การปฏิรูปการเรียนการสอนลูกเสือ


Learning by doing
การปฏิรูปการเรียนรู้กับการเรียนการสอนลูกเสือ        ข้าไม่ต้องการตำราเรียนที่เดินได้  ที่ข้าอยากได้นั้นคือเยาวชน       ที่เป็นสุภาพบุรุษ ซื่อสัตย์ สุจริต มีอุปนิสัย ใจคอดี

                                                 ราม วชิราวุธ

                          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดให้บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาอบรมของรัฐจะต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองท้องถิ่นและชุมชน ประกอบกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้การศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การ อบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์ความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้ อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมสังคมแห่งการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เปิดโอกาสให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา พัฒนาสาระกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง                                นอกจากนี้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติดังกล่าาวได้กำหนดให้มีการจัดทำหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ และให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำสาระของหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติดังกล่าวกำหนดให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวน 9 ปี                                ด้วยวิสัยทัศน์ของรัฐที่เชื่อมั่นในนโยบายการศึกษาในการสร้างคน สร้างงาน เพื่อช่วยกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นการสร้างชาติให้มั่นคงได้อย่างยั่งยืน เชื่อมั่นในโยบายการศึกษาในการสร้างชาติ ปรับโครงสร้างและระบบการศึกษา ยึดหลักการบริหารจัดการที่เน้นคุณภาพประสิทธิภาพและความเสมอภาค ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและเชื่อมั่นในนโยบายการศึกษาเพื่อสร้างคน บูรณาการการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในการปฏิรูปการเรียนรู้ และเชื่อมั่นในนโยบายการศึกษาเพื่อสร้างงานสร้างเยาวชนให้มีความรู้คู่กับการทำงาน            การปฏิรูปการเรียนรู้เป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ        การศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542  ยึดหลักการว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ พัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ 

การปฏิรูปการเรียนรู้เป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา

                พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 22 กำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักการว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ พัฒนาตนเองได้ และ           ถือว่าผู้เรียน สำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ฉะนั้น ครู ผู้สอนและผู้จัดการศึกษาจะต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทจากการเป็น              ผู้ชี้นำ ผู้ถ่ายทอดความรู้ ไปเป็นผู้ช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุนผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ จากสื่อ และแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ และให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้เรียน เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้สร้างสรรค์ความรู้ของตน 

การฝึกอบรมลูกเสือ

            การลูกเสือมีอุดมคติในการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อเพื่อนมนุษย์ ก็เพื่อให้เอาเรื่อง ส่วนรวม                มาแทน ส่วนตัวต้องการให้เด็กแต่ละคนมีสมรรถภาพทั้งในทางใจและทางกายเน้นในการใช้หลักธรรมในการดำเนินชีวิตและกิจกรรมประจำวัน  การฝึกอบรมลูกเสือใช้วิธีการฝึกตามระบบหมู่เป็นเครื่องช่วยให้เด็กมีโอกาสแสดงออกเป็นส่วนรวม การให้ร่วมกันทำงานเป็นการทำให้เด็กรู้จักความรู้รับผิดชอบ

                หลักสำคัญของการลูกเสือนั้นเพื่อการสร้างสรรค์ให้เยาวชนเป็นพลเมืองดี โดยมีแนวการฝึก   อบรม 4 ประการ                ประการแรก คือ การสร้างลักษณะนิสัย ให้เด็กเป็นผู้มีความยุติธรรม รู้จักการเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว และมีความสำนึกในหน้าที่ที่ตนมีต่อผู้อื่น และที่สำคัญคือ เป็นผู้มีวินัยดี ชาติที่จะเจริญรุ่งเรืองได้จะต้องมีวินัยดี เราจะให้ส่วนรวมมีวินัยดี ก็โดยทำให้แต่ละบุคคลมีวินัยดีเสียก่อน มีผู้กล่าวว่า “ประเทศใดละเลยไม่ฝึกอบรมระเบียบวินัยแก่อนุชนของตน ประเทศนั้นไม่เพียงแต่จะผลิตทหารที่เลวเท่านั้น               แต่ยังผลิตพลเมืองที่มีชีวิตของพลเรือนที่ชั่วร้ายอีกด้วย”                ประการที่สอง คือ ด้านพลานามัย การพยายามเร่งเร้าให้เด็กสนใจในการออกกำลังกายอยู่เสมอ ในฐานะที่อยู่ในขบวนการลูกเสือ เรามีโอกาสอย่างมากที่จะฝึกอบรมเด็กในเรื่องสุขภาพและอนามัยส่วนบุคคล จะทำให้เด็กแต่ละคนรู้จักรับผิดชอบตัวเองต่อสุขภาพของตน รักษาพลานามัยของตนให้เป็นกิจวัตร ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเป็นพลเมืองดีที่มีสมรรถภาพ                ประการที่สาม ในด้านการฝีมือและทักษะ เด็กที่มีความคิดริเริ่ม มักจะได้รับเลือกให้เข้าทำงาน ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถทำให้เด็กสนใจในเรื่องการฝีมือ ความจริงงานอดิเรกมีประโยชน์มากเพราะช่วยให้เด็กได้รู้จักใช้มือและสมอง                ประการสุดท้าย คือ การบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น ปัจจุบันสำนักงานลูกเสือโลกเน้นในด้านการฝึกอบรม 3 ประการ คือ กำหนดการฝึกอบรมต้องทันสมัย ต่อความปรารถนาและความต้องการของเด็กในปัจจุบัน การฝึกอบรมต้องเน้นให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเด็กเองและแก่ชุมชนที่เขาอาศัยอยู่ และ                 ที่สำคัญต้องฝึกให้ยึดมั่นในอุดมการณ์ของผู้ให้กำเนิดลูกเสือโลก คือ การบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่น ความมุ่งหมายในการฝึกอบรมลูกเสือ            ความหมายทั้งหมดของการลูกเสือ คือการนำลักษณะนิสัยของเด็กที่อยู่ในวัยอันร้อนแรงไปด้วยความกระตือรือร้นมาหลอมให้ได้รูปที่ถูกต้องแล้วจึงส่งเสริมพัฒนาเอกัตภาพ เพื่อให้เด็กศึกษาอบรม  ตัวของเขาเองให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดี และเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าสำหรับประเทศชาติได้            ลักษณะสำคัญหลายอย่างของการลูกเสือโดยเฉพาะวิธีการเรียนการสอน (Youth Programme) จะเป็นปัจจัยสำคัญ เหมาะสมอย่างยิ่งแก่การพัฒนาความสามารถ เป็นวิธีที่อบรมเยาวชนให้มีความรู้ ความสามารถ ความรู้สึกนึกคิดที่ดี มีทักษะและฝีมือในการทำงาน อันจะทำให้เยาวชนเหล่านั้นมีชีวิตที่สมบูรณ์ได้            แต่สิ่งที่เป็นปัญหาอยู่ในทุกวันนี้ ก็คือ-          ผู้กำกับลูกเสือ (หรือผู้สอนลูกเสือ) ไม่เข้าใจวิธีการจัดการเรียนการสอน-          การเรียนการสอน ไม่ทันสมัยกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม-          การจัดการเรียนการสอน ไม่มีความต่อเนื่อง ไม่สอดคล้องกับความต้องการของเยาวชน-          การจัดการเรียนการสอน ไม่ตรงกับจุดประสงค์ของการลูกเสือในเรื่องการพัฒนาเยาวชน-          ผู้บริหารงานลูกเสือขาดทักษะ ขาดทรัพยากรที่จะเกื้อหนุนกองลูกเสือเหล่านี้เป็นต้น การจัดการเรียนการสอน (Youth Programme)            การเรียนการสอนของลูกเสือ ประกอบด้วย1.      สิ่งที่ลูกเสือต้องกระทำ (WHAT) นั่นก็คือ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ลูกเสือต้องปฏิบัติ เช่น การอยู่ค่ายพักแรม, กิจกรรมกลางแจ้งต่าง ๆ, การบริการชุมชน และการพัฒนาชุมชน, การจัดมาตรฐานความเป็นอยู่, เกม, พิธีการต่าง ๆ, เครื่องหมายวิชาพิเศษ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ต้องให้น่าสนใจ และท้าทายต่อความสามารถของเยาวชนตามอายุ2.      วิธีการจัด (HOW) ใช้วิธีการจัดแบบ "ระบบการศึกษาให้ก้าวหน้าด้วยตนเอง" (A System of Progressive Self-Education) คือ-          ใช้กฎและคำปฏิญาณเป็นหลักใหญ่-          ให้ศึกษาโดยการกระทำด้วยตัวเอง-          ใช้ระบบหมู่ หรือระบบกลุ่มเล็ก-          การศึกษาให้มีความก้าวหน้าและดึงดูดใจ3.      เวลา (WHEN) ในการจัดเป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกัน เช่น ไม่ใช่เป็นเวลาใกล้สอบ   ไม่อยู่ในระยะเวลาที่ดิน ฟ้า อากาศ ไม่อำนวย ฯลฯ4.      เหตุผลในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ (WHY) ขึ้นอยู่กับความสำคัญของกิจการลูกเสือ   นั่นคือ  คำนึงถึง-          หน้าที่ที่มีต่อสิ่งสูงสุด (Duty To God) เช่น ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์-          หน้าที่ที่มีต่อบุคคลอื่น (Duty To Others)-          หน้าที่ที่มีต่อตัวเอง (Duty To Self)ทั้งนี้ เพื่อเป็นการพัฒนาเยาวชนไปสู่ความสำเร็จในวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ ในเรื่องการพัฒนาเยาวชน (ตามมาตรา 7 ในพระราชบัญญัติลูกเสือแห่งชาติ) และความสำเร็จ            ดังกล่าวจะเป็นไปได้นั้น จะต้องเป็นการจัดโปรแกรมการสอนที่ดี ซึ่งขึ้นอยู่กับ1.      ตรงตามความต้องการของเยาวชน เด็ก ๆ มีความเจริญเติบโตตามอายุโปรแกรมการสอนต้องแตกต่างกันออกไปตามอายุเช่นกัน เด็กและผู้ใหญ่มีช่องว่างทางอายุแตกต่างกัน ฉะนั้น ผู้ใหญ่อย่าตามใจตนเอง จัดกิจกรรมตามความต้องการของผู้ใหญ่เอง เป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ในระบบของการ         ลูกเสือ2.      ให้เป็นไปตามความต้องการของสังคม ต้องคำนึงถึงความเป็นจริงของแต่ละท้องถิ่นเป็นสำคัญ จะใช้กิจกรรมอะไร การบริการชนิดใดก็ให้เหมาะกับสังคมนั้น ลูกเสือจะต้องเปิดใจกว้าง สามารถเข้าใจความต้องการของผู้อื่น และตอบสนองช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา3.      การฝึกอบรมต้องให้ก้าวหน้าและดึงดูดใจ กิจกรรมต้องสนองความสามารถและการท้าทายของเด็กเอง ยั่วยุให้เขาได้แสดงความสามารถด้วยตัวของเขาเอง ให้มีการร่าเริงและสนุกสนาน4.      การนำไปใช้ต้องให้ถูกต้องตามวิธีการของลูกเสือ คุณค่าของการลูกเสืออยู่ที่กฎและคำปฏิญาณเท่ากับเป็น "กฎของการเล่น" ทีเดียว การเรียนการสอนของลูกเสือ เราไม่ใช้ในห้องเรียน          ไม่ใช้ชอล์ค ไม่ใช้กระดาน แต่จะใช้กลางแจ้งเป็นสำคัญ เรียกว่าใช้วิธี "Practical Way" โดยฝึกผ่าน           กิจกรรม การเล่น-การอยู่ค่ายพักแรม-การทำงานตามโครงการ เรียนด้วยการกระทำและอยู่ในหมู่           เล็ก ๆ 5.      ได้รับการสนับสนุนพอเพียง จากบุคลากร-          เงิน-          ทรัพยากรอื่น ในปัจจุบัน สำนักงานลูกเสือโลกได้แนะนำให้ใช้วิธีการจัดระบบ การเรียนการสอนเพื่อให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น โดยใช้กฎ และคำปฏิญาณเป็นแกนกลาง และมีส่วนประกอบที่แตกออกไป

                         รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดให้บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาอบรมของรัฐจะต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองท้องถิ่นและชุมชน ประกอบกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้การศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การ อบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์ความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้ อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมสังคมแห่งการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เปิดโอกาสให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา พัฒนาสาระกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง                                นอกจากนี้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติดังกล่าาวได้กำหนดให้มีการจัดทำหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ และให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำสาระของหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติดังกล่าวกำหนดให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวน 9 ปี                                ด้วยวิสัยทัศน์ของรัฐที่เชื่อมั่นในนโยบายการศึกษาในการสร้างคน สร้างงาน เพื่อช่วยกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นการสร้างชาติให้มั่นคงได้อย่างยั่งยืน เชื่อมั่นในโยบายการศึกษาในการสร้างชาติ ปรับโครงสร้างและระบบการศึกษา ยึดหลักการบริหารจัดการที่เน้นคุณภาพประสิทธิภาพและความเสมอภาค ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและเชื่อมั่นในนโยบายการศึกษาเพื่อสร้างคน บูรณาการการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในการปฏิรูปการเรียนรู้ และเชื่อมั่นในนโยบายการศึกษาเพื่อสร้างงานสร้างเยาวชนให้มีความรู้คู่กับการทำงาน            การปฏิรูปการเรียนรู้เป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ        การศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542  ยึดหลักการว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ พัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ 

การปฏิรูปการเรียนรู้เป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา

                พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 22 กำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักการว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ พัฒนาตนเองได้ และ           ถือว่าผู้เรียน สำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ฉะนั้น ครู ผู้สอนและผู้จัดการศึกษาจะต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทจากการเป็น              ผู้ชี้นำ ผู้ถ่ายทอดความรู้ ไปเป็นผู้ช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุนผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ จากสื่อ และแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ และให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้เรียน เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้สร้างสรรค์ความรู้ของตน 

การฝึกอบรมลูกเสือ

            การลูกเสือมีอุดมคติในการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อเพื่อนมนุษย์ ก็เพื่อให้เอาเรื่อง ส่วนรวม                มาแทน ส่วนตัวต้องการให้เด็กแต่ละคนมีสมรรถภาพทั้งในทางใจและทางกายเน้นในการใช้หลักธรรมในการดำเนินชีวิตและกิจกรรมประจำวัน  การฝึกอบรมลูกเสือใช้วิธีการฝึกตามระบบหมู่เป็นเครื่องช่วยให้เด็กมีโอกาสแสดงออกเป็นส่วนรวม การให้ร่วมกันทำงานเป็นการทำให้เด็กรู้จักความรู้รับผิดชอบ

                หลักสำคัญของการลูกเสือนั้นเพื่อการสร้างสรรค์ให้เยาวชนเป็นพลเมืองดี โดยมีแนวการฝึก   อบรม 4 ประการ                ประการแรก คือ การสร้างลักษณะนิสัย ให้เด็กเป็นผู้มีความยุติธรรม รู้จักการเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว และมีความสำนึกในหน้าที่ที่ตนมีต่อผู้อื่น และที่สำคัญคือ เป็นผู้มีวินัยดี ชาติที่จะเจริญรุ่งเรืองได้จะต้องมีวินัยดี เราจะให้ส่วนรวมมีวินัยดี ก็โดยทำให้แต่ละบุคคลมีวินัยดีเสียก่อน มีผู้กล่าวว่า “ประเทศใดละเลยไม่ฝึกอบรมระเบียบวินัยแก่อนุชนของตน ประเทศนั้นไม่เพียงแต่จะผลิตทหารที่เลวเท่านั้น               แต่ยังผลิตพลเมืองที่มีชีวิตของพลเรือนที่ชั่วร้ายอีกด้วย”                ประการที่สอง คือ ด้านพลานามัย การพยายามเร่งเร้าให้เด็กสนใจในการออกกำลังกายอยู่เสมอ ในฐานะที่อยู่ในขบวนการลูกเสือ เรามีโอกาสอย่างมากที่จะฝึกอบรมเด็กในเรื่องสุขภาพและอนามัยส่วนบุคคล จะทำให้เด็กแต่ละคนรู้จักรับผิดชอบตัวเองต่อสุขภาพของตน รักษาพลานามัยของตนให้เป็นกิจวัตร ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเป็นพลเมืองดีที่มีสมรรถภาพ                ประการที่สาม ในด้านการฝีมือและทักษะ เด็กที่มีความคิดริเริ่ม มักจะได้รับเลือกให้เข้าทำงาน ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถทำให้เด็กสนใจในเรื่องการฝีมือ ความจริงงานอดิเรกมีประโยชน์มากเพราะช่วยให้เด็กได้รู้จักใช้มือและสมอง                ประการสุดท้าย คือ การบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น ปัจจุบันสำนักงานลูกเสือโลกเน้นในด้านการฝึกอบรม 3 ประการ คือ กำหนดการฝึกอบรมต้องทันสมัย ต่อความปรารถนาและความต้องการของเด็กในปัจจุบัน การฝึกอบรมต้องเน้นให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเด็กเองและแก่ชุมชนที่เขาอาศัยอยู่ และ                 ที่สำคัญต้องฝึกให้ยึดมั่นในอุดมการณ์ของผู้ให้กำเนิดลูกเสือโลก คือ การบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่น ความมุ่งหมายในการฝึกอบรมลูกเสือ            ความหมายทั้งหมดของการลูกเสือ คือการนำลักษณะนิสัยของเด็กที่อยู่ในวัยอันร้อนแรงไปด้วยความกระตือรือร้นมาหลอมให้ได้รูปที่ถูกต้องแล้วจึงส่งเสริมพัฒนาเอกัตภาพ เพื่อให้เด็กศึกษาอบรม  ตัวของเขาเองให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดี และเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าสำหรับประเทศชาติได้            ลักษณะสำคัญหลายอย่างของการลูกเสือโดยเฉพาะวิธีการเรียนการสอน (Youth Programme) จะเป็นปัจจัยสำคัญ เหมาะสมอย่างยิ่งแก่การพัฒนาความสามารถ เป็นวิธีที่อบรมเยาวชนให้มีความรู้ ความสามารถ ความรู้สึกนึกคิดที่ดี มีทักษะและฝีมือในการทำงาน อันจะทำให้เยาวชนเหล่านั้นมีชีวิตที่สมบูรณ์ได้            แต่สิ่งที่เป็นปัญหาอยู่ในทุกวันนี้ ก็คือ-          ผู้กำกับลูกเสือ (หรือผู้สอนลูกเสือ) ไม่เข้าใจวิธีการจัดการเรียนการสอน-          การเรียนการสอน ไม่ทันสมัยกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม-          การจัดการเรียนการสอน ไม่มีความต่อเนื่อง ไม่สอดคล้องกับความต้องการของเยาวชน-
คำสำคัญ (Tags): #สพท.ปท2#ลูกเสือ
หมายเลขบันทึก: 138810เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2007 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 15:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชื่นชม ในการเผยแพร่ผลงานค่ะ ทำต่อเนื่องนะคะ ชาว km สพท.ปท.2

อ่านแล้วเข้าใจง่าย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท