของคนไทยปัจจุบันค่อนข้างแย่แต่คนไทยบางส่วนยังใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินฐานะของตนเอง ถือเป็นการทำลายเศรษฐกิจของชาติโดยไม่รู้ตัว

                สันโดษต้องมาคู่กับความเพียรไม่เกียจคร้านการทำงานจึงจะเป็นสันโดษแท้ นอกจากสันโดษแล้ว จะต้องมีข้อปฏิบัติต่อการทำงานที่ถูกต้อง อันได้แก่

-ขยัน  บากบั่นพากเพียรในการทำงาน ในการประกอบอาชีพ (อุฏฐานสัมปทา)

-ประหยัด  รู้จักอดออมทรัพย์ที่หามาได้ ใช้จ่ายแต่พอดี  (อารักขสัมปทา)

-คบคนดี  รู้จักเลือกคบแต่คนดี เว้นคนที่ไม่ดี อันจะพาให้ทรัพย์สินพินาศ (กัลยาณมิตตตา)

-เลี้ยงชีพตามฐานะ  รู้จักประมาณตน ประมาณในการบริโภค  (สมชีวิตา)

หลักธรรมเหล่านี้ควรจะนำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในยุคที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจเช่นปัจจุบัน ถ้าหากแต่ละบุคคลสามารถปฏิบัติตามนี้ได้ ก็จะเกิดประโยชน์ต่อความเป็นอยู่ของตนเอง ครอบครัว และยังเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติบ้านเมืองด้วย
คำสำคัญ (Tags): #สิ่งที่พึงพอใจ
หมายเลขบันทึก: 139025เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2007 12:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตามที่ทราบมาคำว่า สันตุฏฐี  ซึ่งเราแปลกันว่าสันโดษนั้น  ในชั้นฎีกาและอรรถกถาจารย์จะให้รายละเอียดไว้เยอะ  ซึ่งเคยอ่านอยู่เหมือนกัน ถ้าคนเราพูดถึงการสันโดษ  หรือปัจจุบันเราใช้คำว่่าพอเพียง  เพียงพอก็ตามที  แต่ระบบสังคมในอินเดียนั้นจากที่เคยยิ่งใหญ่ทางวัตถุมานานนับพันๆ ปี จนมาเจริญทางปัญญาจากพระพุทธศาสนาซึ่งต่อยอดออกไปทั่วโลก  ประเทศสหรัฐอเมริกาที่เป็นกลุ่มบริโภคนิยมสร้างวัตถุขึ้นมาเพื่อแสดงความเจริญ  แล้วสอนสิ่งนี้ให้ประเทศที่ต้องการแสดงความเจริญโดยการสร้างวัตถุขึ้นมา  รวมทั้งประเทศไทยในปัจจุบัน  ความขาดความเจริญทางปัญญาที่พร้อมพรั่งออกมาทางกายวาจาใจนั้น ก็คงไม่สามารถทำให้การสันโดษ หรือความพอเพียงเกินขึ้นได้ในใจ  ไมใช่ว่าทำเอาหน้าเอาใจให้คนทั่วไปคิดว่าเป็นการพอเพียง  จะมีสักกี่คนที่เข้าใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างแท้จริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท